ยอดขายพาหนะมวลเบาในอาเซียนคาดว่าจะเติบโตอย่างมากปีนี้ นำโดยภาพรวมที่ดีขึ้นในไทย แต่มีศักยภาพเด่นขึ้นในตลาดสำคัญที่อื่น จากการอ้างอิงของบริษัททำวิจัย LMC Automotive
บรรยากาศงาน Bangkok Motorshow 2018
LMC รายงานยอดขายทั่วทั้งภูมิภาคว่าเติบโตขึ้น 3% ที่ 829,307 คันในไตรมาสแรก นับเฉพาะรถยนต์นั่งโดยสารและพาหนะเชิงพาณิชย์เบา รวมกับผลที่คละกันไปตลอดทั้ง 5 ประเทศในภูมิภาค ไทยและเวียดนามทำยอดขายได้ดีที่เลขสองหลัก ขณะที่อินโดนีเซีย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ยังคงหม่นมัว ตลาดที่ใหญ่สุดของภาคอย่างอินโดนีเซียมียอดขายเพิ่มขึ้น 1% ที่ 267,828 คัน แต่ยอดขายเริ่มซบเซาตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ อีกสองตลาดที่ถดถอยในไตรมาสแรกคือมาเลเซีย ลดลง5% เหลือ 132,873 คัน, และฟิลิปปินส์ ลดลง 8% ที่ 96,763 คัน
Infographic ยอดขายรถในอาเซียนจาก LMC cr. Bangkok Post
ยอดขายที่แข็งแกร่งในไทยมีปัจจัยสำคัญสนับสนุนสองข้อ อย่างแรกคือ ความต้องการเปลี่ยนรถจำนวนมากหลังครบกำหนดเงื่อนไขห้ามเปลี่ยนมือภายในห้าปีจากนโยบายรถคันแรกที่ริเริ่มตั้งแต่ปี 2012-13 ผู้ที่ได้ประโยชน์จากเงินคืนภาษีชั่วคราวเมื่อ 5-6 ปีที่แล้วได้สิทธิ์แลกรถใหม่ฟรี ปัจจัยที่สองคือ ข้อมูลทางเศรษฐกิจเชิงบวก โดยเฉพาะค่า GDP เติบโต 4% ในไตรมาสสุดท้ายปี 2017 และทั้งปีเติบโตที่ 3.9% สูงสุดรอบห้าปี ดัชนีการบริโภคภาคเอกชนยังคงแสดงโมเมนตัมไปทางบวกต่อไป เพิ่มขึ้นปีละ 3.6% ในไตรมาสแรกจาก 3.4% ในไตรมาสสุดท้ายปีที่แล้ว “ปัจจัยเหล่านี้ทำให้เราไดปรับปรุงการพยากรณ์ยอดขายปี 2018 ในไทยไปข้างหน้าประมาณ 5% เมื่อเทียบกับฉบับที่แล้ว" LMC กล่าว "เราพยากรณ์ยอดขายทั้งปีไว้ที่ 937,000 คัน" ประเทศไทยเป็นแหล่งผลิตรถที่ใหญ่ที่สุดและตลาดรถที่ใหญ่สุดอันดับสองในอาเซียน
ดูเพิ่มเติม:
>> MERCEDES ประเทศไทยเผยยอดขายปี 2017 ทะลุกว่า 14,000 คัน! สานต่อความสำเร็จ The Best มอบสิ่งที่ดีที่สุดให้ End User
>> ลุยต่อเนื่อง MG ZS ดันยอดขายพุ่งปีก่อน ปี 2018 ตั้งเป้าใหม่ โกยยอดขาย 30,000 คัน!!
