ทางออกของคนค้ำประกันรถยนต์ เมื่ออาจได้ใช้หนี้แทน

ประสบการณ์ใช้รถ | 6 ม.ค 2566
แชร์ 5

เมื่อต้องกลายเป็นคนค้ำประกันภัยรถยนต์ แม้ลูกหนี้จะเป็นญาติกันหรือดูน่าเชื่อถือแค่ไหน ก็ยังไม่สามารถไว้ใจได้ 100% อยู่ดี จึงควรหาทางออกของคนค้ำประกันรถยนต์เอาไว้

ในการขอสินเชื่อซื้อรถ ไม่ได้มีเพียงตำแหน่ง "ลูกหนี้" และ "เจ้าหนี้" เท่านั้น แต่ยังมี "คนค้ําประกันรถ" อีกด้วย ซึ่งการ ค้ํา ประกัน รถยนต์ จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อลูกหนี้วางเงินดาวน์น้อยกว่า 20% หรือมีคุณสมบัติไม่เข้าเกณฑ์ที่เจ้าหนี้ หรือก็คือสถาบันทางการเงินหรือไฟแนนซ์กำหนดไว้ จึงต้องมีการค้ำประกัน เพื่อให้สัญญากับผู้ขายว่า หากลูกหนี้ผิดนัดไม่ชําระหนี้เงินกู้ ผู้ค้ำประกันจะเป็นผู้ชําระหนี้แทน โดยผู้ค้ำจะต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้

ทางออกของคนค้ำประกันรถยนต์

คุณสมบัติของผู้ค้ำประกันรถยนต์ 

  • มีอายุ 20 ปีขึ้นไป บรรลุนิติภาวะทางกฎหมาย 
  • มีรายได้และอาชีพที่มั่นคง
  • มีที่อยู่อาศัยที่ติดต่อได้แน่นอน
  • มีประวัติที่ดี ไม่มีประวัติค้างชำระ หรือเสียหายทางการเงิน

การค้ําประกันรถให้คนอื่น จึงถือว่าเป็นเรื่องที่เสี่ยงมาก แม้จะเป็นญาติ หรือเพื่อนที่สนิทสนมกันมาอย่างยาวนานก็ไม่สามารถไว้ใจได้ 100% แต่ถ้าจำเป็นต้องค้ํารถยนต์ให้คนอื่นจริง ๆ สิ่งแรกที่ควรทำคือศึกษากฎหมาย สิทธิ์ของผู้ค้ำประกัน และอ่านสัญญาให้ละเอียดก่อนเซ็น แล้วพิจารณาว่ามีความยุติธรรมกับคุณหรือไม่ เพราะคนค้ำไม่สามารถยกเลิกสัญญาได้หลังจากเซ็นไปแล้ว นอกจากนี้ ยังควรหาทางออกของคนค้ำประกันรถยนต์เอาไว้ด้วย 

คนค้ําประกันรถ

สิทธิ์ของผู้ค้ําประกัน มีอะไรบ้าง ?

1. เจ้าหนี้ไม่สามารถเก็บเงินกับผู้ค้ำประกันได้ทันที

กรณีที่ลูกหนี้หนีไป เจ้าหนี้จะไม่สามารถเก็บเงินจากคนค้ำประกันได้ทันที แต่จะต้องส่งหนังสือแจ้งให้คนค้ำประกันล่วงหน้า 60 วัน ตามที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ฉบับปรับปรุงใหม่ 2558 หากไม่แจ้งในระยะเวลาดังกล่าว ก็ถือว่าผู้ค้ำไม่ต้องจ่ายดอกเบี้ย แต่จ่ายเฉพาะเงินต้นที่ต้องเป็นผู้รับผิดชอบได้เลย 

2. จำกัดวงเงิน และระยะเวลาในการค้ำประกันได้ 

ผู้ค้ำประกันรถยนต์สามารถจำกัดวงเงินสูงสุดที่ต้องจ่าย และระยะเวลาในการค้ำประกันได้ โดยการตกลงกับผู้เป็นลูกหนี้ ก่อนเซ็นสัญญา

ค้ํารถให้คนอื่น

3. จ่ายเฉพาะส่วนที่ตนรับผิดชอบ และฟ้องเอาเงินคืนจากลูกหนี้ได้

หากมีการตกลงกันไว้ในสัญญา ผู้ค้ำประกันสามารถชำระหนี้เฉพาะส่วนที่ตนต้องรับผิดชอบได้ และเมื่อชำระหนี้ให้กับเจ้าหนี้ในจำนวนเงินที่ตกลงกันไว้ครบถ้วนแล้ว ผู้ค้ำประกันสามารถฟ้องร้องเอาเงินที่จ่ายคืนมาจากผู้ที่เป็นลูกหนี้ได้ 

4. บ่ายเบี่ยงให้เจ้าหนี้ฟ้องกับลูกหนี้ก่อนได้

หากลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้ จนเรื่องราวไปถึงขั้นขึ้นศาลฟ้องร้อง แต่ลูกหนี้ดันบ่ายเบี่ยงให้มาทวงหนี้กับคนค้ำก่อน ทางผู้ค้ำประกันมีสิทธิ์ปฏิเสธ และบ่ายเบี่ยงให้เจ้าหนี้ฟ้องกับลูกหนี้ก่อนได้ 

การ ค้ํา ประกัน รถยนต์

จะพ้นสภาพการเป็นผู้ค้ำประกันได้อย่างไร ?

  • ลูกหนี้ชำระหนี้จนครบถ้วน
  • สัญญาการค้ำประกันหมดอายุความ
  • กรณีที่ลูกหนี้หนีไป หากผู้ค้ำประกันขอชำระหนี้แทนลูกหนี้ แต่ทางเจ้าหนี้ไม่รับชำระหนี้ จะถือว่าหลุดจากการเป็นผู้ค้ำประกัน
  • ผู้ค้ำประกันเสียชีวิต 

การค้ํารถให้คนอื่นเป็นเรื่องที่มีความเสี่ยงมาก แม้ลูกหนี้จะเป็นญาติกัน หรือดูมีความน่าเชื่อถือมากแค่ไหน ก็ยังไม่สามารถไว้ใจได้เต็มร้อยอยู่ดี ดังนั้น เมื่อจำเป็นต้องตกอยู่ในสถานะ “ผู้ค้ำประกัน” จึงควรรู้ว่าสิทธิ์ที่ผู้ค้ำประกันควรได้รับ หรือสามารถทำได้มีอะไรบ้าง เพราะภาระหนี้ที่มีความเสี่ยงจะตกทอดมาถึงคุณ อาจเบาลง

ค้ําประกันรถให้คนอื่น

อ่านเพิ่มเติม >>