Daimler เปิดตัวรถรับส่งนักเรียนไฟฟ้า “Jouley” รุ่นแรก

ตลาดรถยนต์ต่างประเทศ | 18 พ.ย 2560
แชร์ 0

ค่าย Daimler ได้มีการส่งคลิปตัวอย่างของรถนักเรียนที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้ารุ่นแรกที่มีชื่อว่า “ซาฟ-ที-ไลนเนอร์ ซี2” (Saf-T-Liner C2) หรือเรียกง่ายๆ ว่าจูลีย์ (Jouley)

ทางเดมเลอร์ชี้ว่า รถโรงเรียนเป็นรถที่เหมาะมากสำหรับการทำรถไฟฟ้า เนื่องจากมีการใช้งานเพียงช่วงสั้นๆต่อวัน คือ ตอนเช้า และตอนบ่าย ทำให้มีเวลามากพอสำหรับชาร์จไฟให้รถยนต์ ช่วงนี้ในวงการรถยนต์ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้ามีรถประเภทใหม่ๆ เปิดตัวกันออกมาอย่างมากมาย ตั้งแต่รถยนต์ธรรมดาไปจนถึงรถบรรทุกจากค่าย Tesla แต่ทว่ายังมีรถยนต์ประเภทหนึ่งที่หลายคนอาจนึกไม่ถึงนั่นคือ “รถโรงเรียน” ซึ่งล่าสุด ทางค่ายเดมเลอร์ (Daimler) ได้ออกมาประกาศอย่างเป็นทางการว่าจะสร้างรถนักเรียนในเวอร์ชันที่ปลอดมลพิษ และมาพร้อมกับเทคโนโลยีที่ทันสมัยที่สุด ภายในรถนักเรียนยังมีพอร์ต USB ให้เด็กๆ เสียบชาร์จอุปกรณ์โน้ตบุ๊ค หรือโทรศัพท์มือถือได้ด้วย
ซาฟ-ที-ไลนเนอร์ ซี2” (Saf-T-Liner C2) หรือ จูลีย์ (Jouley)
ซาฟ-ที-ไลนเนอร์ ซี2” (Saf-T-Liner C2) หรือ จูลีย์ (Jouley)
รูปลักษณ์ภายนอกเหมือนกับรถรับส่งที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซลแบบดั้งเดิม แต่ระบบขับเคลื่อนเป็นชุดแบตเตอรี่ที่มีขนาด 160 กิโลวัตต์ มีระยะทางในการขับขี่อยู่ที่ 99 ไมล์หรือประมาณ 160 กิโลเมตร นั่นทำให้เพียงพอสำหรับวิ่งไปกลับเพื่อรับส่งเด็กๆในเมือง  และสามารถรองรับนักเรียนได้สูงสุดถึง 81 คน แต่เดมเลอร์ก็ยังจะเพิ่มขนาดแบตเตอรี่ให้เดินทางให้ได้ไกลขึ้นอีกด้วย ในส่วนอัตราเร่งของจูลีย์นั้นเทียบกับรถซีดานชอย่างเทสล่า โมเดล เอส คงไม่ได้ เพราะอัตราเร่งในการออกตัวจาก 0-96 กม.ต่อชม. ต้องใช้เวลา 45 วินาที ความเร็วสูงสุดยังอยู่ที่ 100 กม.ต่อ ชม. แต่มันก็ยังมีความปลอดภัยเป็นอย่างมากเหมาะสำหรับใช้เป็นรถรับส่งเด็กนักเรียน
Daimler Jouley
Daimler Jouley
ส่วนระบบเบรกใช้ระบบคืนพลังงานขณะเบรก (regenerative braking) ซึ่งช่วยให้สามารถสั่งสมพลังงานและใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ แม้ว่าราคาจำหน่ายอาจจะแพงกว่ารถบัสดีเซลในปัจจุบัน แต่หากมองในระยะยาวรถบัสพลังงานไฟฟ้าให้ความคุ้มค่ามากกว่าเนื่องจากมีอัตราค่าบำรุงรักษาที่น้อยกว่าไม่ต้องเปลี่ยนน้ำมันเครื่องบ่อย อย่างไรก็ตาม การทำตลาดรถนักเรียนไฟฟ้าอาจเป็นเรื่องยากพอสมควร เนื่องจากโรงเรียนมีแนวโน้มว่าจะพิจารณาซื้อรถนักเรียนใหม่จากราคา อีกทั้งในสหรัฐอเมริกาเองในขณะนี้ก็ไม่ได้มีนโยบายส่งเสริมพลังงานทางเลือกมากนัก จึงทำให้การทำตลาดรถนักเรียนดังกล่าวคงเป็นไปอย่างยากลำบากพอสมควร เว้นแต่ว่ามีแผนรองรับย้ายไปทำตลาดยังภูมิภาคอื่นๆด้วย เช่น ในโซนยุโรป หรือเอเชีย
แท็ก Daimler