แต่งรถยนต์อย่างไรให้เครื่องแรง แซงกระจาย

ประสบการณ์ใช้รถ | 9 ต.ค 2561
แชร์ 3

แหม...รถยนต์บางรุ่นแม้ว่ารูปลักษณ์ภายนอกจะโฉบเฉี่ยว เร้าใจ ในดีไซน์สปอร์ตขนาดไหน แต่บางทีเครื่องก็ไม่ได้แรงตามรูปลักษณ์ภายนอกเลย บทความนี้จะมาแนะนำวิธีเพิ่มความแรงของรถคุณ ให้เครื่องแรง เร่งได้สะใจ จะมีวิธีอะไรบ้าง มาดูกัน

การแต่งรถเพื่อเพิ่มความแรงนอกเหนือจากแต่งด้วยสเกิร์ต กับสปอยเลอร์แล้ว การเพิ่มความแรงยัสามารถทำได้ด้วยการแต่งเครื่องยนต์

การแต่งรถเพื่อเพิ่มความแรงนอกเหนือจากแต่งด้วยสเกิร์ต กับสปอยเลอร์แล้ว การเพิ่มความแรงยัสามารถทำได้ด้วยการแต่งเครื่องยนต์

แต่งรถยนต์อย่างไรให้เครื่องแรง แซงกระจาย

พื้นฐานของรถประกอบในไทย เมื่อเทียบกับรถยนต์ที่มีเครื่องยนต์ขนาดเดียวกัน กับรถประกอบจากต่างประเทศที่แม้ว่าจะมีขนาดเท่ากัน แต่ก็มีแรงขับเคลื่อนมากกว่า รวมทั้งมีเทคโนโลยีที่มากกว่าด้วย จากความต้องการที่ต้องการรถที่ดูแลรักษาง่ายมากกว่าเครื่องแรง แต่เมื่อเริ่มชินกับความเร็วของรถแล้ว ประกอบกับความเสื่อมที่เพิ่มมากขึ้น ความเร็ว และความแรงของเครื่องที่คุ้นเคยอาจไม่ตอบโจทย์ การเพิ่มความแรงของเครื่องจึงเป็นคำตอบของคนใช้รถที่รักความแรงเลือก แต่การปรับแต่งรถยนต์ที่ดีจึงไม่เพียงแต่ได้ความเร็ว และความเร่งเพิ่มขึ้น แต่จะต้องคำนึงถึงความปลอดภัย และสรีระของรถยนต์ที่เหมาะสมด้วย

แม้ว่าจะมีการเปิดตัวรถรุ่นสปอร์ตมาบ้าง แต่บางครั้งก็การจะให้ความแรงได้ไม่ถึงใจของผู้ขับขี่

แม้ว่าจะมีการเปิดตัวรถรุ่นสปอร์ตมาบ้าง แต่บางครั้งก็การจะให้ความแรงได้ไม่ถึงใจของผู้ขับขี่

ดูเพิ่มเติม
Liberty Walk เปิดตัวชุดแต่งสุดโหดของ “Honda/Acura NSX”
คุยกับอู่ “นพเก้าการาจ” กับ 20 ปีที่ทำสีรถยนต์เหมือนทำงานศิลปะ

การปรับแต่งรถให้มีความแรงเพิ่มขึ้น มีด้วยกัน 2 ลักษณะคือ

  • ปรับแต่งภายนอก

ตามปกติแล้วการแต่งเครื่องโดยอุปกรณ์ตกแต่งเครื่องยนต์ภายนอกที่ไม่ได้ยุ่งเกี่ยวกับฝาสูบ และเสื้อสูบมักทำได้ไม่มาก ขึ้นอยู่กับคุณภาพของอุปกรณ์ที่ใช้ เช่น ไส้กรองอากาศเปลือย หรือเฮดเดอร์ในระบบระบายไอเสีย ซึ่งไม่สามารถระบุได้ว่าจะเพิ่มกำลังให้เครื่องยนต์ได้กี่เปอร์เซ็นต์อย่างตายตัว

  • ปรับแต่งเครื่องยนต์ภายใน

หลักการของการแต่งเครื่องยนต์เพื่อเพิ่มความแรงให้กับรถ ถ้าต้องการให้ได้ผลมากที่สุดคือต้องเพิ่มทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ อากาศ น้ำมัน ไฟจุดระเบิด และการไล่ไอเสีย แต่ถ้าหากไม่ต้องการให้รถเสียประวัติในสมุดจดทะเบียนก็อาจจะเพิ่มเติมแค่อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้

