เรื่องราวน่ารู้...รถยนต์ที่มีอายุการใช้งานครบ 7 ปีขึ้นไป ต้องต่อภาษีอย่างไรบ้าง ?

ประสบการณ์ใช้รถ | 20 มี.ค 2562
แชร์ 0

ถือว่าเป็นเรื่องใกล้ตัวของผู้ใช้รถยนต์อย่างเรา จริงๆ ค่ะกับการต่อภาษี/ทะเบียน แน่นอนว่าเราจะต้องมีการต่อประจำทุกปีอยู่แล้วเพื่อให้เราได้ขับรถกันอย่างถูกกฎหมายซึ่งวันนี้เราก็มีเรื่องราวน่ารู้ของใครที่มีรถยนต์อายุการใช้งานครบ 7 ปีขึ้นไป มาฝากกันค่ะ ว่ารถมีอายุการใช้งานมานานขนาดนี้จะทำการต่อภาษีอย่างไร พร้อมแล้วก็ไปดูเลยจ้า

สวัสดีค่ะเพื่อนๆ ชาว Chobrod วันนี้ เดี๊ยนเองก็มีเรื่องราวดีๆ มาฝากเพื่อนๆ อีกเช่นเคยนะคะ ซึ่งในวันนี้นั้นเป็นเรื่องของการต่อภาษี/ทะเบียนนั่นเองค่ะ ซึ่งโดยปกติแล้วรถยนต์ทั่วไปที่เราขับกันอยู่ทุกวันนั้น จะต้องมีการต่อภาษี/ทะเบียนกันเป็นปกติทุกปีอยู่แล้ว โดยเราสามารถต่อกันก่อนล่วงหน้าได้ก่อนที่ทะเบียนรถยนต์ของเรานั้นจะหมดอายุไม่เกิน 3 เดือนค่ะ และหากว่าเราขาดการต่อทะเบียนรถยนต์นั้น เราจะมีความผิดรวมไปถึงต้องเสียค่าปรับเมื่อมีการเรียกตรวจสอบจากเจ้าหน้าที่ตำรวจอีกด้วย และวันนี้ใครที่ใช้รถยนต์ที่ที่มีอายุการใช้งานครบ 7 ปีขึ้นไป มาฝากกันค่ะ จะมีวิธีใดบ้าง ต้อตามมาดูเลยจ้า

รถยนต์ที่มีอายุการใช้งานครบ 7 ปีขึ้นไป ต้องต่อภาษีอย่างไรบ้าง ?

รถยนต์ที่มีอายุการใช้งานครบ 7 ปีขึ้นไป ต้องต่อภาษีอย่างไรบ้าง?

I. ว่าด้วยเรื่องของการต่อภาษี

เรื่องการต่อภาษีโดยปกติทั่วไปนั้นมีความสะดวกและรวดเร็วมากกว่าสมัยก่อนเยอะเลยค่ะเพื่อนๆ เพราะมีทั้งการต่อผ่านระบบออนไลน์โดยไม่ต้องเดินทางไปที่กรมขนส่งทางบก แต่เราจะต้องอยู่ในประเภทรถยนต์ตามที่เขากำหนดไว้นะคะ เช่น รถเก๋ง รถตู้ รถกระบะ ที่มีอายุไม่เกิน 7 ปี หรือถ้าอยากจะไปที่กรมขนส่งก็ย่อมได้นะคะ โดยเราสามารถทำการต่อแบบ Drive Thru ได้ค่ะ ซึ่งการต่อแบบนี้จะเป็นตู้ๆ เหมือนช่องเก็บเงินทางด่วนเลยค่ะ โดยผู้ใช้รถยนต์นั้นจะต้องเตรียมเอกสารไปให้ครบถ้วน และรถยนต์ที่มีอายุการใช้งานครบ 7 ปีขึ้นไปนั้นจะต้องมีใบรับรองการตรวจสภาพ (ตรอ.) แนบมากด้วยนะคะ

ภาษีรถยนต์

ภาษีรถยนต์

ต้องการซื้อรถมือสองสภาพดี เชิญเข้าดูที่ตลาดรถตรงนี้: เลือกซื้อรถมือสอง มากมายที่นี่