รถนำเข้า CBU ที่ท่าเรือเวียดนาม
เศรษฐกิจของเวียดนามยังคงแข็งแรง ซึ่งทำให้เกื้อหนุนยอดขายรถ ตลาดนำเข้ารถสำเร็จรูป (CBU) ได้รับผลกระทบในไตรมาสแรกจากการบังคับใช้ของอุปสรรคทางการค้าที่มิใช่ภาษี (มาตรา 116) การขาดความกระจ่างที่มีผลจากระเบียบใหม่นี้ทำให้ยอดขายในภาคส่วนจมดิ่งถึง 88% เมื่อเทียบกับไตรมาสแรกปีที่แล้ว ต่างจากรถผลิตในประเทศที่โตขึ้น 41% อย่างไรก็ตาม เมื่อเดือนมีนาคม ผู้ผลิตรถในไทยและอินโดนีเซีย แหล่งผลิตหลักของรถนำเข้า CBU กลับมาส่งออกรถไปเวียดนามหลังได้รับการรับรองในมาตรา 116 ได้สำเร็จ แม้ว่ายอดขายในเดือนนั้นจะน้อยกว่าที่คาด การนำเข้ารถได้อีกครั้งจะนำยอดขายกลับมาในเดือนต่อๆ ไป “มองจากการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ เราลดการพยากรณ์ยอดขายรถในเวียดนามปี 2018 เหลือไว้ที่ 308,000 คัน” LMC กล่าว
สำหรับอินโดนีเซีย LMC ได้ตัดการคาดการณ์ยอดขายปี 2018 เหลือ 1.04 ล้านคัน หลักๆ จากความต้องการรถยนต์นั่งโดยสารลดลงในไตรมาสแรกและภาพรวมของประเทศ ตลาดในอินโดนีเซียขยับขึ้น 1% ในไตรมาสแรก แต่จำนวนที่พุ่งมากในเดือนมกราคม (+9%) ชดเชยยอดขาดทุนในเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม (-3%) การซบเซาในสองเดือนนั้นนับได้จากความต้องการรถยนต์นั่งโดยสารลดลง (-5%) จากผลที่ออกมาดีในเดือนมกราคม (+6%) ภาคส่วนนี้ได้รับผลกระทบจากเงื่อนไขสินเชื่อกู้รถที่เข้มงวดขึ้นและความกดดันต่อกำลังต่อกำลังซื้อของผู้บริโภคจากค่าเงินรูปีอะห์ที่แข็งตัวและเงินเฟ้อที่มากขึ้น กลับกัน พาหนะเชิงพาณิชย์เบาขายได้มากขึ้น 13% ในไตรมาสแรกเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว สะท้อนถึงการใช้จ่ายในโครงสร้างพื้นฐานสาธารณะที่มากขึ้นก่อนถึงการเลือกตั้งใหญ่ 2019
ดูเพิ่มเติม:
>> Mazda2 แชมป์รถเล็กขายดีสุดในไทย! ปี 2018 กวาดยอดขายกว่า 13,000 คัน
>> ISUZU ยอดขายกระบะเติบโตเน้นรักษาฐานลูกค้าเลี่ยงสงครามราคา
ดร.มาฮาธีร์ โมฮาหมัด ผู้นำตลอดกาลของมาเลเซีย
สำหรับมาเลเซีย LMC ปรับปรุงภาพรวมยอดขายไว้ที่ 570,000 คัน ลดลง 0.5% จากปี 2017 จากที่ตลาดยังคงซบเซาในเดือนมีนาคม (-9%), ซึ่งดึงให้หดลงมาอีก 5% ในไตรมาสแรก การชะลอตัวนี้สะท้อนถึงเงื่อนไขสินเชื่อกู้รถที่ฝืดเคืองกว่าเดิมของประเทศและมีแววว่าผู้บริโภคจะไม่ซื้อรถก่อนถึงการเลือกตั้งทั่วไปในต้นเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา หลังการชนะเลือกตั้งสุดเซอรไพรส์ของดร.มาฮาธีร์ในการชิงเก้าอี้นายกฯ มาเลเซีย การดูท่าทียังมีต่อไปจนกว่านโยบายของรัฐบาลใหม่จะถูกบังคับใช้ โดยเฉพาะเรื่องโครงสร้างภาษีใหม่และเงินอุดหนุนเชื้อเพลิง
ที่ฟิลิปปินส์ LMC ลดการพยากรณ์ยอดขายในปี 2018 เหลือ 432,000 คันเพราะความต้องการในไตรมาสแรกลดลงจากที่คาด (-8%) จากการบังคับใช้การขึ้นภาษีสรรพสามิตเมื่อต้นเดือนมกราคมทำให้ฉุดความต้องการลดตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว อย่างไรก็ตาม ผลของเดือนมีนาคมต่ำยิ่งกว่าที่คาด ในไตรมาสที่เหลือของปี 2018 กระแสต่อต้านจำนวนมากกำลังถาโถมอย่างรวดเร็ว ที่เห็นได้ชัดสุดคือการแข็งตัวอย่างหนักของเงินเปโซและเงินเฟ้อที่สูงขึ้น
Chobrod ขอฝากความเคลื่อนไหวในวงการยานยนต์ไว้เพียงเท่านี้ มาดูกันว่าอุตสาหกรรมยานยนต์อาเซียนจะเป็นอย่างไรต่อไป