ซึ่งเป็นการชาร์จแบบ DC หรือ Fast Charge แต่วันธรรมดายังคงเปิดให้บริการตั้งแต่ 22.00-08.00 น.
กระแสยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยกำลังเริ่มขยับครั้งใหญ่ในปี 2564 ด้วยรถยนต์พลังงานไฟฟ้า 100% หรือ BEV เริ่มมีจัดจำหน่ายในไทย ด้วยราคาที่สามารถจับต้องได้คือต่ำกว่าล้านบาทอย่าง MG EP หรือก่อนหน้านี้ก็มี MG ZS EV ที่ราคาอยู่เพียงล้านต้น ๆ
แต่ไม่ใช่แค่นั้น รถยนต์ในกลุ่ม Plug-in Hybrid ที่สามารถชาร์จไฟได้ก็เริ่มลงมาสู้ระดับ Mass มากขึ้นอย่าง Mitsubishi Outlander และ MG HS PHEV และนี่ยังไม่นับน้องใหม่อย่าง Great Wall Motor ที่จะเริ่มทำตลาด้วยรถยนต์ PHEV และ BEV เช่นกัน
ส่วนของระบบโครงสร้างพื้นฐานสำคัญคือจุดชาร์จไฟแบบ DC ที่สามารถทำให้แบตเตอรี่รถยนต์ที่รองรับจะให้เวลาราว ๆ 30-50 นาที ให้แบตกลับมาได้ 80% ปัจจุบันเป็นการร่วมมือของภาคเอกชนที่เป็นหัวเรือใหญ่อย่าง EA ANYWHERE และ DELTA ในภาคของแบรนด์ก็มีทั้ง BMW, MG, Mercedes-Benz
EA ANYWHERE ประกาศพร้อม ให้บริการเครื่องอัดประจุไฟฟ้าระบบ DC (Fast Charge) 150 kW
EA ANYWHERE ได้ประกาศเปิดสถานีชาร์จ DC (Fast Charge) หรือแบบชาร์จเร็วเพิ่มอีก 35 สถานี
ปัจจุบัน EA ANYWHERE ให้บริการแล้ว กว่า 99 สถานี ทั้งในเขตพื้นที่กรุงเทพฯ ปริมลฑล โซนภาคอีสานรวมถึงจังหวัดใกล้เคียง และจะทยอยเปิดให้บริการครอบคลุมทุกพื้นที่ทั่วประเทศไทยภายในสิ้นปีนี้
คำนวนค่าไฟฟ้า รถไฟฟ้าเต็มถังเสียกันเท่าไหร่
MG ZS EV - ความจุแบตเตอรี่ 44.5 kW = 290 บาท
MG EP - ความจุแบตเตอรี่ 50.3 kW = 327 บาท
MG HS PHEV - ความจุแบตเตอรี่ 16.6 kW = 108 บาท
MG Outlander PHEV - ความจุแบตเตอรี่ 13.8 kW = 90 บาท
Nissan Leaf - ความจุแบตเตอรี่ 40 kW = 260 บาท
ซึ่งด้วยตู้ DC สามารถจ่ายไฟได้ถึง 140 kW แต่จะชาร์จได้เร็วหรือช้านั้นบอร์ดควบคุมการรับไฟฟ้า ทำให้ระยะเวลานั้นขึ้นตามสเป็กของรถยนต์ด้วย
ตรวจเช็ก ราคารถยนต์มือสอง หาที่ถูกใจได้ง่าย มีให้เลือกเพียบ