II. วิธีต่อภาษี/ทะเบียนกับรถยนต์ที่มีอายุการใช้งานครบ 7 ปีขึ้นไป

1.ตรวจสภาพรถยนต์เพิ่มเติม

เนื่องจากว่ารถยนต์ที่มีอายุการใช้งานครบ 7 ปีขึ้นไปนั้น กรมการขนส่งทางบกจะมีหน้าที่รับผิดชอบการตรวจสภาพรถยนต์ ทั้งรถยนต์ที่จดทะเบียนตามพระราชบัญญัติ การขนส่งทางบก พ.ศ.2522 โดยทั้งนี้รถยนต์ที่จะนำมาใช้ในการขนส่งตามพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 นั้นจะต้องมีสภาพมั่นคง แข็งแรง มีลักษณะ ขนาดและเครื่องอุปกรณ์ส่วนควบของรถถูกต้องตามที่กำหนดไว้ในกฎของกระทรวงค่ะ โดยในส่วนของรถมีอายุ สำหรับระยะเวลาที่เราจะต้องนำรถไปตรวจสภาพนั้น เจ้าของสามารถนำรถยนต์ไปตรวจสภาพล่วงหน้าได้ไม่เกิน 3 เดือนนะคะ โดยเราสามารถนำไปตรวจสภาพได้ก่อนวันสิ้นอายุภาษีประจำปี และอัตราค่าตรวจสภาพรถยนต์ที่มีน้ำหนักรถเปล่าไม่เกิน 1,600 กิโลกรัมจะอยู่ที่ราคา 150 บาท รถยนต์ที่มีน้ำหนักรถเปล่าเกิน 1,600 กิโลกรัม อยู่ที่ราคาคันละ 250 บาทด้วยกันค่ะ

รถยนต์ที่มีอายุการใช้งานมากกว่า 7 ปีขึ้นไปควรจะตรวจเช็คสภาพ

รถยนต์ที่มีอายุการใช้งานมากกว่า 7 ปีขึ้นไปควรจะตรวจเช็คสภาพก่อนที่จะไปต่อภาษี/ทะเบียน

2.ติดต่อสถานตรวจสภาพรถยนต์

ขั้นต่อมาก็ต้องทำการติดต่อกับสถานตรวจสภาพรถยนต์ โดยให้เจ้าของรถยนต์นั้นนำสมุดคู่มือทะเบียนรถไปแสดงด้วยค่ะ เพราะหากผลการตรวจสภาพนั้นปรากฏว่ารถยนต์อยู่ในเกณฑ์ที่ผ่านสภาพ สถานตรวจก็จะทำการออกใบรับรองการตรวจสภาพรถยนต์ตามแบบที่กรมการขนส่งทางบกกำหนดทันที ส่วนในกรณีที่ไม่ไม่ผ่านการตรวจสภาพ ทางสถานตรวจก็จะแจ้งข้อบกพร่องมาว่า สาเหตุที่ทำให้รถยนต์ของเราไม่ผ่านการตรวจสภาพนั้นเป็นเพราะอะไร ? หากได้ทำการแก้ไขซ่อมแซมแล้วนำไปตรวจสถานที่ตรวจสภาพเอกชนแห่งเดิมภายใน 15 วัน ก็จะเสียค่าตรวจเช็คใหม่ในอัตราครึ่งหนึ่งของค่าบริการที่กำหนดไว้ แต่ถ้าหากเกิน 15 วันแล้วนำไปตรวจในสถานตรวจแห่งอื่นจะเสียค่าบริการเต็มอัตราค่ะ

3.นับอายุการใช้งานของรถยนต์

แน่นอนว่าเราเป็นเจ้าของรถยนต์ เราก็ต้องมีการนับอายุการใช้งานรถยนต์ของเราเป็นเรื่องธรรมดาค่ะ โดยเราจะต้องนับตั้งแต่วันที่จดทะเบียนครั้งแรกถึงวันสิ้นสุดอายุภาษีประจำปีหรือวันครบกำหนดเสียภาษีประจำปีค่ะ นอกจากนี้การตรวจสภาพที่หน่วยงานของกรมขนส่งทางบกนั้น รถยนต์ที่ดัดแปลงสภาพผิดไปจากที่ได้จดทะเบียนไว้ รถยนต์ที่มีการทำสีใหม่หรือเปลี่ยนแปลงส่วนใดส่วนหนึ่งให้ผิดไปจากรายการที่จดทะเบียนไว้ในสมุดคู่มือทะเบียนรถ เช่น เปลี่ยนเครื่องยนต์ เปลี่ยนชนิดน้ำมันเชื้อเพลง หรือรถยนต์ที่มีปัญหาเกี่ยวกับเลขตัวรถหรือเลขเครื่องยนต์ ทางสถานตรวจเอกชนจะไม่สามารถรับตรวจสภาพได้นะคะ

รถยนต์ที่มีอายุการใช้งานมากกว่า 7 ปีขึ้นไปควรจะตรวจเช็คสภาพ

ควรนับอายุการใช้งานรถยนต์ของเราด้วยตั้งแต่วันที่จดทะเบียนครั้งแรกถึงวันที่ทะเบียนหมดอายุ

