การทางพิเศษฯ เตรียม “ขึ้นค่าทางด่วน” ปลายปีหน้า !

ตลาดรถยนต์ในประเทศ | 12 ก.ย 2560
แชร์ 4

กระเป๋าฉีกกันถ้วนหน้า เมื่อการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ออกมาเปิดเผย ถึงการเตรียมปรับขึ้นราคาค่าผ่านทางด่วน ซึ่งจะทำการปรับเพิ่มขึ้นอีก 5 บาท ในช่วงปลายปี 2561 ที่จะถึงนี้ หลังต้องแบกรับภาษีมูลค่าเพิ่มของผู้ใช้บริการ ประมาณ 1 พันล้านบาท/ปี

“ขึ้นค่าทางด่วน” ปลายปีหน้า
“ขึ้นค่าทางด่วน” ปลายปีหน้า

คุณสุทธิศักดิ์ วรรณวินิจ รองผู้ว่าการฝ่ายกฎหมายและกรรมสิทธิ์ที่ดิน การทางพิเศษแห่งประเทศไทย ในฐานะรักษาการผู้ว่า กทพ.ได้ออกมาเปิดเผยถึงการเตรียมปรับ ขึ้นค่าทางด่วน ของการทางพิเศษฯ ซึ่งเป็นไปตามสัญญาของการทางพิเศษฯ ที่จะต้องมีการปรับราคาทุกๆ 5 ปี โดยอ้างอิงจากอัตราเพิ่มของดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI)

โดยเส้นทางที่จะทำการปรับ มี 2 เส้นทางด้วยกัน ได้แก่ ทางพิเศษอุดรรัถยา สายบางปะอิน-ปากเกร็ด และ ทางพิเศษศรีรัช (ทางด่วนขั้นที่ 2 )

อัตราราคาใหม่ของทางด่วน มีดังนี้

  • ทางด่วนอุดรรัถยา สายบางปะอิน-ปากเกร็ด ปรับขึ้นช่วงละ 5 บาท
  • ช่วงแจ้งวัฒนะ-เชียงราก รถ 4 ล้อ 45 บาท , รถ 6-10 ล้อ 100 บาท , มากกว่า 10 ล้อ 150 บาท
  • ช่วงเชียงราก-บางไทร    รถ 4 ล้อ 10 บาท , รถ 6-10 ล้อ 20 บาท , มากกว่า 10 ล้อ 30 บาท

>> ดูเพิ่มเติม: รีบไปต่อด่วน!! กรมขนส่งประกาศ!! ประกันต้องจ่าย “พรบ. ต่อทุกปี” ได้เงิน 3 แสน แบบไม่ต้องขึ้นศาล!!

“ขึ้นค่าทางด่วน” ปลายปีหน้า
เตรียมปรับราคาใหม่ค่าทางด่วน ปลายปีหน้า

ส่วนอัตราราคาใหม่ของทางพิเศษศรีรัช (ทางด่วนขั้นที่ 2) ปรับขึ้นช่วงละ 5 บาท จากอัตราผ่านทางในปัจจุบัน คือ

  • ด่านประชาชื่น 1 และ 2
  • รถ 4 ล้อ 15 บาท , 6-10 ล้อ 20 บาท , มากกว่า 10 ล้อ 35 บาท

 

  • ด่านประชาชื่น (ขาเข้า)
  • รถ 4 ล้อ 60 บาท , 6-10 ล้อ 90 บาท , มากกว่า 10 ล้อ 140 บาท

 

  • ด่านประชาชื่น (ขาออก)
  • รถ 4 ล้อ 10 บาท , 6-10 ล้อ 15 บาท , มากกว่า 10 ล้อ 30 บาท

อย่างไรก็ตาม ทางพิเศษศรีรัช-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพฯ ที่เปิดให้บริการไปเมื่อ เดือนสิงหาคม 2559 ที่ผ่านมา มีผู้ใช้บริการเพิ่มมากขึ้น เกือบ 60,000 คัน/วัน สำหรับการก่อสร้างทางเชื่อมจากทางพิเศษสายศรีรัช-วงแหวนรอบนอกฯ ไปยังทางพิเศษศรีรัชด้านทิศเหนือ (มุ่งไปทางแจ้งวัฒนะ) ระยะทาง 360 เมตร ที่เพิ่งตอกเสาเข็มไป มีกำหนดระยะเวลาก่อสร้างตามสัญญา คือ 18 เดือน แต่ส่วนตัวอยากให้เสร็จภายใน 9 เดือน เพราะประชาชนจะได้รับประโยชน์มากขึ้น และไม่มีการเก็บค่าผ่านทางบริเวณทางเชื่อม
 

>> ดูเพิ่มเติม:

[Infographic] “เซฟไว้เลย!!” รวมเบอร์โทรฉุกเฉินเมื่อมีเหตุบนท้องถนน

การใช้รถ 7 ข้อ ที่คนขับ “รู้ว่าผิด” แต่ก็ทำจนเคยชิน

ต้องรู้!! แถบสีขอบฟุตบาท สีไหนจอดได้ สีไหนห้ามจอด