ตัวเลขสะท้อนพฤติกรรม วันที่ไทยเป็นที่ 1 โลก มีอัตราการตายบนถนนมากที่สุด

ตลาดรถยนต์ในประเทศ | 19 ธ.ค 2560
แชร์ 7

ไม่ใช่เรื่องที่น่ายินดีสักเท่าไรกับความพัฒนาอันถดถอย งบประมาณหลายสิบล้านไม่ได้ช่วยทำให้อัตราการตายของผู้ใช้รถบนถนนเมืองไทยน้อยลงเป็นชิ้นเป็นอัน และล่าสุดจากการจัดอันดับประเทศไทยได้ก้าวขึ้นเป็นที่หนึ่งในปี 2017 นี้อย่างน่าอับอาย สะท้อนความล้มเหลวอย่างสิ้นเชิงของการจัดการ และภายใต้นัยเหตุผลมากมายที่คนไทยต่างรู้แต่เมินเฉยต่อการปฎิบัติเพื่อเลี่ยงการเกิดอุบัติเหตุ

ปัจจัยเหตุของการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนทั่วโลกกับตัวเลขกว่าสามพันคนในแต่ละวัน เมาแล้วขับคือต้นเรื่องสำคัญที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ถึงร้อยละ 22 จากอุบัติเหตุทางรถยนต์บนทางหลวงทั่วโลก และมีเยาวชนกลุ่มอายุตั้งแต่ 5-24 ปี อยู่ในกลุ่มผู้มีความเสี่ยงสูงจากการเสียชีวิตบนถนน

 

จากการสำรวจยังพบว่ากลุ่มประเทศผู้มีรายได้น้อยถึงปานกลาง พวกเขามีส่วนกว่า 90% ของอัตราการตายบนท้องถนน ไม่ว่าจะเรื่องเส้นทางการเดินทาง การขาดทรัพยากรเพื่อบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งขัด ความรวมเร็วในการเข้าช่วยเหลือจากทางแพทย์ ในทางกลับกันในประเทศที่มีอัตราการตายท้องถนนต่ำจะเป็นประเทศที่ประชากรมีรายได้สูง ปัจจัยต่างๆ ข้างต้นที่กล่าวมาเพียบพร้อม รวมไปถึงมาตรฐานการบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวด ในประเทศที่มีรายได้ต่ำหรือปานกลางยังมีเรื่องคุณภาพยานพาหนะขนส่งมวลชนเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของการเกิดอุบัติเหตุ และเสียชีวิตบนท้องถนน ยกตัวอย่างในประเทศไนจีเรียและเคนยาเป็นที่รู้กันของผู้ใช้รถจะบรรทุกของจนเกินขีดจำกัดของกฎหมายบังคับ เป็นเรื่องธรรมดาใครๆ เขาก็ทำกัน

 

จาก 5 อันดับแรกของประเทศที่มีอัตราการตายบนท้องถนนต่อผู้คน 100,000 คน มีดังต่อไปนี้

1.Thailand 36.2

2.Malawi 35.0

3.Liberia 33.7

4.Democratic Republic of the Congo 33.2

5.United Republic of Tanzania 32.9

 

จากอันดับ 2 ถึง 5 คือประเทศอะไร? ทำให้รู้สึกว่าคนประเทศเราไรจิตสำนึกในการใช้ถนนมากกว่าพวกเขาเหล่านั้นอีกหรือ เป็นคำถามที่น่าสนใจ ที่ขัดกับนโยบายประเทศไทย 4.0 ภาครัฐฯหวังจะให้ประเทศก้าวหน้าแต่กลับล้มเหลวไม่เป็นท่ากับอัตราการตายบนถนน

 

รายชื่อประเทศที่มีอัตราการตายส๔งที่สุด 20 อันดับของปี 2017

รายชื่อประเทศที่มีอัตราการตายส๔งที่สุด 20 อันดับของปี 2017

 

ในประเทศไทยเมื่อปี 2016 มีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนถนนราว 22,000 รายตกเฉลี่ยวันละ 50 - 60 รายจนกลายเป็นผู้พิการกว่า 6 หมื่นคนต่อปี จนล่าสุดจากการสำรวจปี 2017 เผยว่าประเทศไทยมีอัตราการตายบนท้องถนนเป็นอันดับ 1 ของโลกจากเดิมอยู่ที่อันดับ 2 จากการจัดอันดับของ worldatlas ด้วยอัตราเฉลี่ยนการเสียชีวิต 36.2 คนจากผู้คน 100,000 คน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นยังไม่ได้เป็นการจัดอันดับอย่างเป็นทางการขององค์การอนามัยโลก

