จะมีการเดินทางสักแบบไหมที่ลดเวลาได้จาก 7 ชั่วโมง เหลือ 7 ยกกำลัง 2 นาที ถ้านึกไม่ออกลองขับรถจากกทม.ไปบุรีรัมย์ดู วันนี้ chobrod กลับมาอัพเดทว่า ตู้ดูดอากาศสุดซิ่งตัวนี้มันพัฒนาไปถึงไหนแล้ว
Virgin Hyperloop One
ลักษณะที่เตะตาที่สุดของศูนย์การทดสองสำหรับ Virgin Hyperloop One ที่มีศักยภาพที่จะปฏิวัติ ค่าตัวเป็นพันล้านดอลลาร์ ในทะเลทราย Mojave (โมฆาเบ้) คือมันผลิตจากชุดโครงสร้าง Big Top Fabric Structures เวอร์ชันขนาดซุเปอร์ของเต๊นท์จัดปาร์ตี้หลังบ้าน
แต่พื้นที่ขนาด 40 เอเคอร์ห่างออกไปนอกเมืองจากลาส เบกาส 29 ไมล์มีทุกอย่างที่วิศวกรต้องการเพื่อทดสอบตู้ความเร็วสูงที่วิ่งภายในท่อแรงดันต่ำ คือสนามทดสอบยาว 500 เมตร เท่ากับราว 1,600 ฟุต พื้นที่ควบคุมการทดสอบมีขนาดประมาณโรงรถจุจอดสองคัน มีคอมพิวเตอร์ 20 ตัวและจอแสดงผลสองจอ อุณหภูมิขึ้นสูลงตั้งแต่ 10 ถึง 127 องศา บางครั้งในรูปแบบลมกับฝนแบบมรสุม และส่วนท่อต่างๆ เป็นโหลเส้นผ่านประมาณ 11 ฟุต ยาวประมาณ 50 ฟุต และหนักประมาณ 58,000 ปอนด์ตั้งอยู่รอบพื้นที่ให้ทีมงานใช้ทดลอง
ห้องพักเบรกมีตู้เย็นสองตัวไว้แช่เครื่องดื่ม Hydration (ภาวะน้ำในร่างกาย) เป็นเรื่องใหญ่ในทะเลทราย สถานีป้องกันใช้พลังงานแสงอาทิตย์ และภูเขาตั้งเป็นพื้นหลังสวยงามทำให้พื้นที่สมบูรณ์ซึ่งวิศวกรของ Hyperloop บอกว่าประวัติศาสตร์ของการขนส่งกำลังถูกสร้างขึ้น มันคือรูปแบบประวัติศาสตร์ที่ในกลางทศวรรษหน้าอาจมีชาวพิทส์เบิร์กไปชิคาโกด้วยเวลาเกือบ 48 นาทีเมื่อไรก็ได้ (Google Map คำนวณว่าถ้าใช้รถส่วนตัวมีอย่างน้อย 7 ชั่วโมง)
เส้นทางที่มีการยื่นขอไว้ไม่ได้วิ่งผ่านหรือใกล้กับโตเลโด้ แต่ผู้สนับสนุนกำลังผลักดันให้ Hyperloop วิ่งขึ้นทางเหนือไปอีกพร้อมที่บอกว่าอาจเป็นเส้นทางโดยตรงระหว่างชิคาโกกับนิวยอร์ค ระหว่างตัวเมืองโตเลโด้กับคลีฟแลนด์ เส้นทางเดินรถที่มีเหตุผลคือ Ohio Turnpike และ I-80 ไปโอไฮโอและเพนซิลเวเนีย กลุ่มคนท้องถิ่น ผู้ริเริ่ม Hyperloop ในโตเลโด้ที่ Code City กล่าวในปีที่แล้วว่าในจดหมายที่ส่งให้ Hyperloop One และ SpaceX ซึ่งวิ่งผ่านโตเลโด้กับคลีฟแลนด์จะได้ความหนาแน่นทางประชากรมากกว่าถ้าวิ่งไปโคลัมบัส โดยเฉพาะถ้าเส้นทางวิ่งต่อไปนิวยอร์ค อีกศูนย์กลางประชากรแห่งใหญ่ โตเลโด้ยังจะเป็นจุดเปลี่ยนเส้นทางที่มีเหตุผลสำหรับเส้นทางเดินรถ Hyperloop ระหว่างดีทรอยท์-วินด์เซอร์กับเมืองทางใต้อย่างแอตแลนต้า ในจดหมายเขียนไว้