ตัวอย่างห้องเครื่องยนต์ที่ได้รับการปรับแต่ง

ตัวอย่างห้องเครื่องยนต์ที่ได้รับการปรับแต่ง

การปรับแต่งภายนอกเครื่องยนต์เพื่อช่วยเพิ่มความสามารถของระบบอากาศ

หลักการพื้นฐานของการเพิ่มความแรงด้วยระบบอากาศ คือ การประจุไอดีเข้าสู่เครื่องยนต์ โดยใช้แรงดูดจากการเลื่อนลงของลูกสูบเป็นหลัก จึงต้องทำให้อุปกรณ์ต่างๆ ที่อากาศต้องไหลผ่านจากภายนอกเข้าสู่กระบอกสูบ มีการอั้นการไหลน้อยที่สุด ส่วนใหญ่จะสามารถเพิ่มอากาศด้วยอุปกรณ์ภายนอก โดยมีอุปกรณ์หลัก คือ ไส้กรองอากาศ อาทิ การเปลี่ยนเป็นไส้กรองอากาศเปลือย ไส้กรองอากาศแบบพิเศษในกล่องหม้อกรองอากาศเดิม หรือการใส่ปากแตรเข้าไปโดยไม่มีไส้กรองอากาศ

ไส้กรองอากาศเปลือย

ไส้กรองอากาศเปลือย

ไส้กรองอากาศแบบพิเศษ

ไส้กรองอากาศแบบพิเศษ

ปากแตร

ปากแตร

  • ไส้กรองอากาศเปลือย ถือเป็นอุปกรณ์ที่ได้รับความนิยมมากพอสมควร เพราะไม่แพง ติดตั้งง่าย สวยงาม ซึ่งผู้ติดตั้งไส้กรองอากาศเปลือยส่วนใหญ่จะคิดว่าเครื่องยนต์น่าจะแรงเพิ่มขึ้น ด้วยรูปทรงของไส้กรองอากาศเปลือยที่สามารถรับอากาศได้โดยรอบ และคาดว่าปล่อยให้อากาศไหลผ่านได้ง่ายขึ้นกว่าไส้กรองอากาศแบบมาตรฐานที่ติดตั้งอยู่ในกล่องปิด แต่ในความเป็นจริงแล้ว สำหรับเครื่องยนต์ธรรมดาที่ไม่มีเทอร์โบ หรือระบบอัดอากาศใดๆ ไส้กรองอากาศเปลือยจะเพิ่ม หรือลดความแรงของเครื่องยนต์ก็ได้ ไม่ใช่ใส่แล้วเครื่องจะแรงเสมอไป ขึ้นอยู่กับว่า ไส้กรองอากาศแบบมาตรฐานเดิมอั้นการไหลของอากาศแค่ไหน และไส้กรองอากาศเปลือยโล่งแค่ไหน การใช้ไส้กรองอากาศเปลือยจะได้ผลดีก็ต่อเมื่อ มีการติดตั้งอยู่ในตำแหน่งที่สามารถรับอากาศเย็น และรับอากาศปะทะจากด้านหน้าได้มากที่สุด
  • ไส้กรองอากาศแบบพิเศษ ส่วนใหญ่จะใช้แทนแผ่นไส้กรองอากาศมาตรฐาน และใส่ในกล่องเดิม ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ได้รับความนิยมไม่น้อยกว่าไส้กรองอากาศเปลือยมากนัก เพราะติดตั้งสะดวก และมั่นใจได้ว่า สามารรับอากาศเย็น และการไหลปะทะจากด้านหน้ารถยนต์ตามปกติแต่ก็พบว่าช่วยให้แรงขึ้นได้ไม่มาก สาเหตุที่พบว่า เมื่อเปลี่ยนไส้กรองอากาศแบบพิเศษเข้าไป แล้วเครื่องยนต์แรงขึ้นเล็กน้อย เพราะไส้กรองอากาศเดิมนั้นตันหรือหมดสภาพไปแล้ว อย่าลืมว่าไส้กรองอากาศก็สามารถอุดตันได้หลังจากผ่านการใช้งานไประยะหนึ่ง ซึ่งสามารถทราบได้จากระยะทางที่แต่ละผู้ผลิตไส้กรองอากาศกำหนดไว้ แต่ก็ต้องขึ้นอยู่กับสภาพของฝุ่นในอากาศ และสภาพการจราจรด้วย สำหรับเครื่องยนต์ที่มีการติดตั้งเทอร์โบ หรือระบบอัดอากาศ การเปลี่ยนไส้กรองอากาศ เป็นแบบเปลือยหรือเฉพาะแผ่นกรองอาจได้ผลมากกว่าเครื่องยนต์ธรรมดา เพราะมีการดูดอากาศมากกว่า
  • ปากแตร เป็นชื่อเรียกของอุปกรณ์ที่ติดตั้งแทนไส้กรองอากาศ อยู่หน้า สุดของระบบทางเดินของไอดี มีรูปทรงเหมือนกับปากของแตรบานโค้งออก ไม่ต้องมีไส้กรองอากาศขวางและมีปากแตรโค้ง ๆ ช่วยรีดอากาศเข้าสู่เครื่องยนต์ให้ได้มากที่สุด นิยมใช้ในรถแข่งบางประเภทที่ไม่ต้องกังวลเรื่องฝุ่น เพราะสนามแข่งมีฝุ่นน้อยและเครื่องยนต์สำหรับแข่งก็มีอายุสั้นอยู่แล้ว ขอให้แรงไว้ก่อนเท่านั้น แต่สำหรับเครื่องยนต์ที่ยังใช้งานบนถนนทั่วไป ไม่ควรใส่ปากแตรแทนไส้กรองอากาศ เพราะการปล่อยฝุ่นให้เล็ดลอดเข้าไปได้ จะทำให้เครื่องยนต์มีอายุการใช้งานสั้นลงมาก ไม่คุ้มกับกำลังที่เพิ่มขึ้นมาเพียงเล็กน้อย

