กลายเป็นปัญหาของหลายๆคน ที่จะเรียกว่าความมั่นใจเรื่องการผ่อนชำระค่างวดรถเกินกว่าเหตุ ไม่ว่าจะเป็นป้ายแดงหรือ
มือสอง ถึงแม้ตอนแรกในการยื่นขอสินเชื่อทางไฟแนนซ์เขาจะช่วยพิจารณาให้คุณในระดับหนึ่งแล้วก็ตาม ไม่ว่าจะการงานหน้าที่ รายได้ คนค้ำ ก็เพราะไฟแนนซ์ต้องเป็นผู้รับความเสี่ยง แต่คนที่จะรู้ตัวเองมากที่สุดคือเจ้าของรถว่าเป็นอย่างไร
ภาระหนี้สินจากค่างวดรถ เพราะผ่อนไม่ไหว ทำลายสุขภาพจิตไม่น้อย
ถ้าเกิดมีความผิดพลาดใดๆ หรือเมื่อตอนผ่อนรถจริงไม่เป็นอย่างที่คิด ส่งผลต่อความสามารถในการชำระหนี้ของคุณในแต่ละงวด เป็นภาระของคุณและครอบครัว จนถึงจุดที่ผ่อนไม่ไหว อย่าคิดว่าปล่อยให้ไฟแนนซ์หรือเจ้าของรถมายึดแล้วจะจบเพราะนั่นคือจุดเริ่มต้น “คดีความ” และการติด “แบล็คลิสต์” ของคุณและยังมีค่าส่วนต่างค่าปรับที่ไฟแนนซ์จะเรียกเก็บคุณเพราะไม่ปฎิบัติตามสัญญาเช่าซื้ออีก
“ติดแบล็คลิสต์” ซื้อรถได้ไหม แล้วทำยังไงถึงจะไม่ติดแบล็คลิสต์
มาดูวิธีการแก้ปัญหาในกรณีที่คุณคิดว่าผ่อนรถคันนั้นไม่ไหวแล้ว และต้องการจะปล่อยรถคันนี้ออกไปโดยที่ไม่มีปัญหาตามมาภายหลัง เราไปดูวิธีกัน
1. ขายดาวน์ต่อ
ลงขายรถของคุณในรูปแบบ “ขายดาวน์” ในราคาเงินดาวน์และเปลี่ยนสัญญาผู้เช่าซื้อจากชื่อคุณเป็นชื่อของคนที่มาซื้อรถคุณ ให้ผู้ซื้อนั้นไปผ่อนชำระรถคันนั้นต่อ วิธีนี้จะช่วยให้คุณพ้นจากภาระการชำระหนี้ได้แต่สิ่งสำคัญคือ ขั้นตอนการเปลี่ยนชื่อในสัญญาผู้เช่าซื้อต้องระบุให้ชัดเจนว่าคุณจะต้องไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง หรือความรับผิดชอบใดๆ ในรถคันนั้นอีกต่อไป ถ้าเกิดเจ้าของรถคันใหม่ เกิดเลี่ยงการชำระงวดค่าก็ไม่ต้องกังวลใดๆ
ช่องทางการขายดาวน์ก็ทำได้ง่ายจากความนิยมในสื่อโซเชี่ยลที่ทุกคน สามารถขายรถของตัวเองได้ง่ายมากขึ้น ระยะเวลาช้าหรือเร็วที่จะสามารถขายรถได้ ก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นรุ่นรถ และราคา ถ้าอยากขายได้ไวมากขึ้นคุณก็อาจจะเพิ่มช่องทางการโพส หรืออต้องยอมลดราคาดาวน์มาเพื่อดึงดูดผู้ซื้อ ในเมื่อจุดประสงค์ของคุณคือการตัดภาระหนี้สินก้อนนี้ บางทีก็จำเป็นต้องยอมตัดใจกับราคาขายดาวน์ที่ถูกกว่า
2. ขายรถมาปิดไฟแนนซ์
