สู้ต่อ!! Uber ยื่นหนังสือต่อประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ แสดงกว่า 51,000 รายชื่อสนับสนุนให้ยอมรับ บริการร่วมเดินทาง

ตลาดรถยนต์ในประเทศ | 20 ก.ค 2560
แชร์ 0

Uber แอปพลิเคชั่นสำหรับการร่วมเดินทางได้เข้ายื่นหนังสือ ต่อประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เพื่อส่งต่อให้สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติสนับสนุน การแก้ไขพระราชบัญญัติรถยนต์ให้รองรับ บริการร่วมเดินทางผ่านแอปพลิเคชั่น จากเสียงสนับสนุนของประชาชนกว่า 51,000 รายชื่อเพื่อแสดงความต้องการใช้งาน

กับประเด็นที่แทบจะมีทุกวันเกี่ยวกับการใช้บริการของประชาชน ในแอปพลิเคชั่น Uber ทั้งการเกิดปัญหาระหว่าง Taxi และผู้ขับ Uber หรือจะการประกาศจากกรมขนส่งยืนกรานว่าการขับ Uber เป็นบริการที่ผิดกฎหมาย สามารถจับกุมผู้ขับ Uber ได้ทันทีที่พบเห็น อีกทั้งการรวมตัวของเหล่า Taxi แก๊สหมด เพื่อประท้วงการให้บริการของทั้ง Uber Taxi และ Grab Car จนกลายเป็นกระแสสังคมอย่างมากในตอนนี้
 
คุณเอมี่ กุลโรจน์ปัญญายื่นหนังสือ
คุณเอมี่ กุลโรจน์ปัญญา ยื่นหนังสือต่อประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
 
ล่าสุดวันที่ 19 กรกฎาคม 2560 Uber ประเทศไทยได้เข้ายื่นหนังสือต่อประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เพื่อขอให้ขอเสียงสนับสนุนจากสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในการแก้ไขพระราชบัญญัติรถยนต์ฉบับปัจจุบัน ให้รองรับบริการร่วมเดินทาง เพื่อผ่านแอปพลิเคชันบนสมาร์ตโฟน โดยขณะนี้มีประชาชนมากกว่า 51,000 คนร่วมลงรายชื่อสนับสนุน

เลือกอะไรดีระหว่างตำนาน รถแดง หรือ แท็กซี่อูเบอร์ (Uber) และแกร็บคาร์ (GrabCar)
 
คุณเอมี่ กุลโรจน์ปัญญา ผู้อำนวยการสื่อสารองค์กรและนโยบายของบริษัท Uber ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก กล่าวขอบคุณทุกเสียงสนับสนุนของคนไทย ที่มีต่อบริการร่วมเดินทางด้วยดีมาโดยตลอด การสนับสนุนจากประชาชนมากกว่า 51,000 รายชื่อ ผ่านทางเว็บไซต์ https://action.uber.org/th/ ทุกเสียงที่ร่วมลงชื่อคือกำลังใจของเราที่จะมุ่งมั่นเดินหน้าทำงานร่วมกับภาครัฐ เพื่อให้มีกฎหมายรองรับบริการร่วมเดินทางในประเทศไทยอย่างเป็นทางการให้สมกับที่คนไทยรอคอย

กว่า 51,000 รายชื่อที่สนับสนุน Uber
กว่า 51,000 รายชื่อที่สนับสนุน Uber
 
คุณเอมี่กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า “Uber มีความมุ่งมั่นที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันประเทศไทยให้ไปถึงเป้าหมาย และโดดเด่นอยู่ระดับแถวหน้าของประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ได้นำเทคโนโลยีมาพัฒนาและใช้ประโยชน์ให้กับประชาชน สังคม ทั้งนี้ประเทศในอาเซียนเกือบทั้งหมดได้มีการยอมรับการให้บริการร่วมเดินทางเเล้ว เช่น สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เมียนมาร์ และเวียดนาม”
 
Uber ประเทศไทยเปิดให้บริการมากว่า 3 ปีมีผู้ใช้งานกว่า 1.3 ล้านคนทั่วโลก โดยการใช้แอปพลิเคชั่นเพื่อมาตอบโจทย์และแก้ปัญหาการจราจร และมลพิษในประเทศ โดยการบริการรถร่วมเดินทาง และยังเป็นช่องทางเพื่อสร้างรายได้เสริมให้กับผู้ใช้รถได้อีกหนึ่งทาง

Uber ประกาศว่าจะใช้ทีมงานวิศวกรของทาง NASA มาออกแบบอากาศยาน
 
ก็ต้องมาดูกันต่อว่าผลออกมาจะหัวหรือก้อย หรือจะมีความเคลื่อนของฝ่านคัดค้าน Uber ยังไงอีก ความลำบากประชาชนอย่างแท้จริงที่มีต่อ Taxi  แต่ภาครัฐจะยังทำหูหนวก ตาบอด ว่าไม่มีรายงานถึงข้อร้องเรียน ทั้งที่ถูกร้องเรียกจากประชาชนมากมายในการใช้ Taxi สาธารณะจนเกิดเป็นความเหนื่อยหน่ายต่อบริการ พูดติดปากเป็นที่รู้กันในประโยค “ต้องเติมแก๊ส หรือไปส่งรถ” บางทีประชนชนก็ขำไม่ออก และเมื่อมีทางเลือกที่ดีกว่าให้กับคนไทย แน่นอนว่าเสียงสนันสนุนย่อมมีมากแต่ฝ่ายกฎหมายละจะเข้าใจปัญหาของหัวอกประชนชนมากน้อยแค่ไหน ต้องรอติดตาม
 
ที่มา :: Uber ประเทศไทย