ทำสัญญาซื้อขายรถ ติดไฟแนนซ์อย่างไร?

ประสบการณ์ซื้อขายรถยนต์ | 30 มิ.ย 2564
แชร์ 14

รถยังผ่อนไม่หมด ติดไฟแนนซ์อยู่ แต่ผ่อนไม่ไหว หรืออยากได้รถใหม่แล้ว อยากหาคนมาผ่อนต่อ ต้องทำสัญญาซื้อขายรถ ติดไฟแนนซ์แบบไหน? ขายรถติดไฟแนนซ์ ต้องทำอย่างไร

หลายคนคงทราบกันดีว่ารถยนต์นั้นเป็นสินทรัพย์ที่โอนชื่อ เปลี่ยนเจ้าของให้กันได้ มีวิธีการที่ไม่ยุ่งยาก แค่ทำสัญญาซื้อขาย รับโอนทั่วไป แต่ถ้าเกิดเป็นกรณีที่รถยังผ่อนไม่หมด รถติดไฟแนนซ์ โอนได้ไหม? การโอนรถติดไฟแนนซ์ ขายรถติดไฟแนนซ์ต้องทำอย่างไร? เราจะพาไปหาคำตอบกัน

รถติดไฟแนนซ์ โอนได้ไหม?

ตราบใดที่รถยนต์ยังติดไฟแนนซ์อยู่ผู้ถือกรรมสิทธิ์ของรถยนต์คันนั้นคือบริษัทไฟแนนซ์ เล่มทะเบียนตัวจริงจะอยู่ที่บริษัทไฟแนนซ์ ส่วนผู้เป็นเจ้าของรถจะมีสิทธิ์เป็นแค่เพียงผู้ถือครองไม่มีสิทธิ์ในการนำรถไปขายได้เพราะไม่มีเล่มทะเบียนรถ มีเพียงสำเนาทะเบียนรถเพื่อยืนยันสถานะของเจ้าของรถว่าเป็นแค่เพียงผู้เช่าซื้อเท่านั้น

รถผ่อนไม่หมด สิทธิ์ยังเป็นของไฟแนนซ์
รถผ่อนไม่หมด สิทธิ์ยังเป็นของไฟแนนซ์

ดังนั้นหากต้องการเปลี่ยนคนผ่อนใหม่ ไม่อยากรับภาระผ่อนรถตรงนี้แล้ว ให้ทำสัญญาซื้อขายรถ ติดไฟแนนซ์ใหม่ ให้ถูกต้อง ทางผู้รับช่วงต่อจะได้รับสิทธิ์เป็นผู้เช่าซื้อหรือเจ้าของรถที่สามารถนำรถไปใช้ได้อย่างถูกกฎหมายนั่นเอง

ปิดไฟแนนซ์เพื่อเอากรรมสิทธิ์

เมื่อเจ้าของรถยังไม่มีสิทธิ์ใดๆ ในการนำรถไปขาย แต่ถ้าเกิดว่าเจ้าของรถต้องการที่จะขายรถก็สามารถทำได้ โดยการนำเงินไปชำระค่างวดที่ยังค้างอยู่กับไฟแนนซ์ให้ครบหรือที่เรียกกันว่าโปะเพื่อปิดไฟแนนซ์ จากนั้นเจ้าของรถจะมีสิทธิ์ในรถคันนั้นโดยสมบูรณ์และนำรถไปขายได้

คนซื้อต่อไม่ต้องการผ่อนต่อ จึงซื้อแบบปิดไฟแนนซ์ไปเลย
คนซื้อต่อไม่ต้องการผ่อนต่อ จึงซื้อแบบปิดไฟแนนซ์ไปเลย

โดยผู้ขายต้องตกลงกับผู้ซื้อเรื่องรายละเอียด ส่วนต่างของราคารถให้เรียบร้อย และผู้ซื้อชำระเงินให้กับผู้ขายในราคาตามที่ตกลง แล้วผู้ขายจะนำเงินไปปิดไฟแนนซ์ของรถ ทางไฟแนนซ์ก็จะให้ทะเบียนเล่มจริงของรถมา เจ้าของรถมีสิทธิ์ในรถเต็มตัวแล้ว จากนั้นผู้ขายจะโอนกรรมสิทธิ์ของรถให้แก่ผู้ซื้อ ถือว่าเสร็จสิ้นขั้นตอนการซื้อขาย

