เปลี่ยนเลข สายเส้นทางรถเมล์ใหม่
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก นายสนิท พรหมวงษ์ ได้ให้คำตอบในเรื่องนี้ว่า “หากมองในระยะยาว รถเมล์ในอนาคตจะต้องรองรับและเชื่อมต่อกับระบบขนส่งมวลชนอื่นๆ ทั้งรถไฟฟ้า รถไฟใต้ดิน เป็นต้น และที่สำคัญ จะต้องรองรับนักท่องเที่ยวต่างชาติด้วย และในอีก 5 - 10 ปี ข้างหน้า ประเทศไทยจะต้องมีป้ายอัจฉริยะร่วมด้วย
ดังนั้น อย่าไปซีเรียสกับเรื่องตัวอักษรภาษาอังกฤษ แนะนำว่า หากจำได้ไม่ได้ ประชาชนควรจำเป็นศาลายา-หมอชิตแทน ซึ่งการนำร่องในครั้งนี้ เรามีเวลาที่จะติดชื่อคู่กัน 2 ปี จนกว่าประชาชนจะชิน หากยังไม่ชิน ก็ติดคู่กันไป 2 ปี ยังไงเดี๋ยวก็ชิน อย่างไรก็ตาม สิ่งที่สำคัญกว่าการเปลี่ยนเลข คือ เราต้องมีรถวิ่งให้ประชาชน”
ตัวอย่าง เลขสายเส้นทางรถเมล์ใหม่
รวมถึง ข้อมูลจากเพจ Associate Professor Agachai Sumalee - รศ.ดร.เอกชัย สุมาลี ได้กล่าวว่า
การระบุเลขสายเส้นทางรถเมล์ ในอดีตและปัจจุบัน ไม่ได้มีนัยยะถึงพื้นที่การให้บริการ ในการกำหนดเลขเส้นทางใหม่ แต่กำหนดจากพื้นที่หลักที่ให้บริการ โดยแบ่งพื้นที่ใน กรุงเทพ และ ปริมณฑล ออกเป็น 4 พื้นที่ใหญ่ ตามเขตการเดินรถแบบเดิมของ ขสมก และ เพิ่มการระบุสีเข้ามา เพื่อแสดงถึงแต่ละพื้นที่ ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
โดยเลขสายรถเมล์ใหม่ จะขึ้นต้นด้วยอักษรย่อของสีในพื้นที่หลัก คือ G, Y, R, B และ ตามด้วยหมายเลขรถ อีกทั้งการปรับปรุงระบบหมายเลขรถเมล์ดังกล่าว ยังมีเหตุผล เพื่อลดการซ้ำกันของเลขรถในช่วงการเปลี่ยนถ่ายเส้นทาง จากระบบเก่าไประบบใหม่ นอกจากนั้นแล้ว จะมีการระบุแถบข้างรถให้แสดงแทนแถบสีของพื้นที่ที่รถสายดังกล่าวให้บริการผ่านดังรูปตัวอย่าง ดังนี้
การระบุเลขสายเส้นทางรถเมล์
>> ดูเพิ่มเติม:
เปิดโผ! เลขสายรถเมล์ใหม่ 269 เส้นทาง
ครม. ต่ออายุ รถไฟ-รถเมล์ฟรี ครั้งสุดท้าย ก่อนเปลี่ยนไปใช้บัตรสวัสดิการ เพื่อผู้มีรายได้น้อยแทน