4.รถยนต์อายุการใช้งาน 7 ปีขึ้นไปที่ไม่ได้ใช้งาน

ในกรณีที่เจ้าของรถยนต์แจ้งไว้ว่าไม่ใช้งานชั่วคราวหรือแจ้งไว้ว่าไม่ใช้รถตลอดไป รถเก่าที่มีเลขทะเบียนรุ่นเก่าเช่น กท-00001, กทจ-0001 เป็นต้น ซึ่งรถดังกล่าวนั้นจะต้องเปลี่ยนทะเบียนรถใหม่ทันทีเมื่อมีการนำมาเสียภาษีประจำปี

รถยนต์ที่มีอายุการใช้งานครบ 7 ปีขึ้นไป ต้องต่อภาษีอย่างไรบ้าง ?

รถยนต์ที่มีอายุการใช้งานครบ 7 ปีขึ้นไป ต้องต่อภาษีอย่างไรบ้าง ?

สถานที่ชำระภาษีรถยนต์ประจำปี

1. สำนักงานขนส่งทุกพื้นที่ ทั่วประเทศ

2. ห้างสรรพสินค้า โครงการ “ช้อปให้พอ แล้วต่อภาษี”

2.1 ชำระภาษีรถ ที่ห้างบิ๊กซี เอ็กซ์ตร้า (Big C Extra)   เฉพาะวันเสาร์ – อาทิตย์   เปิดให้บริการ 14 สาขา คือ

– ลาดพร้าว (เปิดให้บริการเวลา 10.00 – 17.00 น.)
– รามอินทรา (เปิดให้บริการเวลา 09.00 – 17.00 น.)
– รัชดาภิเษก (เปิดให้บริการเวลา 09.00 – 17.00 น.)
– บางประกอก (เปิดให้บริการเวลา 09.00 – 17.00 น.)
– เพชรเกษม ชั้น 1 (เปิดให้บริการเวลา 09.00 – 17.00 น.)
– สุขาภิบาล3 (เปิดให้บริการเวลา 09.00 – 17.00 น.)
– แจ้งวัฒนะ2 (เปิดให้บริการเวลา 09.00 – 17.00 น.)
– สำโรง (เปิดให้บริการเวลา 09.00 – 17.00 น.)
– อ่อนนุช (เปิดให้บริการเวลา 10.00 – 15.00 น.)
– บางใหญ่ (เปิดให้บริการเวลา 09.00 – 17.00 น.)
–  บางบอน (เปิดให้บริการเวลา 09.00 – 17.00 น.)
– สมุทรปราการ (เปิดให้บริการเวลา 09.00 – 17.00 น.) 
–  สุวินทวงศ์ (เปิดให้บริการเวลา 09.00 – 17.00 น.)
– บางนา (เปิดให้บริการเวลา 09.00 – 17.00 น.)
**ส่วนต่างจังหวัด คือ หาดใหญ่ นครศรีธรรมราช ลพบุรี

2.2 ศูนย์การค้าพาราไดซ์ พาร์ค ถนนศรีนครินทร์ กรุงเทพมหานคร (เปิดให้บริการเวลา 10.00-17.00 น.)    
2.3 ศูนย์การค้า เซ็นทรัลเวิลด์ (เปิดให้บริการเวลา 11.00-18.00 น.)
2.4 ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล ลาดพร้าว (เปิดให้บริการเวลา 10.00-17.00 น.)
2.5 ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล สาขารามอินทรา   เฉพาะวันเสาร์- อาทิตย์   เวลา 10.00-17.00 น.    สามารถใช้บริการที่บริเวณ ท็อปมาร์เก็ต เซ็นทรัล รามอินทรา

เป็นอย่างไรกันบ้างคะ วิธีการต่อภาษี/ทะเบียนรถยนต์ง่ายๆ สำหรับรถยนต์ที่มีอายุการใช้งาน 7 ปีขึ้นไป หวังว่าคงจะเป็นประโยชน์ให้กับเพื่อนๆ ที่กำลังจะนำรถยนต์ไปต่อภาษี/ทะเบียนกันนะคะ สำหรับวันนี้ เดี๊ยนและทีมงาน Chobbrod ก็ต้องขอลาไปก่อน พบกันใหม่คอนเทนต์หน้า สวัสดีค่ะ

ดูเพิ่มเติม
กฎหมายรถป้ายแดงอัปเดตใหม่ 2562 กับ 10 วิธีขับรถใหม่อย่างไรไม่ให้ผิดกฎหมาย
ก่อนจะไปสอบใบขับขี่ ต้องรู้กฎหมายจราจรอะไรบ้าง? มาดูกันเลย!