เมื่อวันที่ 29 ก.พ. 2559 ที่กองบังคับตำรวจราจร จัดอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการตรวจจับและห้ามใช้รถยนต์ควันดำและเสียงดัง โดยมีดร.วิจารย์ สิมาฉายา อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ เป็นประธานในการเปิดกิจกรรมอบรม พร้อมด้วย นายประยูร เชี่ยววัฒนา ผู้อำนวยการสถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ พล.ต.ต.มงคล วรุณโณ ผู้บังคับการตำรวจราจร(ผบก.จร.) ผู้แทนจากกรุงเทพมหานคร(กทม.) และผู้แทนกรมการขนส่งทางบก ดร.วิจารย์ กล่าวว่า ปัจจุบันพบว่ามลพิษในกรุงเทพมหานครโดยส่วนมากเกิดจากฝุ่นควันที่มาจากยานพาหนะที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซลโดยเฉพาะใ...
เมื่อวันที่ 29 ก.พ. 2559 ที่กองบังคับตำรวจราจร จัดอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการตรวจจับและห้ามใช้รถยนต์ควันดำและเสียงดัง โดยมีดร.วิจารย์ สิมาฉายา อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ เป็นประธานในการเปิดกิจกรรมอบรม พร้อมด้วย นายประยูร เชี่ยววัฒนา ผู้อำนวยการสถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ พล.ต.ต.มงคล วรุณโณ ผู้บังคับการตำรวจราจร(ผบก.จร.) ผู้แทนจากกรุงเทพมหานคร(กทม.) และผู้แทนกรมการขนส่งทางบก ดร.วิจารย์ กล่าวว่า ปัจจุบันพบว่ามลพิษในกรุงเทพมหานครโดยส่วนมากเกิดจากฝุ่นควันที่มาจากยานพาหนะที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซลโดยเฉพาะในจุดที่มีปัญหาการจราจรติดขัดขั้นรุนแรง
เข้ากฏหมายควันดำ เสียงดัง โดนจับแน่
ดังนั้นทางกรมควบคุมมลพิษจึงจำเป็นที่จะต้องเข้มงวดในการตรวจวัดรถที่มีควันดำเกินมาตรฐานเพื่อควบคุมไม่ให้กระทบต่อสภาพแวดล้อมในพื้นที่กรุงเทพฯ โดยเฉพาะหน้าแล้งที่มักจะพบว่ามีค่าฝุ่นควันเกินมาตรฐาน ดังนั้นจึงจำเป็นจะต้องควบคุมเป็นพิเศษ ทั้งนี้ในปี 2558 ทางกรมได้มีการสุ่มตรวจรถทั้งหมดจำนวน 10,000 คันพบว่ามีรถที่มีค่าควันดำเกินเกินร้อยละ 45 วัดจากเครื่องทึบแสง และเกินร้อยละ 50 วัดจากกระดาษกรองมีเพียงร้อยละ 4 เท่านั้นซึ่งหากเปรียบเทียบกับการวัดช่วงแรกในปี 2556 ที่พบว่ามีรถที่มีค่ามาตรฐานควันดำเกินมากถึงร้อยละ 50 ถือว่าปัจจุบันมีรถที่ค่าควันดำเกินมาตรฐานลดลงอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้กรมควบคุมมวลพิษและบก.จร.จะมีการร่วมกันตรวจจับรถที่มีค่าควันดำเกินมาตรฐานอย่างเข้มงวดมากยิ่งขึ้นซึ่งหากผู้ที่กระทำความผิดจะมีโทษปรับตามพ.ร.บ.จราจรทางบก 2522 ขอหานำรถที่มีอุปกรณ์ส่วนควบไม่ได้มาตรฐานก่อให้เกิดมลพิษมาวิ่งในทางปรับสูงสุด 500 บาทสำหรับรถยนต์ธรรมดา ส่วนรถบรรทุกปรับไม่เกิน 5,000 บาท รวมทั้งเจ้าหน้าที่จะติดสติกเกอร์ห้ามใช้รถชั่วคราวจนกว่าเจ้าของจะนำไปปรับปรุงและนำเข้ามาตรวจสภาพอีกครั้งซึ่งจะให้เวลา 30 วันสำหรับแก้ไข
อย่างไรก็ตามสำหรับการอบรมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทบทวน ทำความเข้าใจกับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานจริง เพื่อเพอ้มประสิทธิภาพและความแม่นยำในการตรวจวัดและยังเป็นการลดข้อขัดแย้งที่จะเกิดกับตัวเจ้าหน้าและประชาชนอีกด้วย รวมทั้งทางกรมจะมีการเปลี่ยนเครื่องมือตรวจวัดจากกระดาษกรองเป็นแบบทึบแสงทั้งหมดเพราะเครื่องมือตรวจวัดแบบทึบแสงจะมีความแม่นยำมากกว่าเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล นอกจากนี้ยังจะมีการหารือร่วมกับกรมการขนส่งทางบกเพื่อที่จะเข้าไปควบคุมค่าควันดำในรถประจำทาง เพราะปัจจุบันจากการตรวจสอบเบื้องต้นรถประจำทางและรถทัวร์มีปริมาณควันดำเกินเป็นจำนวนมาก แต่ทางกรมยังไม่มีอำนาจเข้าไปควบคุมเนื่องจากพ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม 2535 ให้อำนาจควบคุมได้เฉพาะรถยนต์และมอเตอร์ไซต์เท่านั้น ด้านพ.ต.อ.ศุภชัชจ์ เปี่ยมมนัส ผู้กำกับการกอง 5 ตรวจพิสูจน์ผู้ขับขี่ บก.จร. กล่าวว่า สำหรับการควบคุมและบังคับใช้กฎหมายทางบก.จร.มีเครื่องตรวจัดควันดำจำนวน 16 ชุดซึ่งการตรวจจับจะเน้นในจุดรอยต่อกรุงเทพฯและปริมณฑลเพื่อเลี่ยงปัญหาการจราจรที่จะเกิดขึ้น โดยหากพบว่าค่าเกินมาตรฐานเจ้าหน้าที่จำดำเนินการออกใบสั่งพร้อมทั้งให้สติกเกอร์ห้ามใช้ชั่วคราวทันที
นอกจากนี้ทางบก.จร.ได้มีการหารือร่วมกับสถาบันมาตรวัดแห่งชาติกรณีการตรวจจับและควบคุมรถที่เสียงดังเกินค่ามาตรฐาน เพราะขณะนี้ได้รับการร้องเรียนเข้ามาเป็นจำนวนมากโดยเฉพาะรถบิ๊กไบค์และรถแต่งดัดแปลงสภาพเพราะรถเหล่ามักจะมีปัญหาเสียงโดยจากการวัดเบื้องต้นมีค่าเสียงดังกว่า 150 เดซิเบล ทั้งนี้ในช่วงปี 58 ที่ผ่านมาเจ้าหน้าที่ตำรวจไม่ได้มีการตรวจจับรถเสียงดังเพราะมีการแก้ไขกฎหมายใหม่ ซึ่งขณะนี้ประกาศใช้แล้ว โดยกำหนดให้รถที่จดทะเบียนตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2557จะต้องมีค่าเสียงไม่เกิน 95 เดซิเบล จากเดิมกำหนดที่ 100 เดซิเบล ขณะที่รถเก่าที่จดทะเบียนก่อนนั้นก็จับที่ 100 เดซิเบลตามเดิม ซึ่งการกำหนดดังกล่าวเนื่องจากเทคโนโลยีการผลิตรถสามารถทำให้เสียงเครื่องยนต์เงียบลงกว่าเดิม
สำหรับแนวทางในการตั้งด่านนั้นเบื้องต้นอาจจะเป็น1-2ครั้งต่อเดือนและคาดว่าจะสามารถเริ่มดำเนินการในมี.ค.59 นี้ ซึ่งจะทดลองตรวจวัดเป็นระยะเวลา 3 เดือนก่อนที่จะจับ-ปรับจริงเพื่อแจ้งให้ประชาชนทราบเพราะที่ผ่านมาเจ้าหน้าที่ตำรวจไม่ได้มีการตรวจวัดเสียงเป็นระยะเวลานานประชาชนอาจจะเกิดความไม่เข้าใจ สำหรับอัตราโทษนั้นจะใช้แนวทางเดียวกับโทษควันดำ อย่างไรก็ตามขณะนี้บก.จร.มีเครื่องตรวจวัดเสียงจำนวน 4 เครื่องโดยหากมีการตั้งด่านจริงจะต้องมีการจัดซื้อเพิ่มเติมเพื่อให้มีเครื่องมือครบถ้วนในการปฏิบัติหน้าที่
อ่านข่าว เตรียมเปิดตัว New Toyota Vios (รุ่นปรับโฉม) ที่งาน Motor Show 2016 มีนาคมนี้
ที่มา เดลินิวส์