ก่อนซื้อขายเช็คให้ดี!!! รถหลุดจำนำถูกหรือผิดกฎหมาย

ประสบการณ์ใช้รถ | 20 เม.ย 2562
แชร์ 1

เมื่อพูดถึงรถยนต์มือสองแน่นอนว่าก็คงหนีไม่พ้นเรื่องราวที่สุดแสนจะอลหม่าน เพราะหากตรวจเช็คไม่ดี หรือรู้ไม่เท่าทันก็อาจจะซวยได้ทั้งผู้ซื้อและผู้ขายเอง แล้วถ้าหากเป็นรถหลุดจำนำนั้นจะถูกหรือผิดกฎหมายกันแน่? เรื่องราวที่ต้องรู้ทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย

ในตลาดรถยนต์มือสองนั้น ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าราคาค่อนข้างแตกต่างกัน โดยเฉพาะในส่วนของดอกเบี้ยและเงื่อนไขต่างๆก่อนการซื้อขาย แต่ก็ขึ้นชื่อว่าเป็นรถที่มีราคาถูกในระดับหนึ่ง ยิ่งหากเจอเต็นท์ดีๆ คุยง่าย ก็ยิ่งได้รถราคาถูกลงด้วยก็ได้ แต่รู้หรือไม่ว่าบนโลกใบนี้ยังมีรถที่ถูกกว่าราคารถมือสองเสียอีก นั่นก็คือรถหลุดจำนำนั่นเอง

ทำความรู้จักรถหลุดจำนำ

ทำความรู้จักรถหลุดจำนำ

หลายคนอาจจะยังไม่คุ้นกับคำว่ารถหลุดจำนำเท่าใดนัก ซึ่งความหมายแบบง่ายๆก็คือรถที่เจ้าของนำมาจำนำแล้วไม่สามารถไถ่ถอนได้ตรงตามเวลาที่กำหนด ซึ่งรถคันนั้นก็จะกลายเป็นรถหลุดจำนำทันทีนั่นเอง และที่น่าสนใจก็คือราคาที่พ่อค้าแม่ขายเอามาตั้งนั้นถูกแทบจะเกือบเท่าตัวของรถมือสองเลยก็ว่าได้

พอได้ยินคำว่าราคาถูกก็คงจะตาลุกวาวเลยไม่ใช่น้อยใช่หรือไม่? แต่เดี๋ยวก่อน ก่อนที่จะอ้าปากค้างแล้วไปหาซื้อรถหลุดจำนำมาใช้นั้น จะต้องลองมาทำความเข้าใจเสียก่อนว่ารถหลุดจำนำนั้นเป็นอย่างไร ถูกหรือผิดกฎหมายหรือไม่? เพราะถ้าหากรู้ไม่เท่าทันจากที่จะได้ของดีก็อาจจะกลายเป็นการรับซื้อของโจรก็ได้

สำหรับรถหลุดจำนำนั้นเป็นได้ทั้งรถที่ถูกกฎหมายและผิดกฎหมายในเวลาเดียวกัน แทบจะ 50:50 เลยก็ว่าได้ ยิ่งหากไม่ดูให้ดีเสียก่อนก็อาจจะได้รถผิดกฎหมายมาแทน ซึ่งรถที่ถูกกฎหมายนั้น จะต้องเป็นรถที่มีเอกสารครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็น สำเนาหน้าเล่มทะเบียนรถยนต์ สำเนาบัตรประชาชนของเจ้าของรถ สำเนาทะเบียนบ้านเจ้าของรถ เอกสารโอนลอยรถยนต์ เอกสารมอบอำนาจ ซึ่งจะเป็นส่วนที่เจ้าของรถเซ็นชื่อไว้ก่อนแล้ว โดยเอกสารต่างๆเหล่านี้จะทำให้สืบหาที่มาที่ไปของรถได้ว่าถูกหรือผิดกฎหมาย ถ้าหากขาดเอกสารส่วนใดส่วนหนึ่งไปให้เตรียมโบกมือลาได้เลย ถึงแม้จะเป็นรถในฝันก็ตาม