หลังทดสอบมากกว่า 200 ครั้งที่เอเพ็กซ์ เนวาด้าในปีก่อนๆ วิศวกรของ Hyperloop กล่าวว่าพวกเขาไม่สงสัยเลยที่เทคโนโลยีดำเนินการในทางที่ควรจะเป็น ที่จริง ระหว่างการทดสอบช่วงหลัง ร็อบ เฟอร์เบอร์ หัวหน้าวิศวกรชาวพิทส์เบิร์กกล่าวว่าทีมงานทำงานหลักๆ ในเรื่องรายละเอียดเสริมเช่นสีไหนที่อยู่นอกตัวท่อแล้วสวยที่สุดในทุกสภาพอากาศและพัฒนาหุ่นยนต์ซ่อมแซมเพื่อดำเนินการปรับปรุงตามตารางเวลา “ถ้าฟิสิกส์จะทำงานมันก็ไม่ใช่ทดสอบ ระบบมันทำงานแล้ว” หัวหน้าร็อบกล่าว “เรากำลังสร้างทั้งระบบขนส่ง นี่การทดสอบทุกอย่างอื่นๆ ที่ต้องไปด้วยกัน”
มีเดียทัวร์เป็นส่วนหนึ่งของการเยี่ยมชมสถานที่ที่ Virgin Hyperloop เตรียมไว้ให้เจ้าหน้าที่จากคณะกรรมการวางผังเมือง Mid-West Ohio ซึ่งกำลังผลักดันให้มีระบบ hyperloop ที่ทำการได้ครั้งแรกใน USA บนเส้นทางเดินรถยาว 488 ไมล์จากพิทส์เบิร์กไปชิคาโกผ่านโคลัมบัส แผนเสนองาน Mid-West Connect เป็นหนึ่งใน 10 ที่ Virgin Hyperloop อนุมัติให้ดำเนินการหลังการแข่งขันทั่วโลกปีที่แล้ว
Virgin Hyperloop ซึ่งมีลูกจ้าง 200 คนใน LA (โลส อังเคเลส) กำลังค้นหาแนวคิดที่เกิดจากมหาเศรษฐีอย่างอีลอน มัสก์เมื่อห้าปีก่อนเพื่อพามนุษย์และสิ่งของเดินทางด้วยความเร็วราว 700 ไมล์/ชั่วโมงผ่านท่อดูดฝุ่นที่ถูกแขวนโดย magnetic levitation (การลอยตัวจากแม่เหล็ก) อีลอน มัสก์ไม่ใช่นักลงทุนหรือเกี่ยวข้องกับโครงการโดยตรง แต่หัวหน้าร็อบและเจ้าหน้าที่ระดับสูงท่านอื่นเคยทำงานกับเขาในบริษัทอื่นๆ อย่าง Tesla และ Space-X
BMW เริ่มแผนการผลิตอุปกรณ์ชาร์จแบบ Wireless สำหรับ 530e iPerformance Hybrid
เตรียมพร้อมเทคโนโลยีใหม่ในยานยนต์แห่งอนาคต
Devloop ท่อทดสอบ Hyperloop ที่ศูนย์ในเมืองเอเพ็กซ์ เนวาด้า
หัวหน้าร็อบกล่าวว่า “เหตุการณ์มันเป็นไปแล้ว” ของ hyperloop เกิดขึ้นเดือนพฤษภาคมปีที่แล้ว เมื่อตู้แรกวิ่งไปตามสนามทดสอบอย่างรวดเร็ว ก่อนหน้านั้น ทุกอย่างเป็นทฤษฎี “เหตุการณ์ที่คุณจาก “เราจะทำ” ถึง “เราทำได้” โลกเปลี่ยนไป” หัวหน้าร็อบกล่าว “เราเริ่มจาก “ผมคิดว่ามันควรใช้งานได้นะ” ผลงานของเราได้รับรองแล้วว่าใช้งานได้ “เราทำได้แล้ว ทุกระบบทำงานได้ไม่ผิดพลาดเลย””