แตกต่างกับในวิธีแรก เพราะคุณจะลงขายรถคันนั้นในราคาเต็ม ไม่ใช่ราคาเงินดาวน์ จากนั้นคุณก็นำเงินไปที่ได้จากการขายรถ ไปชำระปิดกรมธรรม์จากไฟแนนซ์
ในเมื่อมันจำเป็น การยอมขายราคาถูกก็อาจช่วยแก้ปัญหาภาระค่างวดรถได้
ข้อดี วิธีนี้คุณก็จะได้ส่วนลดดอกเบี้ยจากไฟแนนซ์ แม้จะไม่ใช่เงินมากเท่าไร แต่อย่างน้อยได้เงินกลับมาบ้างก็ดีกว่าไม่ใช่หรือ
ข้อเสีย คือกรณีหาคนที่จะมาซื้อรถคุณอาจจะยากกว่า ถ้ารถของคุณมีราคาสูงและไม่เป็นที่นิยมในตลาด กว่าผู้ซื้อจะมาซื้อรถของคุณได้ ถ้าผู้ซื้อมีเงินก้อน มาซื้อรถคุณไปเลยก็ดีไปแต่ถ้าไม่มีผู้ซื้อต้องไปขอไฟแนนซ์เพื่อทำเรื่องซื้อรถของคุณ ใช้เวลาไม่น้อยกว่าขั้นตอนต่างๆจะจบ หรือมีอีกวิธีคือนำรถไปขายเต้นท์รถมือสอง แต่ก็อย่างที่รู้กันอยู่ว่าราคารถของคุณอาจถูกกดกว่าที่คุณพอใจ และที่ควรจะเป็น แต่ในเมื่อการแก้ปัญหาหลัก เป็นการตัดภาระส่วนนี้และเมื่อรถก็ลงขายตั้งนานแล้วยังขายไม่ได้ วิธีไปนำรถไปขายกับเต้นท์อาจจะเป็นวิธีที่ดีที่สุดก็ได้
3. ส่งรถคืน
กรณีนี้อาจมีน้อยกับไฟแนนซ์จากสถาบันการเงินทั่วไป แต่ถ้าเป็นไฟแนนซ์ในรูปแบบจากในเครือของเต้นท์รถที่คุณซื้อรถคันนั้นมา หรือกรณีให้เช่าซื้อโดยเสน่หา เป็นเครือญาติพี่น้อง เจ้านายลูกน้อง ลองคุยกับทางนั้นว่าพอจะมีวิธีไหนที่จะสามารถส่งรถคืน ไม่ขอผ่อนต่อ อาจจะต้องมีเสียค่าปรับหรือเงินเพิ่มเติมที่ทำให้ผู้ขายเสียโอกาส ที่สำคัญควรทำข้อตกลงให้ชัดเจน มีสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษรให้ชัดเจนเพื่อระบุว่าคุณไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับรถคันนั้นอีกต่อไปแล้ว
ลองสอบถามกับผู้ขายถึงความเป็นไปได้ในการส่งคืนรถ
ทุกปัญหามีทางออก อยู่ที่คุณตัดสินใจ ถ้าในสถานการณ์บีบบังคับ การยอมเสียผลประโยชน์จากราคารถที่คุณขายอาจจะขาดทุนหรือ เงินดาวน์ที่ขายได้ต่ำกว่าที่ควรจะเป็น อาจจะเป็นวิธีการแก้ปัญหาที่ดีกว่ายอมปล่อยให้รถโดนยึด ติดแบล็คลิสต์เป็นคดีความต่างๆ ส่งผลต่อเครดิตของคุณในอนาคต แต่สิ่งหนึ่งที่เป็นข้อสำคัญต้องจดจำให้ดีคือ “สัญญา” ต่างๆ ที่ทำต้องระบุให้ชัดเจน ว่าคุณจะไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการรับผิดชอบในรถคันนั้นอีกต่อไป
[Infographic] คิดสักนิด...ก่อนจะซื้อรถ ?