Haval อาจเตรียมแกรนด์โอเพนนิ่งในไทยเร็ว ๆ นี้ โดยเริ่มมีกระแสว่าจะประเดิมตลาดด้วย Haval F7x หรืออาจมากกว่านั้น รวมถึงรถกระบะและรถ EV หลังการถอนตัวของ GM
อะหรือ อะหรือ อะหรือว่า เป็น Haval F7x และ F7 ประเดิมตลาด เพราะอยู่ดี ๆ ก็มีเสียงลือเสียงเล่าอ้างว่ากลุ่มทุน Great Wall Motors ที่ปิดดีลโรงงานประกอบและรถยนต์ Chevrolet ของ GM โดยกะว่าจะเอาไว้ตั้งเป็น Hub สำหรับผลิต “รถเอสยูวี” กับ “รถกระบะ” ไว้บุกตลาดอาเซียนและออสเตรเลีย จะเริ่มวางจำหน่ายในไทยด้วยรถรุ่นดังกล่าว เพราะหน่วยก้านดีหรืออย่างไร ทำไมต้องเป็นรุ่นนี้ ?
เอาจริงดิ...แม้ Haval จะตั้งเป้าไว้อย่างนั้นและเราจะยอมรับในศักยภาพของกลุ่มทุนจีน แต่ Haval คิดการณ์ใหญ่เกินไปไหมกับการคิดจะครองตลาดรถ SUV โลก เพราะมันไม่ใช่เรื่องที่ง่าย ต่อให้ตอนนี้เครือ Great Wall Motors จะเป็นผู้ผลิตรถ SUV รายใหญ่สุดของจีนก็ตาม
สำหรับ Haval ที่ลือกันหนักว่าจะเป็นแบรนด์ที่ถูกนำมาทำตลาดในไทย ปัจจุบันมีจำหน่ายเฉพาะรถ SUV ล้วน ๆ ทั้งหมด 12 รุ่น ส่วน Haval F7 จัดว่าเป็นหนึ่งใน 3 รุ่นฮอต (Haval Global ระบุไว้แบบนั้น) นอกเหนือจาก Haval H6 และ Haval H9 แต่ H9 ดันเป็นรถ SUV พื้นฐานกระบะ (บ้านเราเรียก PPV) แถมดีไซน์ยังค่อนข้างเชย จึงไม่รู้ว่าเพราะเหตุนี้หรือไม่ กระแสข่าวถึงเทไปที่รุ่น F7/F7x กับ H6 ให้เป็น Candidate
Haval F7x เป็นรถ SUV ท้ายลาดแบบ BMW X4 และ X6
Haval F7 เป็นรถ SUV ที่เน้นการใช้งานมากกว่า
>> ดูรุ่น suv fortuner เพิ่มเติม คลิกที่นี่
Haval F7
Haval F7x
จริง ๆ แล้ว Haval มี F7 ให้เลือกถึง 2 เวอร์ชั่น คือ F7 ที่มีลักษณ์เป็นรถ SUV ปกติ กับ F7x ที่เป็นรถ SUV ทรงคูเป้ คล้ายกับที่ BMW มีทั้ง X5 และ X6 ส่วนดีไซน์ภายนอกจัดว่าเข้าที เข้ายุคสมัย มิติตัวถังยาว 4,620 มม. กว้าง 1,846 มม. สูง 1,660 มม. ฐานล้อ 2,725 มม. เรียกว่าใหญ่ใกล้เคียงกับ MG HS
MG HS
ขณะที่ภายในห้องโดยสารของ Haval F7x นั้นไม่ได้หวือหวามากนัก แต่สปอร์ต ทันสมัย ด้วยการตกแต่ง อย่างสกิมสีดำ-แดง คาดคิ้วพลาสติก ซาติน โครเมียม ลายคาร์บอนเคฟลาร์ พวงมาลัยทรงปาดเรียบด้านล่าง รวมถึงจอทุกจอเป็นดิจิทัลตามยุค
ทางด้านขุมพลัง (ในจีน) Haval F7x มีเครื่องยนต์เบนซิน 2 ขนาดให้เลือกใช้งาน ได้แก่
Haval H6 โฉมไมเนอร์เชนจ์