กุญแจสำคัญของทั้งการทำงาน หัวหน้าร็อบกล่าวว่า คือการกำจัดแรงเสียดทาน ส่วนใหญ่มาจากอากาศ กำจัดอากาศ แล้วแรงเสียดทานจะตามไป เขาเปรียบเทียบกับเครื่องบินเจ็ท ซึ่งเขาใช้พลังงานส่วนใหญ่พาเครื่องไปชั้นบรรยากาศต่ำจนถึงระดับความสูงที่ความกดอากาศต่ำ “(ด้วยท่อแรงดันต่ำ) เราไม่ต้องใช้พลังงานทั้งหมดผลักอากาศออกไป” หัวหน้ากล่าว “เราเอาชนะสมการแรงเสียดทานได้แล้ว”
ประโยชน์ใหญ่หลวงอย่างหนึ่งของระบบนี้ หัวหน้ากล่าวว่า คือไม่กินไฟฟ้ามาก รถ Tesla ใช้กำลัง 160 วัตต์/ระยะไมล์โดยสาร hyperloop ใช้น้อยกว่า 100 วัตต์
ในสนามสอบ hyperloop ทำความเร็วสูงสุดที่ 240 ไมล์/ชม. ที่เร็วกว่านั้นไม่ได้เพราะระยะทางสนามสั้น แต่เพียงพอที่รู้ว่าเทคโนโลยีใช้งานได้ หัวหน้าร็อบกล่าว ตอนแรก เจ้าหน้าที่ hyperloop กล่าวว่าระบบจะไม่มีปัญหาเมื่อถึง 700 ไมล์/ชม. แต่หัวหน้าร็อบกล่าวว่านั่นจะเกิดขึ้นในเส้นทางที่ตรง ราบสนิท ไม่มีภูเขา หุบเขา หรือทางโค้ง
ในการทำงานภาคปฎิบัติ ระบบจะวิ่งได้ประมาณ 500 ไมล์/ชม. เพิ่มเวลาเดินทางที่คาดไว้จากชาวพิทส์เบิร์กไปชิคาโกจาก 29 เป็น 48 นาที น้อยกว่าขึ้นเครื่องบินอยู่ดี (Google ประมาณไว้ที่ 95 นาที) ตู้ทดสอบมีขนาดประมาณรถเทรลเลอร์แทร็กเตอร์ขนาดเล็กคลุม aerodynamic ด้านหน้าด้วยคาร์บอนไฟเบอร์แบบเดียวกับในจมูกเครื่องบินเจ็ท ตู้นี้ใช้บรรทุกสินค้า แต่ตู้โดยสารจะใช่เทคโนโลยีเดียวกัน และขนาดสามารถกระจัดกระจายตามความต้องการของเส้นทางเดินรถนั้นๆ ตู้โดยสารจะจุได้ 8-50 คน
จนถึงตอนนี้ ผู้โดยสารคนเดียวในระบบคือ Thor ตุ๊กตาสัตว์ของลูกวิศวกรคนหนึ่ง หัวหน้าร็อบกล่าวว่า ยังไม่จำเป็นต้องใช้มนุษย์ทดสอบด้วยเรื่องความปลอดภัยเพราะ “มันไม่สำคัญ” “ไม่มีอะไรน่าสนใจเกิดขึ้นเมื่อมนุษย์เข้าไปนั่ง” หัวหน้ากล่าว “ขณะที่มนุษย์เข้าไปนั่ง ระบบความปลอดภัยทุกอย่างต้องเรียบร้อย ไม่มีอะไรแตกต่างเกิดกับมนุษย์”
ที่จริง หัวหน้าร็อบหัวเราะเยาะกับความคิดของ Uber ที่ต้องทดสอบรถไร้คนขับกับผู้โดยสารเพื่อช่วยให้ตัวรถมีเทคโนโลยีที่สมบูรณ์ “นั่นมันไร้สาระ นั่นมันคำโกหกหน้าไม่อาย” หัวหน้าโวยหนักไปสามนาที “พวกเขาไม่อยากเสียเงินทดสอบ Uber ได้สร้างความเสียหายในการพัฒนารถไร้คนขับมากกว่าคนอื่นอีกด้วยวิธีนั้น”
หัวหน้าร็อบกล่าวว่าคำปลอดภัยสำคัญที่สุดสำหรับริชาร์ด แบรนสัน มหาเศรษฐีเจ้าของ Virgin ที่ลงทุนใน Hyperloop One ปีทีแล้ว “อย่างน้อยมันจะปลอดภัยเท่ากับอย่างอื่นรอบๆ ถ้าไม่ปลอดภัยกว่า”