หลักการของอากาศในเครื่องยนต์เทอร์โบชาร์จ

หลักการของอากาศในเครื่องยนต์เทอร์โบชาร์จ

เพิ่มความแรงด้วยระบบอัดอากาศ

สำหรับเครื่องยนต์ที่ไม่มีการติดตั้งระบบอัดอากาศมาจากโรงงานส่วนใหญ่ ถ้าอัตราส่วนอัดในกระบอกสูบ ไม่เกิน 9.5 ต่อ 1 สามารติดตั้งระบบอัดอากาศ เพื่อรีดกำลังเพิ่มจากเครื่องยนต์ได้โดยไม่ต้องไม่ต้องเปลี่ยนอุปกรณ์ไส้ในใดๆ แต่มีข้อแม้ว่า ต้องใช้แรงดันของอากาศที่จะส่งเข้าสู่ท่อร่วมไอดีไม่สูง (บูสท์ต่ำ) ซึ่งส่วนใหญ่ควรอยู่ในระดับ 3-6 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว อัตราส่วนผสมของไอดีต้องไม่บาง ซึ่งอาจต้องมีการเพิ่มน้ำมันเชื้อเพลิงเข้าไปให้เหมาะสมกับอากาศที่เพิ่มขึ้น และจังหวะการจุดระเบิดต้องเหมาะสม สามารถเพิ่มระบบอัดอากาศได้ด้วยเทอร์โบ ซูปเปอร์ชาร์จ และไนตรัสอ็อกไซด์

