Mazda เปิดโรงงานผลิตในจังหวัดชลบุรีพร้อมวางตำแหน่งให้เป็นศูนย์กลางโรงงานระดับโลก
พนักงานในโรงงาน MPMT
Mazda Motor Corporation ได้วางตำแหน่งให้โรงงานผลิตในประเทศไทยเป็นศูนย์ที่สำคัญระดับโลก หลังเพิ่มความสามารถในการผลิตเครื่องยนต์ SkyActiv โดยมีพิธีเปิดทำการโรงงานผลิตเครื่องยนต์เมื่อวันที่ 19 มกราคมที่ผ่านมา ทำให้ยอดการผลิตสูงสุดที่ทำได้เพิ่มจากสามหมื่นหน่วยเป็นหนึ่งแสนหน่วย โรงงานนี้จะถูกบริหารโดย Mazda Powertrain Manufacturing Thailand ใช้พื้นที่ 800 ไร่ในจังหวัดชลบุรี โดย Mazda ได้ใช้งบลงทุนไป 26 พันล้านเยนเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2013 เริ่มจากเพื่อผลิตระบบส่งกำลัง SkyActiv สี่แสนหน่วย จากนั้นในเดือนสิงหาคม 2016 Mazda ลงทุนเพิ่มอีก 22.1 พันล้านเยนเพื่อสร้างโรงงานเครื่องจักร และเพิ่มความสามารถในการผลิตเครื่องยนต์
คิโยทากะ โชบุดะ กรรมการบริหารฝ่ายจัดการอาวุโสของ Mazda Motor Corporation กล่าวว่าโรงงานในประเทศไทยเป็นที่รู้จักมากขึ้นพร้อมๆ กับโรงงานของ Mazda ที่ฮิโรชิม่า และ โฮฟุ การผลิตโดยคนไทยและญี่ปุ่นสร้างผลิตภัณฑ์ของ Mazda คือ ตัวรถ ระบบส่งกำลัง และเกียร์ ที่ญี่ปุ่นนั้น Mazda ผลิตรถไป 9.66 แสนคัน เกียร์ 1.14 ล้านหน่วย และเครื่องยนต์หนึ่งล้านหน่วยต่อปี "สำหรับประเทศไทย เราได้พัฒนาพื้นที่แห่งนี้เพื่อใช้เป็นบทบาทสำคัญในฐานะศูนย์อาเซียน โดยรถทุกคนจะถูกส่งออกไปสู่โรงงานผลิตประกอบที่มาเลเซีย เวียดนาม และบางพื้นที่ในจีน" ท่านโชบุดะกล่าว "ตอนนี้ MPMT กำลังสร้างเทคโนโลยี SkyActiv สำหรับทั้งรถน้ำมันและรถดีเซล ขณะที่เกียร์ 80% กับเครื่องยนต์ 20-30% ถูกส่งออก การผลิตที่เหลือจะถูกใช้เข้าสู่โรงงาน AutoAlliance จ.ระยองโดยตรง ซึ่งเป็นโรงงานผลิตประกอบร่วมของ Mazda และ Ford"
มาซามิจิ โคไก ประธานบริษัทและหัวหน้าผู้บริหารของ Mazda Motor Corporation กล่าวว่าเป้าหมายระยะยาวของบริษัทสำหรับโรงงานไทยในทศวรรษนี้รวมถึงการพัฒนา supplier ภายในประเทศ "เราต้องทำงานหนักเพื่อรักษาการผลิตให้แข็งแกร่งเช่นเดียวกับ supplier ในรถ Mazda ที่คุณภาพสูงขึ้น และเราจะโฟกัสการพัฒนารถ Mazda ที่มี SkyActiv - ในรุ่นโฉมที่ 6 จะมีรถที่คุณภาพสูงให้ลูกค้าใช้ - เพื่อสร้างความเชื่อใจมากขึ้น" ท่านประธานกล่าว "หนึ่งในปรัชญาสำคัญของ Mazda คือการพัฒนารถยนต์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ดังนั้น การผลิตรถรุ่นโฉมใหม่จึงเป็นเป้าหมายของ Mazda เพื่อลดการปล่อยก๊าซ CO2
ในประเทศไทย Mazda เพิ่งประกาศว่าได้ยิ่นขอผลิตรถไฮบริดต่อคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) โดยตั้งงบไว้ที่ 11.4 ล้านบาท ท่านประธานกล่าวว่าแต่ละประเทศมีนโยบายต่างกันในการสร้างกระแสต่อรถยนต์พลังไฟฟ้า นโยบายนั้นขึ้นอยู่กับสถานการณ์ในแต่ละประเทศ สำหรับประเทศไทย ทรัพยากรเพื่อใช้ในด้านกำลังไฟฟ้าส่วนใหญ่มาจากเชื้อเพลิงฟอสซิลและถ่านหิน ซึ่งสร้างก๊าซ CO2 ออกมาจำนวนมาก ถ้ารถพลังไฟฟ้าเป็นที่รู้จักมากขึ้น ความต้องการไฟฟ้าจะเพิ่มขึ้นจนประเทศต้องสร้างโรงไฟฟ้าแห่งใหม่ "สำหรับ EV เราต้องพิจารณาว่าประเทศไทยจะลดการปล่อยมลพิษโดยรวมได้ หรือต้องประเมินผลแบบ well-to-wheel" ท่านประธานกล่าว "EV อาจไม่ใช่คำตอบ ไม่เหมือนกันรถไฮบริดหรือปลั๊ก-อิน แต่รถพวกนั้นจะปล่อยก๊าซ CO2 รวมแล้วน้อยกว่า"
สนใจซื้อหรือเช็คราคารถ Mazda ได้ที่นี่
อ่านเพิ่มเติม: