ทุกธุรกิจบนโลกย่อมมีเกิดมีดับไปตามกาลเวลา รวมถึงรถโฟล์คเต่า Volkswagen ที่เพิ่งปิดตำนานด้วยการยุติการผลิตรถยนต์รุ่นบีทเทิลไปเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา พร้อมคลิปอนิเมชั่นส่งท้ายภายใต้ชื่อ The Last Mile | Beetle
ทุกธุรกิจบนโลกย่อมมีเกิดมีดับไปตามกาลเวลา รวมถึงรถโฟล์คเต่า Volkswagen ที่เพิ่งปิดตำนานด้วยการยุติการผลิตรถยนต์รุ่นบีทเทิลไปเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา และเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2019 ทางแอคเคาท์ยูทูปของ Volkswagen USA ก็ได้ทำการปล่อยคลิปอนิเมชั่นส่งท้ายรถเต่าสุดคลาสสิคนี้ ภายใต้ชื่อ The Last Mile | Beetle ซึ่งในชื่อภาษาไทยนั้น น่าจะแปลได้ความว่า "ไมล์สุดท้ายของรถบีเทิล" หรือ "การเดินทางครั้งสุดท้ายของรถบีเทิล" ก็ได้ ซึ่งภายในเวลาไม่นานก็มียอดเข้าชมแล้วเกือบ 1 ล้านวิว
เนื้อหาที่ปรากฎในคลิป The Last Mile | Beetle นั้นว่าด้วยรถบีเทิลที่อยู่คู่กับผู้คนมาทุกยุคทุกสมัย มีบุคคลผู้มีชื่อเสียงทั้งดาราอย่าง Kevin Bacon, Andy Warhol ศิลปิน pop art ชื่อดัง, Andy Cohen พิธีกรชื่อดัง ปรากฎอยู่ในอนิเมชั่นเช่นกัน ซึ่งแสดงให้เห็นว่าทุกคนล้วนมีสายสัมพันธ์กับรถบีเทิล ทว่า งานเลี้ยงย่อมมีวันเลิกรา ท้ายที่สุดแล้ว รถบีเทิลก็ขับฝ่าฝูงชนทั้งหลายตรงไปยังเส้นทางอันโดดเดี่ยว เป็นการปิดตำนานรถโฟล์คเต่าที่สวยงามและซาบซึ้งใจ
รถบีเทิลที่กำลังขับเคลื่อนฝ่าฝูงคน
อย่างไรก็ตาม ช็อตสุดท้ายก่อนที่อนิเมชั่นจะจบลง ก็ได้ปรากฎข้อความ “Where the road ends, another begins.” พร้อมกับรถโฉมใหม่ ซึ่งแปลได้ว่า "เมื่อถนนเส้นหนึ่งสิ้นสุดลง ก็ได้เวลาเริ่มต้นเส้นทางใหม่" ซึ่งจากคำใบ้และภาพรถในอนิเมชั่นก็อาจพอคาดเดาได้ว่า Volkswagen จะกลับมาอีกครั้งพร้อมกับการพลิกโฉมครั้งใหญ่ คือการมาในรูปแบบของรถยนต์พลังงานไฟฟ้า ตามที่เคยมีข่าวให้เห็นกันอยู่บ้างก่อนหน้านี้
ช่วงท้ายคลิปมีการทิ้งท้ายว่า "เมื่อถนนเส้นหนึ่งสิ้นสุดลง ก็ได้เวลาเริ่มต้นเส้นทางใหม่"
รถบีเทิลในรูปแบบรถพลังงานไฟฟ้า
ฟ็อลคส์วาเกิน บีเทิล (Volkswagen Beetle) หรือ ฟ็อลคส์วาเกิน รุ่น 1 (เยอรมัน: VW Typ 1) เป็นรถยนต์รุ่นแรกของค่ายรถยนต์ฟ็อลคส์วาเกิน เป็นรถขับเคลื่อนล้อหลัง โดยเครื่องยนต์อยู่ด้านหลังของตัวรถ เป็นรุ่นรถที่ออกแบบครั้งเดียว แล้วสามารถทำยอดขายได้ยาวนาน รวมระยะเวลาการผลิต 65 ปี ยอดจำหน่ายรวมแล้วว่า 20 ล้านคันทั่วโลก แต่เดิมรุ่นรถของ Volkswagen จะเรียกตามขนาดของลูกสูบทั้ง 5 ขนาด ได้แก่ 1600, 1500, 1300, 1200, 1100 แต่หลังจากนั้นผู้คนในเยอรมันต่างเรียกรถคันนี้ด้วยภาษาเยอรมันที่แปลว่าด้วง จนกลายเป็น Beetle ซึ่งเป็นคำเรียกที่ได้รับความนิยมและเข้าใจง่ายกว่าชื่อรุ่น รวมไปถึงประเทศไทยเองที่เรียกรถคันนี้ว่า "โฟล์กเต่า" เช่นกัน
ดูเพิ่มเติม: