โตโยต้า แถลงยอดขายรถยนต์ปี 2563 จากสถานการณ์ การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ส่งผลโดยตรงต่อภาคเศรษฐกิจต่อเนื่องถึงตลาดรถยนต์ที่ 792,146 คัน ติดลบ -21.4% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว พร้อมคาดการณ์ปี 2564 อยู่ที่ 850,000 - 900,000 คัน
สำหรับยอดขายรถยนต์รวมในประเทศไทยปี 2563 ที่ผ่านมา อุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศได้รับผลกระทบอย่างมากจากสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ส่งผลให้ยอดขายลดลง 21.4% โดยมียอดขายอยู่ที่ 792,146 คัน
สถิติการขายรถยนต์ในประเทศปี 2563 |
ยอดขายปี 2563 |
เปลี่ยนแปลงเทียบกับปี 2562 |
ปริมาณการขายรวม |
792,146 คัน |
-21.4% |
รถยนต์นั่ง |
274,789 คัน |
-31.0% |
รถเพื่อการพาณิชย์ |
517,357 คัน |
-15.1% |
รถกระบะ 1 ตัน (รวมรถกระบะดัดแปลง) |
409,463 คัน |
-16.8% |
รถกระบะ 1 ตัน (ไม่รวมรถกระบะดัดแปลง) |
364,887 คัน |
-15.5% |
สำหรับแนวโน้มตลาดรถยนต์ของปี 2564 มร.โนริอากิ ยามาชิตะ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย คาดการณ์ว่า
ปีนี้จะเป็นปีที่ท้าทายอีกครั้งสำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์ของประเทศไทย เนื่องจากยังคงต้องเผชิญกับหลายปัจจัย จากสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 การพัฒนาวัคซีนและการเข้าถึงวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 รวมถึงแนวโน้มสภาวะเศรษฐกิจทั่วโลก และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจากภาครัฐ
อ่านเพิ่มเติม : ขายรถยนต์พฤศจิกายน 2563 รวม 79,177 คัน เพิ่มขึ้น 2.7%
ทั้งหมดนี้จะส่งผลต่อทิศทางอุตสาหกรรมยานยนต์ นอกจากนี้ ความเคลื่อนไหวต่าง ๆ ในภาคอุตสาหกรรมยานยนต์ เช่น การออกผลิตภัณฑ์ใหม่ กิจกรรมทางการตลาด และกิจกรรมส่งเสริมการขายต่างๆ จะมีบทบาทสำคัญต่อการกระตุ้นยอดขายรถยนต์ ดังนั้น เมื่อพิจารณาปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้แล้ว จึงคาดการณ์ว่ายอดขายรถยนต์ในปี 2564 จะอยู่ที่ประมาณ 850,000 – 900,000 คัน เพิ่มขึ้น 7-14% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา
ประมาณการยอดขายรถยนต์ในประเทศปี 2564 |
ยอดขายประมาณการปี 2564 |
เปลี่ยนแปลงเทียบกับปี 2563 |
ปริมาณการขายรวม |
850,000 – 900,000 คัน |
+ 7-14% |
รถยนต์นั่ง |
290,000 – 318,000 คัน |
+ 5-15% |
รถเพื่อการพาณิชย์ |
560,000 – 582,000 คัน |
+ 8-13% |
1. ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 104,089 คัน เพิ่มขึ้น 11.3%
อันดับที่ 1 โตโยต้า | 33,197 คัน | เพิ่มขึ้น 12.6% | ส่วนแบ่งตลาด 31.9% |
อันดับที่ 2 อีซูซุ | 22,917 คัน | เพิ่มขึ้น 45.3% | ส่วนแบ่งตลาด 22.0% |
อันดับที่ 3 ฮอนด้า | 10,075 คัน | เพิ่มขึ้น 5.6% | ส่วนแบ่งตลาด 9.7% |
2. ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 38,130 คัน เพิ่มขึ้น 3.1%
อันดับที่ 1 โตโยต้า | 8,811 คัน | ลดลง 12.6% | ส่วนแบ่งตลาด 23.1% |
อันดับที่ 2 ฮอนด้า | 8,378 คัน | เพิ่มขึ้น 22.4% | ส่วนแบ่งตลาด 22.0% |
อันดับที่ 3 มาสด้า | 3,475 คัน | ลดลง 3.1% | ส่วนแบ่งตลาด 9.1% |
3. ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 65,959 คัน เพิ่มขึ้น 16.7%