  • เทอร์โบ คือ การนำไอเสียมาผ่านกังหันไอเสีย (เทอร์ ไบน์) เพื่อให้หมุนเป็นต้นกำลังพากังหันไอดี(คอมเพรสเซอร์)ที่ติดตั้งบนแกนเดียวกันอีกด้านหนึ่งให้หมุน เพื่ออัดอากาศ เข้าสู่เครื่องยนต์ มีจุดเด่นคือ ไม่กินกำลังของเครื่องยนต์ และสามารถหาติดตั้งได้ ทั้งจากชุดสำเร็จจากต่างประเทศ ของสำนักแต่งชื่อดัง หรือด้วยฝีมือช่างไทย มีจุดด้อยอยู่เล็กน้อย คือ ถ้ามีขนาดของเทอร์โบเหมาะสมกับซีซีของเครื่องยนต์ ก็อาจจะมีอาการรอรอบ คือ เทอร์โบจะเริ่มอัดอากาศ (บูสท์) ตั้งแต่เครื่องยนต์หมุนรอบปานกลางขึ้นไป ส่วนในรอบต่ำ ๆ นั้นก็ยังมีอัตราเร่งเหมือนตอนที่ยังไม่ติดตั้งเทอร์โบ การระบายไอเสียไม่คล่องเหมือนเดิม เนื่องจากมีกังหันไอเสียขัดขวางอยู่ และถ้ามีการลดอัตราส่วนการอัดลงจากเดิม ก็ยิ่งทำให้อัตราเร่งแย่ลงไปอีกเล็กน้อย จนกว่าเทอร์โบจะเริ่มอัดอากาศในรอบปานกลางขึ้นไป
  • ซูปเปอร์ชาร์จ คือ การใช้สายพานซึ่งต่อมาจากเพลาข้อเหวี่ยงของเครื่องยนต์ เป็นต้นกำลังในการขับเคลื่อน อุปกรณ์อัดอากาศ มีจุดเด่น คือ สามารถควบคุมให้มีการอัดอากาศได้ตั้งแต่รอบต่ำขึ้นไป ทำให้มีการตอบสนอง ด้านอัตราเร่งฉับไว และไม่ต้องรอรอบ จุดด้อย คือ กินกำลังของเครื่องยนต์อยู่เล็กน้อย เพราะต้องแบ่งกำลังมาใช้หมุนซูเปอร์ชาร์จ แต่ในรอบสูงยังสู้เทอร์โบไม่ได้
  • ไนตรัสอ็อกไซด์ ใช้อากาศที่บรรจุอยู่ในถังขนาดเล็กต่อสายอัดเข้าสู่ ท่อไอดีของเครื่องยนต์ โดยเป็นอากาศที่มีเปอร์เซ็นต์ของออกซิเจนไม่มากเกินไป จนชิ้นส่วนในเครื่องยนต์เสียหาย จุดเด่น คือ มีชิ้นส่วแค่ตัวติดตั้งถังเก็บไนตรัสออกไซด์ เดินท่อก๊าซเข้าสู่ท่อร่วมไอดี พร้อมเพิ่มน้ำมันเชื้อเพลิงให้เหมาะสมแล้วติดตั้งปุ่มควบคุมการฉีด ก็พร้อมใช้งานได้ โดยไม่ต้องทำอะไรกับชิ้นส่วนภายในเครื่องยนต์ จุดด้อย คือ เมื่อใช้ไนตรัสออกไซด์หมดแล้วต้องหาซื้อเติมใหม่ และถ้าไม่เปลี่ยนชิ้นส่วนภายในเครื่องยนต์ให้แข็งแรงขึ้นก็จะไม่สามารถอัดไนตรัสได้ในปริมาณมาก และนานได้

ตัวอย่างเครื่องยนต์เทอร์โบชาร์จของ Audi SQ7 TDI

ตัวอย่างเครื่องยนต์เทอร์โบชาร์จของ Audi SQ7 TDI

สำหรับเครื่องยนต์ที่มีการติดตั้งระบบอัดอากาศอยู่แล้ว ไม่ว่าจะติดตั้งเทอร์โบ หรือซูเปอร์ชาร์จมาจากโรงงานผู้ผลิต มักมีการควบคุมแรงดันของอากาศที่จะอัดเข้าสู่เครื่องยนต์ไว้ในอัตราที่ไม่สร้างความเสียหายกับเครื่องยนต์อยู่แล้ว ดังนั้น การควบคุมแรงดันของอากาศจะถูกควบคุมไว้ไม่สูงนัก สามารถปรับเพิ่มขึ้นได้อีกเล็กน้อยโดยที่เครื่องยนต์ยังพอรับได้ แต่มีข้อแม้ว่าไม่ควรปรับบูสท์เพิ่มมาก และต้องควบคุมให้มีการเพิ่มน้ำมันเชื้อเพลิงขึ้นอย่างเหมาะสมกับอากาศ เพื่อไม่ให้เกิดการชิงจุดระเบิดจนเครื่องยนต์เสียหาย