ยกตัวอย่างเช่น

  • นาย ก ต้องการขายรถให้นาย ข ในราคา 1,000,000 บาท
  • แต่รถของนาย ก ยังติดไฟแนนซ์อยู่ 300,000 บาท
  • นาย ก ก็ทำการตกลงกับนาย ข เรื่องราคาเรียบร้อย
  • นาย ข ก็ชำระเงินค่ารถให้นาย ก 1,000,000 บาท
  • โดยในเงินจำนวนนี้จากนาย ก นำเงินไปจ่ายปิดกับไฟแนนซ์เพื่อให้ได้เล่มทะเบียนรถตัวจริงมา
  • นาย ก ไปทำเรื่องโอนกรรมสิทธิ์ของรถให้กับนาย ข และนาย ข มีสิทธิ์ครอบครองรถนี้โดยสมบูรณ์และไม่ต้องผ่อนต่อ

ไม่ปิดไฟแนนซ์แต่เปลี่ยนคนผ่อน

อีกประเภทหนึ่งสำหรับการขายรถมือสองก็คือการเปลี่ยนสัญญา ชื่อผู้ครอบครอง จากชื่อของผู้ขายเป็นชื่อของผู้ซื้อและผู้ซื้อจะต้องทำการชำระค่างวดกับไฟแนนซ์จนครบสัญญา โดยกรณีนี้ผู้ซื้อจะต้องตกลงรายละเอียดเรื่องราคารถให้เรียบร้อยก่อนว่าจะต้องจ่ายเงินให้กับผู้ขายในราคารถเท่าไรเหมือนเป็น เงินดาวน์ ส่วนผู้ซื้อจะต้องคำนวณราคารถที่รวมส่วนของที่ต้องจ่ายให้ผู้ขาย และค่างวดจนครบสัญญาด้วยว่าคุ้มราคารถหรือไม่

คนซื้อรับไปผ่อนต่อ กรรมสิทธิ์จึงยังเป็นของไฟแนนซ์
คนซื้อรับไปผ่อนต่อ กรรมสิทธิ์จึงยังเป็นของไฟแนนซ์

ยกตัวอย่างเช่น

  • นาย ก ขายรถให้นาย ข โดยนาย ข เห็นว่ารถนาย ก น่าจะอยู่ที่ประมาณ 1,000,000 บาท
  • รถนาย ก ยังค้างชำระค่างวดกับไฟแนนซ์อยู่ 36 งวด งวดละ 8,400 บาท รวมเป็นเงินประมาณ 300,000 บาท
  • นาย ข จึงทำการตกลงเรื่องราคากับนาย ก โดยซื้อรถในราคา 700,000 บาท ซึ่งเป็นค่างวดรถที่นาย ก ได้ทำการส่งไปก่อนหน้านี้แล้ว
  • ทำเรื่องเปลี่ยนสัญญาการผ่อนชำระจากชื่อนาย ก เป็นชื่อนาย ข
  • นาย ข รับช่วงผ่อนค่างวดที่เหลือต่อ โดยในระหว่างนี้ เจ้าของกรรมสิทธิ์รถก็ยังเป็นของไฟแนนซ์อยู่ จนกว่านาย ข จะทำการปิดค่างวดได้สำเร็จ

สรุปก็คือรถที่ติดไฟแนนซ์อยู่ของคุณสามารถขายได้ และไม่ยากอย่างที่คิด ไม่ควรจะขายรถไปทั้งที่รถยังติดไฟแนนซ์เพราะถือว่าเป็นการกระทำผิดความหมายอาญา และอย่าโอนลอยรถยนต์ ติดไฟแนนซ์ เพราะเสี่ยงต่อทั้งตัวผู้ซื้อและผู้ขาย โดยเฉพาะผู้ซื้อที่อาจจะเป็นการผ่อนค่างวดรถไปฟรี ๆ โดยที่ยังไม่ได้รับรถมาครอบครอง ต้องแน่ใจว่าสิทธิ์การถือสัญญาเช่าซื้อนั้นเป็นของตนอย่างสมบูรณ์แล้ว เพื่อความปลอดภัย ป้องกันการถูกเอาเปรียบ เป็นสิ่งที่ต้องพึงระวังเมื่อขายรถติดไฟแนนซ์

ดูเพิ่มเติม
>> 
รถมือสองทําประกันชั้น 1 ได้ไหม? ไขข้อข้องใจสำหรับเจ้าของรถมือสอง
>> ผ่อนไม่ไหว อยากเปลี่ยนสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ ทำอย่างไรดี?

เข้าดู ราคารถยนต์มือสอง ได้ที่นี่