คนซื้อรถต้องรู้! รถ CBU และ CKD คืออะไร

ประสบการณ์ซื้อขายรถยนต์ | 28 มี.ค 2561
แชร์ 46

อักษร 3 ตัวสำหรับผู้ที่สนใจจะซื้อรถใหม่ป้ายแดง โดยเฉพาะรถจากค่ายยุโรปซึ่งมีทั้งในแบบผลิตในประเทศไทยเอง และนำเข้ามาขายจากต่างประเทศต้องเจอ และอาจเกิดข้อสงสัยกับคำว่า “รถ CKD”, “รถ CBU” จริงๆ แล้วมีความหมายว่าอะไร Chobrod ขออาสาพาไปทำความรู้จักความหมายขออักษรเหล่านี้ให้ละเอียดขึ้นยิ่งกว่า

คนซื้อรถต้องรู้! รถ CBU และ CKD คืออะไร

คนซื้อรถต้องรู้! รถ CBU และ CKD คืออะไร

คำว่า CBU ย่อมาจากคำว่า “Completely Built Up” ซึ่งหมายถึงรถยนต์ที่ผลิตในต่างประเทศ ทั้งคัน 100% และนำเข้ามาจำหน่ายในบ้านเรา หลายๆ เสียงจากผู้ใช้งานบอกว่ารถประเภทนี้มีคุณภาพงานประกอบที่ดีกว่าประกอบในไทย แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ต้องขึ้นอยู่กับประเทศต้นทางที่เป็นผู้ผลิตด้วยเช่นกัน ผู้ที่นำเข้ามาขายคือบริษัทแม่ของค่ายรถนั้นๆ นำเข้ามาขายเอง เพราะเห็นว่าถ้าตั้งฐานการผลิตจำนวนรถรุ่นนั้นๆ ที่ขายได้อาจไม่คุ้มค่า อย่างเช่นล่าสุด Nissan GT-R ที่ราคาเมื่อผ่านขั้นตอนภาษีหลายตลบก็มาจบอยู่ที่ 13.5 ล้านบาทก็ถือเป็นรถ CBU หรืออีกหนึ่งเหตุผลก็เพื่อเป็นตัวเลือกสำหรับลูกค้าที่ต้องการรถที่สเปคเทียบเท่ากับต่างประเทศที่ใช้งาน ยกตัวอย่างเช่น Mercedes Benz, BMW บางรุ่นผลิตจากประเทศเยอรมนีแล้วนำเข้ามาจำหน่ายในไทย และถ้ามองในเรื่องของราคาจำหน่ายก็อาจจะสูงกว่าคันที่ผลิตในประเทศด้วยเมื่อเทียบจากรุ่นเดียวกัน

>>> ดูเพิ่มเติม: ราคารถ เบนซ์

รถ Benz แม้จะมีโรงงานในไทยแต่ก็มีบางรุ่นที่เป็นรถนำเข้ามาจำหน่ายด้วย

รถ Benz แม้จะมีโรงงานในไทยแต่ก็มีบางรุ่นที่เป็นรถนำเข้ามาจำหน่ายด้วย

ส่วนอีกคำกับคำว่า CKD มาจากคำเต็มๆ “Completely Knocked Down” เป็นรถยนต์ที่ผลิตในประเทศ ไม่ว่าชิ้นส่วนอะไหล่ที่นำมาประกอบเป็นตัวรถจะมีทั้งชิ้นส่วนที่นำเข้ามา และทั้งผลิตในประเทศไทยเอง ถ้าประกอบออกมาเสร็จสิ้นเป็นคันในประเทศไทยก็จะถือว่าเป็นรถ CKD ทั้งสิ้น ยกตัวอย่างให้เห็นชัดเจนก็คือรถญี่ปุ่นทั่วไปที่เห็นตามท้องถนนอย่าง Honda, Toyota หรือรถยุโรปในบางค่ายอย่าง Benz, BMW ที่มีโรงงานผลิตในประเทศไทย