กล่องสปีด เพิ่มความแรงของเครื่องยนต์

กล่องสปีด เพิ่มความแรงของเครื่องยนต์

ในส่วนของน้ำมันเชื้อเพลิง แม้ว่าการเพิ่มน้ำมันเชื้อเพลิงน่าจะทำให้แรงขึ้นได้ แต่น้ำมันเชื้อเพลิง ต้องมีอากาศมาผสมในอัตราส่วนที่เหมาะสม เพื่อให้มีการจุดระเบิด และมีการเผาไหม้ที่สมบูรณ์ การเพิ่มน้ำมันเชื้อเพลิงในแต่ละเครื่องยนต์ จึงมีขอบเขตจำกัด และแตกต่างกัน เช่น ไอดีเดิมบางมาก ก็สามารถเพิ่มน้ำมันเชื้อเพลิงได้มากหน่อย แต่ถ้าไอดีบางไม่มาก ก็สามารถเพิ่มน้ำมันเชื้อเพลิงได้น้อย การเพิ่มน้ำมันเชื้อเพลิงจึงไม่ควรหนากว่าประมาณ 1 ต่อ 11-12 ของน้ำมันเชื้อเพลิงกับอากาศ สามารถแยกได้ 2 รูปแบบเครื่องยนต์หลัก คือ คาร์บูเรเตอร์ กับหัวฉีด สำหรับเครื่องยนต์แบบคาร์บูเรเตอร์ ถ้าจะเพิ่มเฉพาะน้ำมันเชื้อเพลิง โดยไม่เปลี่ยนขนาดหรือเพิ่มจำนวนคาร์บูเรเตอร์ ก็สามารถเพิ่มได้เพียงการเปลี่ยนนมหนู กับน้ำมันเชื้อเพลิงใหญ่ขึ้น และเครื่องยนต์แบบหัวฉีด สามารถเพิ่มน้ำมันเชื้อเพลิงด้วยหลากวิธีสารพัดอุปกรณ์ เช่น การเปลี่ยนโปรแกรมชิพ (CHIP) หรือกล่องอีซียู ซึ่งส่วนใหญ่จะแรงขึ้นไม่มาก หากโปรแกรมเดิมเป็นไปตามแนวทางปกติ ก็จะแรงขึ้นได้น้อย แต่ถ้าเดิมเครื่องยนต์บางมากก็แรงขึ้นได้มากประมาณ 5-10 เปอร์เซ็นต์

การจุดไฟระเบิด ควรมีทั้งการเพิ่มน้ำมันเชื้อเพลิง และระบบอัดอากาศให้หนาแน่นมากขึ้น โดยขึ้นอยู่กับว่าระบบไฟจุดระเบิดนั้นแรงเพียงพอกับน้ำมันเชื้อเพลิง และอากาศที่มีอัตราส่วนที่เหมาสะในกระบอกสูบหรือไม่ การแต่งระบบไฟจุดระเบิดสามารถทำได้โดยการเพิ่มประสิทธิภาพของคอยล์ การใช้สายหัวเทียนความต้านทานต่ำ เช่น หัวเทียนแพลตินัม

การไล่ไอเสีย ส่วนมากมีผลดี และสามารถเพิ่มกำลังให้กับเครื่องยนต์ได้ เปรียบเสมือนกับการทำให้ท่อน้ำทิ้งของบ้านไหลลื่นได้มากยิ่งขึ้น ช่วยให้เครื่องแรงขึ้นได้ประมาณ 5- 10 เปอร์เซ็นต์

การแต่งรถควรคำนึงถึงเรื่องความปลอดภัยในการขับขี่ และความเหมาะสมของตัวรถด้วยนะคะ

การแต่งรถควรคำนึงถึงเรื่องความปลอดภัยในการขับขี่ และความเหมาะสมของตัวรถด้วยนะคะ

สำหรับการตกแต่งเครื่องยนต์ก็ล้วนแล้วแต่มีข้อจำกัด ซึ่งถ้าหากต้องการให้เครื่องแรงเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ก็จะต้องมีการปรับแต่งทั้ง 4 ส่วนดังที่กล่าวไป แต่ก็สามารถเพิ่มความแรงให้กับรถยนต์ได้ด้วยการตกแต่งรูปลักษณ์ภายนอกทั้งการติดสเกิร์ต สปอยเลอร์ รวมถึงอุปกรณ์กันลมเพื่อช่วยเสริมในเรื่องของอากาศพลศาสตร์ที่จะช่วยทำให้รถเร็ว แรง โฉบเฉี่ยวได้อย่างมีสไตล์มากขึ้น และสำหรับบทความดีๆ เรื่องต่อไปจะเป็นอะไร อย่าลืมติดตามกันที่ chobrod.com นะคะ