จีนบุกหนักลุยตลาดยานยนต์โลก

ตลาดรถยนต์ต่างประเทศ | 12 เม.ย 2561
แชร์ 6

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาได้มีข่าวเกี่ยวกับการลงทุนทุกแวดวงมากมาย ซึ่งรวมถึงตลาดรถยนต์ ครึ่งแรกปี 2017 เพียงปีเดียวบริษัทยานยนต์จีน ทั้งเป็นผู้ผลิตรถยนต์และเป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนและอุปกรณ์ที่เกี่ยวเนื่องกับยานยนต์ ได้ลงทุนต่างประเทศคิดเป็นมูลค่าลงทุนกว่า 5,500 ล้านดอลลาร์

จีนได้ตั้งเป้ายุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศภายในปีค.ศ. 2030 ไว้ว่า จะพัฒนาอุตสาหกรรมก้าวขึ้นสู่การเป็นประเทศผู้นำนวัตกรรมโลก มุ่งเน้นผลิตสินค้าอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าสูง ขยับสถานะสู่การเป็นประเทศผู้นำด้านนวัตกรรม และเพิ่มสัดส่วนงบประมาณด้านการวิจัยและพัฒนา (R&D) จาก 2.5% ของจีดีพีในปี 2020 เป็น 2.8% ในปี 2030 และหนึ่งในอุตสาหกรรมที่รัฐบาลจีนมุ่งมั่นก็คือ “อุตสาหกรรมยานยนต์” ที่นับตั้งแต่ปี 2008 จนถึงปี 2017 ได้ลงทุนในต่างแดนเป็นมูลค่ารวมกว่า 34,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือกว่า 1.08 ล้านล้านบาทแล้ว

จีลีบริษัทรถยนต์ยักษ์ใหญ่จากจีนเข้าซื้อบริษัทรถชั้นนำในต่างประเทศ

จีลีบริษัทรถยนต์ยักษ์ใหญ่จากจีนเข้าซื้อบริษัทรถชั้นนำในต่างประเทศ

ตลอดในช่วงหลายปีที่ผ่านมา จีนไม่เพียงรุกเข้าไปซื้อกิจการบริษัทผู้ผลิตอะไหล่และชิ้นส่วน แต่ยังซื้อทั้งกิจการหรือถือหุ้นบางส่วนของบริษัทผู้ผลิตรถยนต์รายเล็กรายใหญ่ทั่วโลก ทั้งฝั่งยุโรปและสหรัฐอเมริกา ตัวอย่างล่าสุดคือ การเข้าซื้อหุ้นบริษัท เดมเลอร์ฯ ค่ายรถหรูของเยอรมนี ผู้ผลิตรถยนต์เมอร์เซเดส-เบนซ์ ที่ทำให้นายหลี่ ซูฝู ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เจ้อเจียง จีลี่ โฮลดิ้งส์ฯ จากประเทศจีน กลายเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่สุดซึ่งมีถึง 9.69% ของเดมเลอร์ ดีลนี้มูลค่าราว 9,000 ล้านดอลลาร์ หรือคิดเป็นเงินไทยประมาณ 288,000 ล้านบาท

จีลี่ได้เข้าซื้อกิจการรถโปรตอน

จีลี่ได้เข้าซื้อกิจการรถโปรตอน

ดูเพิ่มเติม
>> ล้ำหน้าไปอีก! จีนออกมินิบัสรุ่นใหม่ ไร้คนขับ-คันเร่ง-พวงมาลัย เล็งผลิตขายกลางปีนี้
>> จีนสั่งแบนการผลิตรถ 533 รุ่น แก้ไขปัญหามลพิษ

การลงทุนของจีนในครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าชาติมหาอำนาจอย่างจีนทุ่มวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี รวมทั้งทุ่มทุนซื้อกิจการเพื่อเพิ่มส่วนแบ่งในตลาดโลกอีกด้วย ในปี 2010 จีลี่ บริษัทรถยนต์เอกชนรายใหญ่สุดของจีน ได้ซื้อ “วอลโว่” ของสวีเดน และเร็วๆนี้ ยังซื้อหุ้น 8.2% ในบริษัท เอบี วอลโว่ฯ ซึ่งผลิตรถบรรทุกอีกด้วย ในปี 2017 จีลี่ได้เซ็นสัญญาซื้อกิจการรถ “โปรตอน” ของมาเลเซีย ซึ่งถือสัดส่วนหุ้น 49.9% และ “โลตัส” ของอังกฤษ (51%) จากบริษัท ดีอาร์บี-ไฮคอมของมาเลเซีย คิดเป็นมูลค่ารวมกัน 235 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ตาดว่าอาจมีการผลิตรถหรู “โลตัส” ที่โรงงานในมาเลเซียหรือที่จีน เพื่อควบคุมต้นทุนผลิตได้ดีขึ้น อีกทั้งยังมีการเข้าซื้อบริษัท เทอร์ราฟูเทีย ซึ่งเป็นผู้ผลิตรถยนต์บินได้ นับว่าเป็นก้าวแห่งอนาคตเลยทีเดียว

จีนยังมุ่งลงทุนในชิ้นส่วนยานยนต์อีกด้วย

จีนยังมุ่งลงทุนในชิ้นส่วนยานยนต์อีกด้วย

นอกจากนี้ยังมีบริษัทอื่นๆในจีนที่รุกสู่ตลาดต่างประเทศอีก เช่น หนิงโป จอยสัน อิเล็กทรอนิกส์ คอร์ป ได้ลงทุน 1,590 ล้านดอลลาร์ ซื้อกิจการของบริษัท ทากาดะ ผู้ผลิตถุงลมนิรภัยที่เคยมีข่าวฉาวในญี่ปุ่น บริษัท เจ้อเจียง จีลี โฮลดิงส์ กรุ๊ป สร้างโรงงานใหม่สำหรับรถยนต์วอลโว่ในสหรัฐ ซึ่งลงทุนไป 500 ล้านดอลลาร์ เทนเซนต์ โฮลดิ้ง ซื้อหุ้นบริษัท เทสลา ผู้ผลิตยานยนต์ไฟฟ้าของสหรัฐสัดส่วน 5 เปอร์เซ็นต์ ราว 1,800 ล้านดอลลาร์ หรือกว่า 57,600 ล้านบาท ทั้งปีนี้บริษัทกำลังทุ่มทุนอีก 500 ล้านดอลลาร์หรือกว่า 16,000 ล้านบาทสร้างโรงงานผลิตรถยนต์วอลโว่แห่งใหม่ในเมืองริดจ์วอลล์ มลรัฐเซาธ์แคโรไลนา ซึ่งจะมีการจ้างงาน คนงานอเมริกันถึง 2,000 คน

จีนยังรุกตลาดยานยนต์อย่างต่อเนื่อง

จีนยังรุกตลาดยานยนต์อย่างต่อเนื่อง

ไม่เพียงเฉพาะรถยนต์แบรนด์ดังทั้งจากยุโรปและสหรัฐอเมริกาที่เป็นเป้าหมายต้นๆ แต่ในระยะหลังๆ นี้ เราจะเห็นได้ว่า จีนยังรุกคืบอย่างรวดเร็วและบุกหนักในอุตสาหกรรม “ยานยนต์แห่งอนาคต” เนื่องจากเป็นหนึ่งใน “อุตสาหกรรมเป้าหมาย” ตามแผนยุทธศาสตร์ Made in China 2025 

ดูเพิ่มเติม
>> จีนต่ออายุมาตรการชดเชยไปอีก 3 ปี สำหรับเจ้าของรถยนต์ไฟฟ้าคันใหม่
>> รัฐเล็งคุมรถยนต์ไฟฟ้าจากจีน