 

เมื่อตัวเลขสามารถบอกอะไรได้บ้าง ตั้งแต่วงแคบซึ่งสะท้อนเกี่ยวกับพฤติกรรมอันไร้ซึ่งการพัฒนาของผู้ใช้รถ จิตสำนึกต่อการรับผิดชอบความปลอดภัยต่อตัวเองและเพื่อนร่วมเส้นทาง ความมักง่ายเห็นแก่ตัวจนนำไปสู่ความสูญเสียมากมาย ยกตัวอย่างให้เห็นง่ายๆ ภาพจากกล้องหน้ารถ เกิดอุบัติเหตุเพราะรถอีกคันที่อยู่เลนซ้ายสุดจะตัดเข้าขวาจนรถอีกคันเบรกไม่ทัน ไม่คิดว่าจะมีรถโผล่มา สุดท้ายชนกันเข้าอย่างจัง

 

 

ในวงกว้างสะท้อนให้เห็นถึงความล้มเหลวไม่มีชิ้นดีของการจัดการจากภาครัฐฯ อันไร้ประสิทธิภาพ บุคลากรผู้บังคับใช้กฎหมายขาดวิจารณญาณ ผลต่อเนื่องไปกับเรื่องการจับกุมที่ไม่ชัดเจน เกิดการต่อต้านจากประชาชนจนไม่เป็นที่เคารพนับถือทั้งกฎหมายและผู้บังคับใช้ กลายเป็นปัญหายาวนานกว่า 20 ปีแล้วที่แก้ไม่หายคล้ายกับปัญหารถติด สูญสิ้นงบประมาณมหาศาลแลกไปกับจำนวนผู้เสียชีวิตที่ลดลงเพียงเล็กน้อย แต่ไม่ยั่งยืน ไม่ว่าจะเทศกาลการเดินทางหยุดยาวไหนๆ 7 วัน, 10 วัน, 15 วันอันตรายแต่อัตราการตายก็ยังคงมีสูงอยู่

 

อย่าบอกว่าเริ่มที่ตัวบุคคล เริ่มที่ตัวคุณเพียงแค่นั้น เมื่อการบังคับใช้กฎหมายจราจร ไม่สามารถทำให้คน “เกรง” ที่จะละเมิดกฎจราจรได้ บทลงโทษที่ไม่เด็ดขาดและขาดความต่อเนื่อง มีกระแสทีก็บังคับใช้ทีจึงทำให้ปัญหาเกิดวนเป็นวงจรอุบาทว์ ถ้าทางการผลักความผิดชอบมาแค่ที่ผู้ใช้รถก็ดูเหมือนจะไม่แฟร์เท่าไร เมื่อตนเองเป็นผู้ถือกฎหมายอยู่ในมือแต่จัดการไม่ได้

 

ยิ่งช่วยเทศกาลหยุดยาว อัตราการตายยิ่งเพิ่มสูงสำหรับประเทศไทย

ยิ่งช่วยเทศกาลหยุดยาว อัตราการตายยิ่งเพิ่มสูงสำหรับประเทศไทย

 

ก็คงต้องรอการปฎิวัติกฎจราจรครั้งใหญ่ ครั้งสำคัญก่อนเท่านั้นถึงจะหวังให้ตัวเลขผู้เสียชีวิต ตกอันดับให้อายชาติอื่น เมืองอื่นเขาน้อยลง ถ้าทางการไม่มีปัญญาทำอะไรให้ดีขึ้นอย่างน้อยก็เริ่มที่ตัวคุณก่อน ปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ ให้เข้ากับพฤติกรรมของผู้ใช้รถท่านอื่นก่อน ค่อยๆ เริ่มจากตัวคุณแม้ตัวเลขการตายจากอุบัติเหตุจะลดลงได้ไม่มาก อย่างน้อยความสูญเสียก็ไม่เกิดกับตัวคุณและคนที่คุณรักก็น่าจะเพียงพอ

ดูเพิ่มเติม

>> เทคนิคทำประกันชั้น 1 แต่จ่ายเบี้ยประกันถูกลงกว่าครึ่ง!!
>> ขอคืนทุนประกัน (ขายซาก) อะไรบ้างที่คุณต้องรู้