ตลาดรถเมืองไทยทรุดหนัก ส.อ.ท. ถ้า COVID-19 ไม่หาย ตลาดรถยนต์มีเจ็บแน่นอน

ตลาดรถยนต์ในประเทศ | 24 เม.ย 2563
แชร์ 0

ถ้าหากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 ในตอนนี้ยังไม่หายภายในเดือนกันยายน 2563 นี้ ส.อ.ท. คาดไว้ว่าต้องมีตลาดรถยนต์ต้องเดือดร้อนในเรื่องเศรษฐกิจ

>> ทิศทางตลาดรถยนต์ในไทยหลังโควิด-19
>> คนแจ้งรับ คนโดนจับเสีย ขนส่งฯ เตือนรถดัดแปลงไฟหน้า-ไฟท้าย ผิดกฎหมายปรับแน่
 

อุตสาหกรรมยานยนต์ประเทศไทยวิกฤตหนัก
อุตสาหกรรมยานยนต์ประเทศไทยวิกฤตหนัก

ปัญหาพิษเศรษฐกิจที่มีผลกระทบมาจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 ถือว่ามีความรุนแรงกับตลาดรถในเมืองไทยเป็นอย่างมาก พร้อมก่อนหน้านี้ สุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ รองประธานและโฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ได้แถลงว่า จากสถานการณ์ในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ ซึ่งในเดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนมีนาคมนี้ทั่วโลกได้รับผลกระทบจากการไวรัสโควิด-19 ที่แพร่ระบาด ทำให้ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมยานยนต์ไทย ทำให้ยอดผลิต ยอดขายและยอดส่งออก ลดลงทั้งระบบ จึงประเมินว่า หากสถานการณ์ยังเป็นแบบนี้จนถึงเดือนกันยายน 2563 คาดว่าจะกระทบการจ้างงานคนในอุตสาหกรรมยานยนต์แน่นอน

 ยอดผลิตและจำหน่ายตกจากปีที่แล้วเกือบ 50%
ยอดผลิตและจำหน่ายตกจากปีที่แล้วเกือบ 50%

“เราได้ประเมินว่าจะต้องปรับลดเป้าลงอีกจากเดิมที่คาดการณ์ว่าปีนี้จะมียอดผลิตประมาณ 2 ล้านคัน เพื่อการส่งออก 1 ล้านคัน และขายในประเทศ 1 ล้านคัน แต่มาถึงตอนนี้คาดว่าหากโควิด-19 ยืดเยื้อถึงเดือนมิถุนายน จะปรับลดเป้าผลิตลดลง 30% หรือเหลือ 1.4 ล้านคัน และหากปัญหายังต่อเนื่องถึงเดือนกันยายนจะปรับลดเป้าผลิตลง 50% หรือเหลือ 1 ล้านคัน ซึ่งเมื่อถึงเวลานั้นอาจกระทบต่อการเลิกจ้างคนในอุตาหกรรมยานยนต์ที่มีจำนวนมากกว่า 7.5 แสนคน พูดได้ว่า สถานการณ์โควิด-19 ครั้งนี้หนักกว่าสถานการณ์ต้มยำกุ้งปี 2540 เพราะครั้งนี้กระทบทั่วโลก”

ส.อ.ท. เร่งแก้ไข หาทางออกจากวิกฤต

ส.อ.ท. เร่งแก้ไข หาทางออกจากวิกฤต

นอกจากนี้มีวิธีแก้ปัญหาด้วยการเพิ่มยอดขายให้มากขึ้นเพื่อขับเคลื่อนวิกฤตในช่วงนี้ ซึ่ง ศุภรัตน์  ศิริสุวรรณางกูร รองประธาน ส.อ.ท. ได้เผยว่า “ขณะนี้ลูกค้ายังไม่มีอารมณ์ซื้อรถ ในส่วนของการจ้างงานก็พยายามเลี้ยงคนไว้ แต่อาจมีการปรับลดเงินเดือนบ้าง คาดว่าเดือนมิถุนายน อุตสาหกรรมยานยนต์จะเริ่มกลับมา แต่จะต้องมีการกระตุ้นตลาดเพื่อให้กำลังซื้อฟื้นคืนมา และระบบเศรษฐกิจดำเนินต่อไปได้ อยู่ระหว่างหารือว่าจะทำอย่างไรต่อไป” 

สุรพงษ์ กล่าวว่า ทางรัฐบาลควรจะต้องเข้าช่วยในเรื่องของการ กระตุ้นให้ผู้บริโภคกลับมาซื้อในส่วนของรถยนต์ และ จักรยานยนต์ อาจจะต้องมีการลดภาษี หรือ จัดแคมเปญ เพื่อดึงดูดผู้ซื้อนั่นเอง

ยอดขายและผลิตรถยนต์ และจักรยานยนต์ ในเดือนมีนาคม 2563

ประเภท

มีนาคม 2562

ลดลงจากปีก่อน (%)

ยอดผลิตรถยนต์

194,563 คัน

26.16%

ยอดขายรถยนต์

60,105 คัน

41.74%

ยอดส่งออกรถยนต์

89,795 คัน

23.71%

ยอดขายรถกระบะ

27,215 คัน

39.49%

ยอดผลิตจักรยานยนต์

146,812 คัน

18.47% 

 

สรุป

ถ้าหากดูจากตารางแล้วจะเห็นว่ายอดขายรถยนต์นั้นตกถึง 41.74% เรียกได้ว่าเกือบครึ่งเลยทีเดียว ในเมื่อรถนั้นขายไม่ได้ ก็ต้องส่งผลกระทบแบบโดมิโน่ ตั้งแต่ พนักงาน Supplier ดิลเลอร์ ต่างต้องเจ็บตัวไปตาม ๆ กัน และมีอีกหนึ่งส่วนนั้นก็คือ ยอดขายของรถกระบะที่จะบ่งบอกถึงสภาพเศรษฐกิจหลักของไทยได้ เช่นกัน เพราะยอดจำหน่ายเมื่อเทียบกันในเดือนมีนาคมของปีที่แล้ว ตกลงเกือบ 40%

ติดตาม ข่าวรถยนต์ใหม่ ได้ที่นี่
ติดตามเรื่อง รีวิวรถยนต์ใหม่ ได้ที่นี่
ติดตามเรื่อง ราคารถยนต์ใหม่ๆ ได้ที่นี่