อาจไม่น่าสนใจเท่า F7x หรือ F7 ด้วยดีไซน์ที่เรียบง่ายกว่า แถมมิติตัวถังยังใกล้เคียงกัน คือยาว 4,610 มม. กว้าง 1,860 มม. สูง 1,720 มม. และฐานล้อ 2,690 มม. ซึ่งจัดเป็นรถ SUV ขนาดคอมแพกต์ กลุ่มเดียวกับ MG ZS และ Honda CR-V
ส่วนขุมพลัง Haval H6 มีเครื่องยนต์เบนซินให้เลือก 2 ขนาด ได้แก่
ORA R2 รถยนต์ไฟฟ้าในเครือ GWM
นอกเหนือจาก Haval แล้วจักรวาล GWM ยังมีแบรนด์อื่น ๆ ให้เลือกหยิบจับด้วย ได้แก่ WEY (เน้นเฉพาะรถ SUV พรีเมียม) กับ Great Wall ที่จับตลาดรถกระบะ และ ORA แบรนด์รถยนต์ไฟฟ้าล้วน
แบรนด์ WEY เน้นเจาะตลาด SUV พรีเมียมในจีน
แบรนด์ Great Wall เน้นตลาดรถกระบะ
ซึ่ง GWM ยืนยันอย่างเป็นทางการตั้งแต่แรกแล้วว่าจะใช้ไทย (โรงงาน GM เดิม ที่จังหวัดระยอง) เป็น Hub ในการผลิตรถ SUV และรถกระบะ สำหรับตลาดอาเซียนอยู่แล้ว ดังนั้น จึงไม่แปลกหาก Haval และ Great Wall จะทำตลาดในไทย โดยอาจมีการเริ่มโชว์ตัวปลายปีนี้หรืออย่างช้าภายในปีหน้า
ORA R2
ORA R1
ORA ES11
อย่างไรก็ตาม มีแนวโน้มว่า GWM จะรุกตลาดรถยนต์ไฟฟ้าด้วยแบรนด์ ORA เช่นกัน เพราะล่าสุดทีมผู้บริหาร GWM ได้เข้าพบกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เพื่อนำเสนอแผนการลงทุนยานยนต์ไฟฟ้าในไทยเรียบร้อยแล้ว
เรียกว่าเป็นอะไรที่น่าติดตามมากสำหรับการมาของ Great Wall Motors หรือหากจะมองภาพที่ใหญ่กว่านั้นคือการบุกตลาดของรถจีนในไทย นำโดย MG ซึ่งเป็นรถจีนรายแรก ๆ ที่สร้างปรากฏการณ์ใหม่ได้อย่างคาดไม่ถึง แม้ปัจจุบันรถจีนคงยังไม่ถึงขั้นจะเป็นผู้นำตลาดแทนญี่ปุ่นได้ในระยะเวลาอันรวดเร็ว แต่เชื่อว่าโมเดลการรุกตลาดของ MG อาจทำให้ใครต่อใครต้องมองรถจีนใหม่อีกรอบ
เพราะบางครั้งคนรุ่นใหม่ก็ไม่ได้อินกับแบรนด์เก่า (ด้วยคุณสมบัติเด่นเดิม) เท่ากับคนรุ่นก่อน อาจเหมือนปัจจุบันที่แบรนด์ Nokia, Motorola มือถือเคยดังแต่คนรุ่นใหม่นั้นไม่ได้อิน หรือแม้กระทั่ง iPhone อาจไม่ได้มียอดขายเหนือกว่า Huawei ซึ่งเป็นสมาร์ตโฟนแบรนด์จีนในยุคใหม่ที่พัฒนาแล้ว เหตุการณ์เดียวกันนี้อาจเกิดขึ้นกับวงการยานยนต์ไทยเมื่อไรก็ได้...ไม่มีใครรู้ หรือกว่าจะรู้ (เพราะมั่นใจเกินไปว่าอีกฝ่ายด้อยคุณภาพ แต่พัฒนาไว) ก็สายเกินไปแล้ว
อ่าน Mitsubishi Pajero Sport GT-Plus 2020 รุ่นย่อยใหม่ ราคา 1.349 ล้านบาท
ติดตาม ข่าวรถยนต์ใหม่ ได้ที่นี่
ติดตาม รีวิวรถยนต์ใหม่ ได้ที่นี่
ติดตาม ราคารถยนต์ใหม่ ได้ที่นี่