ปัญหารถติดบ้านเรา ยังคงเป็นหาใหญ่อันดับต้นๆ ยิ่งเฉพาะช่วงเวลาเร่งด่วนเช้าๆ ที่ต่างคนก็ต่างเร่งรีบเพื่อที่จะไปทำงานให้ทันเวลา แต่ทว่าทุกอย่างมันไม่ได้ง่ายเสมอไป เพราะต้องทนกับปัญหารถติดแล้ว ยังต้องเจอกับปัญหา ฝนตกน้ำท่วมอีกด้วย พนักงานลูกจ้างทั่วไป ส่วนมากก็คงจะกังวลกลัวโดนไล่ออก หรือ หักเงินเนื่องจากมาสาย แต่ คุณจะหายกังวลอีกต่อไปเพียงคุณได้อ่านบทความนี้
ปัญหารถติดบ้านเรา ยังคงเป็นหาใหญ่อันดับต้นๆ ยิ่งเฉพาะช่วงเวลาเร่งด่วนเช้าๆ ที่ต่างคนก็ต่างเร่งรีบเพื่อที่จะไปทำงานให้ทันเวลา แต่ทว่าทุกอย่างมันไม่ได้ง่ายเสมอไป เพราะต้องทนกับปัญหารถติดแล้ว ยังต้องเจอกับปัญหา ฝนตกน้ำท่วมอีกด้วย พนักงานลูกจ้างทั่วไป ส่วนมากก็คงจะกังวลกลัวโดนไล่ออก หรือ หักเงินเนื่องจากมาสาย แต่ คุณจะหายกังวลอีกต่อไปเพียงคุณได้อ่านบทความนี้
กฎหมายสำหรับคนมาสาย
1. นายจ้างหักเงินค่าจ้าง จากเหตุมาสายไม่ได้ ผิดกฎหมายแรงงาน
2. มาสาย 5 นาทีจะมาลงว่าเรามาสาย 30 นาทีไม่ได้ สายเท่าไรลงเท่านั้น เพราะมันมีผลต่ออัตราเงินเดือน จะมาหักเรา 30 นาทีไม่ได้
3. มาสาย 3 วันหัก 1 วัน แบบนี้ก็ทำไม่ได้ผิดกฎหมายแรงงาน
4. มาสายแล้วไล่ออกเลยก็ไม่ได้ ถ้าจะไล่ออกต้องทำหนังสือเตือนมาตามแต่ระเบียบของบริษัทจะประกาศไว้
5. มาสายแล้วบังคับทำโอที อันนี้ก็ไม่ได้โอทีคือความสมัครใจของลูกจ้าง
6. มาสายแล้วต้องโดนทำโทษ -*- อันนี้ใครยังไม่ตื่นจากสมัยเรียนหนังสือรีบปรับตัวซะ ไม่มีบทลงโทษทางร่างกายต่อคนมาสายเหมือนสมัยเรียนหรอก
แต่ทั้งนี้ นายจ้างก็อาจจะเลือกใช้สิทธิ No work No Pay คือไม่ทำงานก็ไม่จ่ายเงิน ซึ่งก็เป็นสิทธิของนายจ้างที่จะทำได้ เช่น คำนวณสะสมระยะเวลามาสายในแต่ละเดือน ว่ารวมแล้วกี่ชั่วโมงเพื่อมาคำนวนเวลาที่หายไปของลูกจ้างต่ออัตราค่าจ้างเฉลี่ยต่อชั่วโมง เป็นต้น (ทีทำโอฟรีไม่เห็นชม ทีมาสายละหักจัง)
อ้างอิง พรบ.คุ้มครองแรงงาน “มาตรา ๗๖ ห้ามมิให้นายจ้างหักค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุด” เข้าใจคำว่าห้ามหักไหม ถ้าหักจะถือว่าผิดกฎหมายทันที ลูกจ้างอย่างเราถ้าถูกนายจ้างหักเงิน หรือ หักเวลามาสายเกินจริง
อ่านข่าวสารยานยนต์เพิ่มเติมคลิกที่นี่!
ขอบคุณข้อมูลจาก แฟนเพจ ทนายคู่ใจ