“Aerodynamic” หรือ ที่บ้านเราเรียกกันว่า “หลักอากาศพลศาสตร์” คำที่ได้ยินบ่อย แต่รู้หรือไม่ว่าหมายถึงอะไร Chobrod.com จะพาไปหาคำตอบ
Aerodynamic (หลักอากาศพลศาสตร์)
Aerodynamic คือหลักการทางวิศวกรรม เป็นเรื่องราวของหลักอากาศพลศาสตร์ เพิ่งถูกนำมาประยุกต์ใช้กับรถยนต์เมื่อช่วง 10 ปีก่อนหน้านี้เพื่อตอบสนองความคล่องแคล่วในการขับขี่ พร้อมเพิ่มสมรรถนะและประสิทธิภาพในการขับขี่ไปพร้อมกัน รวมทั้ง Aerodynamic ยังมีผลช่วยให้ประหยัดน้ำมันมากขึ้นกว่าเดิมอีกด้วย
ในอดีต Aerodynamic ถูกใช้กับเครื่องบินมากกว่ารถยนต์
หลักอากาศพลศาสตร์ เป็นเรื่องที่ว่าด้วยการไหลเวียนของของเหลวและก๊าซในอากาศ ที่สามารถแปลเปลี่ยนทิศทางได้เมื่อกระทบกับวัตถุ ซึ่งการออกแบบตามหลักอากาศพลศาสตร์นี้ ในช่วงแรกถูกใช้กับอากาศยานหรือเครื่องบินมากกว่ารถยนต์ จนปี 1920 จึงเริ่มให้ความสำคัญ ในการใช้ Aerodynamic กับรถยนต์ เพื่อลดการฉุดลากที่สร้างแรงเสียดทานในขณะที่ขับขี่ด้วยความเร็วสูงและสร้างความเงียบในห้องโดยสารมากขึ้น
>> ดูเพิ่มเติม:Toyota จดสิทธิบัตรเสา A กึ่งโปร่งแสง นวัตกรรมความปลอดภัยลบจุดบอดของเสา A
Aerodynamic ช่วยลดเสียงรบกวนในห้องโดยสารเมื่อขับด้วยความเร็ว
หลังจากสามารถพิสูจน์ได้แล้วว่า รถที่มีหลักอากาศพลศาสตร์นั้น ช่วยลดเสียงรบกวนในห้องโดยสารมากกว่าเมื่อขับด้วยความเร็ว ส่งผลให้ปัจจุบันหลักอากาศพลศาสตร์ เป็นปัจจัยหลักอย่างหนึ่งในการออกแบบและวิศวกรรมรถสักคัน โดยจุดประสงค์ของการออกแบบ นอกจากหลักการแรงลมแล้วนั้น ยังออกแบบเพื่อทำให้รถมีค่าเสียดทานทางอากาศในระหว่างการขับขี่ด้วยความเร็วต่ำลดลง ซึ่งหากรถคันไหนมีค่าตัวเลข ยิ่งน้อยก็ยิ่งส่งผลดีต่อการขับขี่ด้วยความเร็ว
Aerodynamic ช่วยลดค่าเสียดทานทางอากาศในระหว่างการขับขี่ด้วยความเร็ว
หลักอากาศพลศาสตร์ในปัจจุบัน ยังมีบทบาทมากขึ้นในการเก็บเสียงภายในห้องโดยสาร เพื่อลดจุดปะทะจากแรงลม ทำให้การเก็บเสียงดีขึ้น และลดเสียงอู้ของลมในขณะขับขี่อีกด้วย
Aerodynamic ลดเสียงอู้ของลมในขณะขับขี่
นอกจากนั้นยังมีเทคนิคใหม่ ที่เริ่มเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในรถ คือ Dow force หรือ การใช้แรงกดจากลมช่วยในการยึดเกาะถนน เช่น การออกแบบรถยนต์หลายๆรุ่น ที่ส่วนใหญ่จะติดชุดแต่งหรือที่เรียกกันว่า Body Kit มาให้จากโรงงาน ซึ่งชุดแต่งเหล่านี้ มีส่วนช่วยในการรีดอากาศให้มีความลงตัวมากยิ่งขึ้น รวมถึงสปอยเลอร์ท้าย ที่ดูเหมือนไม่ช่วยอะไร เพียงแค่ความสวยงามเฉยๆ แต่แท้จริงแล้ว นี่คือ ผลพวงจากการออกแบบตามหลักอากาศพลศาสตร์ ในแง่ของการสร้างแรงกดสำหรับการขับขี่ด้วยความเร็วสูง ช่วยให้รถไม่แกว่งนั่นเอง
สปอยเลอร์ท้าย ผลพวงจากการออกแบบตามหลักอากาศพลศาสตร์ ช่วยให้รถไม่แกว่ง
>> ดูเพิ่มเติม:
สุดยอด!! ประสิทธิภาพแอโร่ไดนามิคของ Honda NSX ผ่านงานศิลปะม่านควันและสาดสี
Mercedes-AMG C63 Coupe Prior Design ตัวแรง พร้อมแอโร่ไดนามิกส์ที่ดีกว่าเดิม
Lexus LC ชุดแต่ง TRD แอโร่ไดนามิคส์ดีกว่าเดิม ล้อฟอร์จเบาไปอีก