ประสบการณ์ของพนักงานขับจักรในตู้ hyperloop จะคล้ายกับขับเครื่องบินเว้นแต่มันจะเงียบและนุ่มกว่า หัวหน้าร็อบกล่าว วิศวกรรู้เรื่องนี้จากการดูวิดีโอที่ถ่ายโดยกล้องในตู้ระหว่างการทดสอบ “มันต้องวิ่งได้ดี๊ดี และมั่นใจได้มากๆ และมันจะเป็นแบบนั้น” หัวหน้าร็อบกล่าว “กาแฟจะไม่กระเด็นหกแน่”
DP World Cargospeed เส้นทางเดิน Hyperloop ที่ดูไบ (มีโดรนด้วย)
อีกความน่าสนใจของ hyperloop จะเป็นบริการเฉพาะตัว สำหรับทั้งทางเดินรถที่ติดตั้งรถแบบและพนักงานที่ขับตู้นี้
หัวหน้าร็อบกล่าวว่างานของวิศวกร Hyperloop คือพัฒนาเทคโนโลยี แล้วปรับใช้กับความต้องการในแต่ละพื้นที่ นั่นเป็นเหตุที่สภาะอากาศต่างๆ ในเอเพ็กซ์, เนวาด้าเหมาะกับการทดสอบ อากาศร้อนกับแห้งเหมือนบางส่วนในประเทศตะวันออกกลาง, อากาศเปียกกับชื้นเหมือนอินเดีย และอากาศแช่แข็งเหมือน Midwest USA ตอนฤดูหนาว
วิศวกร “ไม่สนใจ” ว่าผู้ให้บริการในพื้นที่ต้องการขนส่งผู้โดยสาร สินค้า หรือรวมกัน หัวหน้าร็อบกล่าว ไม่เกี่ยวว่าพวกเขาต้องการสถานีทุก 2 หรือ 200 ไมล์ พวกนั้นมันคำถาม “ธุรกิจ” ของผู้ให้บริการทางเดินรถเพื่อตัดสินใจและของวิศวกรเพื่อตอบสนอง
ระบบจะวิ่งบนเส้นทางคู่ขนานสองทิศ บางครั้งแยกท่อกัน บางครั้งก็ท่อเดียวกัน หัวหน้าร็อบกล่าวว่าเขาคาดว่ามีระบบมากมายจะทำตามสิทธิผ่านทางที่มีอยู่เช่นทางรถไฟ ทางเดินเท้า อุโมงค์ และเหมืองเพื่อลดต้นทุน ตัวระบบต้องการพื้นที่ดูดอากาศทุก 10-100 ไมล์ จากที่ตัวท่อเสียแรงดันแต่ละครั้งเมื่อประตูเปิดให้ผู้โดยสารออกหรือขนสินค้า
แต่ละเที่ยวจะให้บริการไม่มีหยุด ตามคำขอจากสถานีไปสถานี บางครั้งเมื่อผู้อื่นไปเที่ยวเดียวกัน อีกส่วนไปคนเดียว เช่น พนักงานขับคนเดียวในพิทส์เบิร์กวางตารางเดินตู้ไปโคลัมบัสขณะที่อีกตู้ไปแมรี่สวิลล์, โอไฮโอ และตู้ที่สามไปชิคาโก พนักงานขับอีกคนอาจขับจากลิม่า, โอไฮโอ ไปแมรี่สวิลล์ ค่าโดยสารจะถูกกำหนดโดยบริษัทเดินรถแต่ละแห่ง แต่ต้นทุนควรน้อยกว่าค่าตั๋วเครื่องบินมาก และอย่างน้อยแข่งกับระบบรถไฟในปัจจุบันแต่เร็วกว่าเยอะ
นั่นคืออีกกุญแจสำคัญนอกจากเทคโนโลยี โน้มน้าวธนาคารว่าบริษัทเดินรถสามารถออกต้นทุนอย่างน้อยทำให้ธนาคารให้สินเชื่อเป็นพันล้านเพื่อสร้างระบบ หัวหน้าร็อบเรียกมันว่า “bankability” (ความสามารถในการกักเก็บเงิน)