การตรวจสอบเอกสารก่อนซื้อขายรถหลุดจำนำ

การตรวจสอบเอกสารก่อนซื้อขายรถหลุดจำนำ

และในส่วนที่ผิดกฎหมายนั้น ก็คือต้องเป็นรถที่ติดไฟแนนซ์อยู่ โดยผู้ที่ครอบครังรถในขณะนั้นที่เป็นตัวจริงก็คือไฟแนนซ์ไม่ใช่ผู้ที่เอามาจำนำแต่อย่างใด แน่นอนว่าส่งผลต่อการซื้อขายที่ไม่สามารถโอนรถซ้ำซ้อนได้ ยิ่งเมื่อทางไฟแนนซ์ตามรถได้ก็คงต้องคืนรถทันทีโดยที่เราไม่สามารถเรียกร้องอะไรได้เลย เนื่องจากรถไม่สามารถโอนรถจากผู้ที่นำมาจำนำ หรือเจ้าของรถได้ เพราะเจ้าของตัวจริงคือไฟแนนซ์ที่ผู้นำรถมาจำนำผ่อนจ่ายไม่ตรงตามกำหนดจนนำมาสู่การยึดรถ แต่อาจจะยิ่งร้ายแรงมากขึ้นหากเราไปซื้อแล้วโดนพ่วงข้อหารับซื้อของโจรตามมาอีก เรียกว่าซวยซ้ำซวยซ้อนเลยทีเดียว

อีกประการหนึ่งที่รถหลุดจำนำจะกลายเป็นรถผิดกฎหมายก็คือ เป็นรถที่ถูกขโมยมาหรือหลุดจำนำมาสวมทะเบียน เรียกได้ว่าย้อมแมวขายกันเลยทีเดียว ซึ่งพ่อค้าก็มักจะเลือกรถที่มีสี รุ่น ปี มาสวมทะเบียนแล้ดัดแปลงเลขตัวถัง แน่นอนว่าถึงจะยากต่อการตรวจสอบ แต่หากเป็นรถที่ตรวจแล้วว่าสวมทะเบียนคนซื้อก็โดนข้อหารับซื้อของโจรไปเต็มๆเลยทีเดียว

การซื้อขายรถที่ถูกกฎหมาย

การซื้อขายรถที่ถูกกฎหมาย

อย่างไรก็ตาม การซื้อขายรถหลุดจำนำ ทั้งจากเต็นท์รถที่อาจจะอยากได้มาขายทำกำไรต่อ หรืออาจจะเป็นลูกค้าที่กำลังมองหารถราคาไม่แรงแต่ถูกใจมาใช้ ก็จะต้องตรวจสอบให้ดีเสียก่อน เริ่มต้นที่เอกสารต่างๆจะต้องครบถ้วน สามารถสืบหาที่มาที่ไปของรถได้อย่างชัดเจนและถูกต้อง รวมไปถึงการตรวจสอบสภาพรถให้ดีเพื่อที่จะได้มั่นใจว่าเป็นรถที่ถูกกฎหมายจริงๆ อาจจะมีเพื่อน หรือผู้ที่เชี่ยวชาญด้านรถไปดูด้วยก็จะทำให้ช่วยกันตรวจสอบได้มากยิ่งขึ้นตามไปด้วย และจำทำให้ได้รถที่ใช่ราคาที่ชอบมาใช้ได้อย่างหมดกังวลนั่นเอง

อ่านเพิ่มเติม

>> เลือกซื้อประกันรถยนต์แบบไหน เหมาะกับเราที่สุด!!

>> ชม SUV โดนใจ 5 คันในช่วงราคา 6-8 แสนบาท

ต้องการซื้อรถมือสองสภาพดี เชิญเข้าดูที่ช่องทางตลาดรถ Unseencar.com

BearsSmiley