รถตลาดที่เห็นวิ่งเยอะตามท้องถนนส่วนใหญ่จะเป็นรถผลิตในประเทศ CKD

รถตลาดที่เห็นวิ่งเยอะตามท้องถนนส่วนใหญ่จะเป็นรถผลิตในประเทศ CKD

เรื่องภาษีคือความแตกต่างที่ชัดเจนที่สุดของรถทั้งสองประเภทนี้ ทางรัฐบาลเลือกที่จะตั้งเพดานภาษีสูงมากให้กับรถประเภท CBU กว่า 300% จากราคารถจริงๆ จนทำให้รถประเภทนี้มีราคาจำหน่ายแพงหูฉี่ เป็นความต้องการสนับสนุนให้ผู้ผลิตรถยนต์ต่างชาติเข้ามาสร้างโรงงานผลิตรถยนต์ในไทย ผลิตรถรุ่นนั้นๆ เป็นรถประเภท CKD มองในแง่เศรฐศาสตร์ถือเป็นเรื่องของการกระตุ้นเศรฐกิจที่ดี และเพิ่มอัตราการจ้างแรงงานในประเทศ แต่ถ้ามองในแง่คุณภาพของตัวรถแล้วนั้นเมื่อก่อนเหมือนว่างานประกอบภายในประเทศ CKD ยังไม่เรียบร้อยเท่ากับรถที่นำเข้ามาขาย CBU ผลิตจากประเทศแม่โดยเฉพาะรถที่ผลิตในประเทศแถบโซนยุโรป แต่มาถึงปัจจุบันมีการพัฒนาในด้านคุณภาพการประกอบของแรงงานไทย สามารถยกระดับมาตรฐานสูงขึ้นเทียบเท่ารถนำเข้าหรือรถ CBU แล้ว ผู้ใช้บางคนยังบอกว่างานประกอบดีกว่าด้วยซ้ำ

แต่ถึงอย่างไรก็ตามสำหรับผู้ซื้อบางคนก็ยังมีทัศนะคติยึดติดกับรถในประเภท CBU อย่างในรถยุโรปค่าย Benz, BMW ถ้าได้คำพ่วงท้ายมาด้วยว่า “Made In Germany” มันก็ให้ความสึกดี ชุ่มชื่นหัวใจกับเงินที่จ่ายซื้อรถค่ายหรูเหล่านี้ไปแสนแพงซึ่งไม่ใช่เรื่องที่ผิด อีกทั้งรถ CBU บางรุ่นยังเหนือกว่าในเรื่องออฟชั่นอุปกรณ์บางอย่าง เล็กๆ น้อยๆ ที่ตัวแทนอย่างเป็นทางการไม่ได้ให้มาในรุ่นที่ผลิตในประเทศ แต่อุปกรณ์อำนวยความสะดวกที่ได้รับสำหรับใครที่ซื้อรถประเภท CBU จะเทียบเท่าออฟชั่นที่คนทั่วโลกได้ใช้ ใครใคร่จ่าย จ่าย! เมื่อมองตามตรรกความคุ้มค่า และรายละเอียดการประกอบแล้วนั้น การเลือกใช้รถประกอบในประเทศ CKD ที่เป็นรุ่นเดียวกัน มาตรฐานที่จะได้รับในการใช้งานพื้นฐานก็ไม่แตกต่างกันมากเท่าไร

รถแบบ CBU อาจจะจูงใจกว่าเพราะเป็นรถที่ผลิตจากยุโรป แต่ก็แพงกว่าด้วยเช่นกัน

รถแบบ CBU อาจจะจูงใจกว่าเพราะเป็นรถที่ผลิตจากยุโรป แต่ก็แพงกว่าด้วยเช่นกัน

ท้ายที่สุดก็คงต้องจากไปดูที่รายละเอียดของรถรุ่นที่สนใจก่อนว่ามีอุปกรณ์อะไร เป็นหลักจุดสำคัญที่ผู้ซื้อต้องการมากที่สุด บางอย่างอาจจะมีให้มาเฉพาะรถที่นำเข้าผลิตจากต่างประเทศเท่านั้น ไม่มีอยู่ในคันที่ผลิตในประเทศ จากนั้นชั่งน้ำหนักความสำคัญระหว่างสิ่งที่ได้เพิ่มมากับเงินที่ต้องจ่ายเพิ่มไป มันคุ้มกันใหม่ที่จะซื้อรุ่นที่เป็น CBU หรือแค่ CKD ก็พอแล้ว Chobrod บอกความแตกต่างไปหมดแล้ว สุดท้ายอยู่ที่ผู้ซื้อเป็นคนตัดสินใจเอง

ดูเพิ่มเติม