อันดับที่ 1 โตโยต้า | 24,386 คัน | เพิ่มขึ้น 25.7% | ส่วนแบ่งตลาด 37.0% |
อันดับที่ 2 อีซูซุ | 22,917 คัน | เพิ่มขึ้น 45.3% | ส่วนแบ่งตลาด 34.7% |
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ | 4,595 คัน | เท่าเดิม | ส่วนแบ่งตลาด 7.0% |
4. ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน* (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV) ปริมาณการขาย 51,516 คัน เพิ่มขึ้น 14.4%
อันดับที่ 1 โตโยต้า | 21,566 คัน | เพิ่มขึ้น 46.9% | ส่วนแบ่งตลาด 41.9% |
อันดับที่ 2 อีซูซุ | 20,123 คัน | เพิ่มขึ้น 17.5% | ส่วนแบ่งตลาด 39.1% |
อันดับที่ 3 ฟอร์ด | 4,595 คัน | เท่าเดิม | ส่วนแบ่งตลาด 8.9% |
ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน: 7,512 คัน
5. ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 44,004 คัน เพิ่มขึ้น 11.1%
อันดับที่ 1 อีซูซุ | 18,760 คัน | เพิ่มขึ้น 34.9% | ส่วนแบ่งตลาด 42.6% |
อันดับที่ 2 โตโยต้า | 17,414 คัน | เพิ่มขึ้น 16.4% | ส่วนแบ่งตลาด 39.6% |
อันดับที่ 3 ฟอร์ด | 3,739 คัน | ลดลง 3.9% | ส่วนแบ่งตลาด 8.5% |
1. ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 792,146 คัน ลดลง 21.4%
อันดับที่ 1 โตโยต้า | 244,316 คัน | ลดลง 26.5% | ส่วนแบ่งตลาด 30.8% |
อันดับที่ 2 อีซูซุ | 181,194 คัน | เพิ่มขึ้น 7.7% | ส่วนแบ่งตลาด 22.9% |
อันดับที่ 3 ฮอนด้า | 93,041 คัน | ลดลง 26.1% | ส่วนแบ่งตลาด 11.7% |
2. ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 274,789 คัน ลดลง 31.0%
อันดับที่ 1 ฮอนด้า | 77,419 คัน | ลดลง 19.5% | ส่วนแบ่งตลาด 28.2% |
อันดับที่ 2 โตโยต้า | 68,152 คัน | ลดลง 42.1% | ส่วนแบ่งตลาด 24.8% |
อันดับที่ 3 นิสสัน | 27,120 คัน | ลดลง 24.3% | ส่วนแบ่งตลาด 9.9% |
3. ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 517,357 คัน ลดลง 15.1%
อันดับที่ 1 อีซูซุ | 181,194 คัน | เพิ่มขึ้น 7.7% | ส่วนแบ่งตลาด 35.0% |
อันดับที่ 2 โตโยต้า | 176,164 คัน | ลดลง 17.9% | ส่วนแบ่งตลาด 34.1% |
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ | 35,046 คัน | ลดลง 29.0% | ส่วนแบ่งตลาด 6.8% |
4. ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน* (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV) ปริมาณการขาย 409,463 คัน ลดลง 16.8%
อันดับที่ 1 อีซูซุ | 168,467 คัน | เพิ่มขึ้น 10.0% | ส่วนแบ่งตลาด 41.1% |
อันดับที่ 2 โตโยต้า | 149,635 คัน | ลดลง 21.9% | ส่วนแบ่งตลาด 36.5% |
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ | 35,046 คัน | ลดลง 29.0% | ส่วนแบ่งตลาด 8.6% |
ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน : 44,576 คัน
5. ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 364,887 คัน ลดลง 15.5%
อันดับที่ 1 อีซูซุ | 160,328 คัน | เพิ่มขึ้น 11.6% | ส่วนแบ่งตลาด 43.9% |
อันดับที่ 2 โตโยต้า | 129,893 คัน | ลดลง 21.5% | ส่วนแบ่งตลาด 35.6% |
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ | 25,704 คัน | ลดลง 28.2% | ส่วนแบ่งตลาด 7.0% |
ตรวจเช็ก ราคารถยนต์มือสอง หาที่ถูกใจได้ง่าย มีให้เลือกเพียบ