BMW ประกาศความเชื่อมั่นในประเทศไทย ทุ่มงบประมาณ 600 ล้านบาทเปิดไลน์ผลิตเครื่องยนต์ 4 สูบปลายปีหน้า พร้อมอ้อนรัฐบาลลดภาษีนำเข้ารถไฟฟ้า หวังกระตุ้นตลาดรถยนต์ประหยัดพลังงานและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเดินหน้าสร้างความสัมพันธ์ในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง สำหรับ BMW AG ที่ส่ง BMW i3 เข้ามาแสดงตัวในประเทศไทย พร้อมกับการประกาศเดินหน้าแผนการลงทุนใหม่อย่างมั่นใจต่อสถานการณ์ในประเทศไทย
BMW ประกาศความเชื่อมั่นในประเทศไทย ทุ่มงบประมาณ 600 ล้านบาทเปิดไลน์ผลิตเครื่องยนต์ 4 สูบปลายปีหน้า พร้อมอ้อนรัฐบาลลดภาษีนำเข้ารถไฟฟ้า หวังกระตุ้นตลาดรถยนต์ประหยัดพลังงานและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเดินหน้าสร้างความสัมพันธ์ในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง สำหรับ BMW AG ที่ส่ง BMW i3 เข้ามาแสดงตัวในประเทศไทย พร้อมกับการประกาศเดินหน้าแผนการลงทุนใหม่อย่างมั่นใจต่อสถานการณ์ในประเทศไทย
คลอส เดรกเกอร์ คณะกรรมการบริหาร บีเอ็มดับเบิลยู เอจี และแมทธิอัส พฟาลซ์ ประธาน บีเอ็มดับเบิลยู ประเทศไทย ร่วมแถลงแผนการลงทุนมูลค่า 600 ล้านบาท เพื่อเปิดสายการผลิตเครื่องยนต์ที่จังหวัดระยอง โดยจะเริ่มต้นผลิตเครื่องยนต์ดีเซล 4 สูบในเดือนธันวาคม 2558 และผลิตเครื่องยนต์เบนซินในปี 2559 สำหรับรถยนต์ที่จำหน่ายในประเทศไทย
“เครื่องยนต์ที่ผลิตที่โรงงานแห่งนี้จะรองรับการผลิตรถยนต์บีเอ็มดับเบิลยูและมินิในประเทศไทย ซึ่งจำนวนการผลิตจะสอดคล้องกับยอดผลิตรถยนต์ในประเทศ ซึ่งเราเชื่อมั่นในประเทศไทยเป็นอย่างมากสำหรับการลงทุนในครั้งนี้ และมีแผนงานที่จะพัฒนามากมายเกี่ยวกับโครงการต่าง ๆ ในอนาคต”
โรงงานผลิตเครื่องยนต์แห่งนี้จะเป็นโรงงานผลิตเครื่องยนต์แห่งแรกของบีเอ็มดับเบิลยูในภูมิภาคอาเซียน โดยบีเอ็มดับเบิลยูจะร่วมมือกับพันธมิตรอย่างพาวเวอร์เทค เอนจิ้น แอสเซมบลี (Powertech Engine Assembly) เพื่อเดินหน้าแผนการดังกล่าวนอกจากนี้ ผู้บริหารของบีเอ็มดับเบิลยูได้เข้าพบ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเพื่อเข้าหารือเกี่ยวกับภาพรวมของธุรกิจ และได้นำรถยนต์ไอ3 ซึ่งเป็นรถยนต์ไฟฟ้ารุ่นใหม่ล่าสุดมาแสดงในประเทศไทยเป็นครั้งแรก
BMW i3
ทั้งนี้ ผู้บริหารของบีเอ็มดับเบิลยูระบุว่าได้มีการเจรจาในเรื่องของวางมาตรฐานของอุตสาหกรรมยานยนต์ เช่นในเรื่องของมลพิษที่ต้องการให้ใช้มาตรฐานเดียวกันกับสากล เพื่อให้ง่ายต่อการพัฒนารถยนต์ให้เข้ากับตลาดต่าง ๆ
ในส่วนของการนำรถยนต์ไอ3 เข้ามาแสดงนั้น ไม่คาดหวังว่าจะจำหน่ายในประเทศไทยในระยะเวลาอันสั้น เนื่องจากประเทศไทยไม่มีความพร้อมในเรื่องของสถานีชาร์ตความเร็วสูง ซึ่งบีเอ็มดับเบิลยูได้ร่วมมือกับพันธมิตรในประเทศในการเดินหน้าศึกษาเรื่องดังกล่าวอยู่
BMW i8
นอกจากนี้ ยังติดในเรื่องปัญหาภาษีนำเข้าที่สูงถึง 80% สำหรับการนำเข้าสำเร็จรูป แม้จะเป็นรถไฟฟ้าก็ตาม ซึ่งหากรัฐบาลต้องการสนับสนุนให้เกิดการใช้งานรถยนต์ที่ประหยัดและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมก็ควรที่จะพิจารณาในเรื่องนี้เหมือนมาเลเซียหรือสิงคโปร์