ตอนนี้ หัวหน้าร็อบกล่าวว่าเขาคาดว่า hyperloop เปิดทำการที่แรกกลางทศวรรษหน้า น่าจะเป็นอินเดียหรือดูไบและบางทีเน้นการส่งสินค้าด้วย เมื่อ 30 เมษายน Virgin Hyperloop ประกาศร่วมทุนกับ DP World องค์กรบริหารท่าเรือดูไบเพื่อพัฒนาเส้นทางเดินรถ DP World Cargospeed และในเดือนกุมภาพันธ์ได้เซ็นสัญญาเพื่อพัฒนาเส้นทางเดินรถระหว่างมุมไบกับปูเน่ที่อินเดีย ไม่ว่าระบบไหนเริ่มก่อนจะเป็นระยะทางขยายเส้นแรกที่จะได้รับการอนุมัติจากภาครัฐ นั่นคือตอนที่ hyperloop ต้องโน้มน้าวนักกฎหมายว่าระบบนั้นทำงานได้อย่างปลอดภัยและมั่นใจ
พอล ทอธ ประธานและ CEO ของการท่าเรือโตเลโด้-ลูคัส เคาน์ตี้ กล่าวว่าเขาเอาชนะคำสบประมาทตอนแรกเมื่อเขาได้ยินแนวคิด Hyperloop เพื่อสรุปว่าเทคโนโลยีส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่มีอยู่แล้ว มันเป็นแค่การเสนอที่จะใช้เป็นวิธีใหม่ “เราจะเป็นบ้าถ้าเราเปิดโต๊ะไม่ได้เพื่อติดต่อโตเลโด้แล้วแก้ปัญหาเรื่องนี้” ประธานพอลกล่าว เถียงเรื่องการเปลี่ยนเส้นทางในเส้นทางเดินรถที่เสนอจากพิทส์เบิร์กไปชิคาโก
สมาชิกสี่คนจากคณะกรรมการวางผังเมือง Mid- Ohio ทัวร์รอบศูนย์ทดสอบเมื่อกลางเดือนพฤษภาคม
คณะกรรมการกำลังทำงานร่วมกับชุมชน มหาวิทยาลัย และองค์กรต่างๆ ตลอดทางเดินรถ รวมถึงคณะกรรมการ Southwestern Pennsylvania และกรมการขนส่งเพนซิลเวเนีย เพื่อพัฒนารายละเอียดทางเดินรถและระบุผู้เข้าร่วมโครงการความร่วมมือภาครัฐ-ภาคเอกชน (PPP) เพื่อช่วยสนับสนุนเงินทุนโครงการ คณะกรรมการ Mid- Ohio ใช้วิธีเดียวกันเพื่อช่วยโคลัมบัสชนะการแข่งขันเมืองอัจฉริยะจากกรมการขนส่งของรัฐและได้เงิน 50 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
ทางเดินรถเป็นที่สนใจโดยเฉพาะสำหรับการขนส่งสินค้า ในปี 2015 ทางเดินรถคนส่งสินค้า 5.9 ล้านตันและคาดว่าจะเติบโตถึง 9 ล้านตันภายในปี 2040 โดยไม่มี Hyperloop
คณะกรรมการคาดว่าจะเลือกที่ปรึกษาในไม่กี่เดือนเพื่อดูแลการศึกษาคู่ที่รู้จักกันในนาม Rapid-Speed Transportation Initiative แบ่งเป็นการศึกษาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและการศึกษาความเป็นไปได้ที่เป็นการขยายจากการศึกษาที่กำลังทำอยู่ในเรื่องบริการรถไฟจากโคลัมบัสไปชิคาโก การศึกษาร่วมนี้ใช้งบ 2.5 ล้านเหรียญและน่าจะเสร็จสิ้นภายในกลางปี 2019
และนี่คือเทคโนโลยีอนาคตที่ Chobrod นำมาฝากวันนี้ ใครเบื่อการรถตามถนนแล้วรถติดให้อดทนกันหน่อยนะครับ เพราะเดี๋ยวอนาคตก็ตามเราทันแล้ว