สรุปตลาดรถยนต์ปี 2563 จบที่ 792,146 คัน ติดลบ -21.4%

ตลาดรถยนต์ในประเทศ | 26 ม.ค 2564
แชร์ 1

โตโยต้า แถลงยอดขายรถยนต์ปี 2563 จากสถานการณ์ การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ส่งผลโดยตรงต่อภาคเศรษฐกิจต่อเนื่องถึงตลาดรถยนต์ที่ 792,146 คัน ติดลบ -21.4% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว พร้อมคาดการณ์ปี 2564 อยู่ที่ 850,000 - 900,000 คัน

สรุปตลาดรถยนต์ปี 2563

สำหรับยอดขายรถยนต์รวมในประเทศไทยปี 2563 ที่ผ่านมา อุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศได้รับผลกระทบอย่างมากจากสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ส่งผลให้ยอดขายลดลง 21.4% โดยมียอดขายอยู่ที่ 792,146 คัน

สถิติการขายรถยนต์ในประเทศปี 2563

ยอดขายปี 2563

เปลี่ยนแปลงเทียบกับปี 2562

ปริมาณการขายรวม

792,146 คัน

-21.4%

รถยนต์นั่ง

274,789 คัน

-31.0%

รถเพื่อการพาณิชย์

517,357 คัน

-15.1%

รถกระบะ 1 ตัน (รวมรถกระบะดัดแปลง)

409,463 คัน

-16.8%

รถกระบะ 1 ตัน (ไม่รวมรถกระบะดัดแปลง)

364,887 คัน

-15.5%

สำหรับแนวโน้มตลาดรถยนต์ของปี 2564 มร.โนริอากิ ยามาชิตะ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย คาดการณ์ว่า 

ปีนี้จะเป็นปีที่ท้าทายอีกครั้งสำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์ของประเทศไทย เนื่องจากยังคงต้องเผชิญกับหลายปัจจัย จากสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 การพัฒนาวัคซีนและการเข้าถึงวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 รวมถึงแนวโน้มสภาวะเศรษฐกิจทั่วโลก และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจากภาครัฐ

อ่านเพิ่มเติม : ขายรถยนต์พฤศจิกายน 2563 รวม 79,177 คัน เพิ่มขึ้น 2.7%

ทั้งหมดนี้จะส่งผลต่อทิศทางอุตสาหกรรมยานยนต์ นอกจากนี้ ความเคลื่อนไหวต่าง ๆ ในภาคอุตสาหกรรมยานยนต์ เช่น การออกผลิตภัณฑ์ใหม่ กิจกรรมทางการตลาด และกิจกรรมส่งเสริมการขายต่างๆ จะมีบทบาทสำคัญต่อการกระตุ้นยอดขายรถยนต์  ดังนั้น เมื่อพิจารณาปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้แล้ว จึงคาดการณ์ว่ายอดขายรถยนต์ในปี 2564 จะอยู่ที่ประมาณ 850,000 – 900,000 คัน เพิ่มขึ้น 7-14% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา

ประมาณการยอดขายรถยนต์ในประเทศปี 2564

ยอดขายประมาณการปี 2564

เปลี่ยนแปลงเทียบกับปี 2563

ปริมาณการขายรวม

850,000 – 900,000 คัน

+ 7-14%

รถยนต์นั่ง

290,000 – 318,000 คัน

+ 5-15%

รถเพื่อการพาณิชย์

560,000 – 582,000 คัน

+ 8-13%

สรุปตลาดรถยนต์ปี 2563

ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ เดือนธันวาคม 2563

1. ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 104,089 คัน เพิ่มขึ้น 11.3%

อันดับที่ 1 โตโยต้า 33,197 คัน เพิ่มขึ้น 12.6% ส่วนแบ่งตลาด 31.9%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 22,917 คัน เพิ่มขึ้น 45.3% ส่วนแบ่งตลาด 22.0%
อันดับที่ 3 ฮอนด้า 10,075 คัน เพิ่มขึ้น 5.6% ส่วนแบ่งตลาด 9.7%

2. ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 38,130 คัน เพิ่มขึ้น 3.1% 

อันดับที่ 1 โตโยต้า 8,811 คัน ลดลง 12.6% ส่วนแบ่งตลาด 23.1%
อันดับที่ 2 ฮอนด้า 8,378 คัน เพิ่มขึ้น 22.4% ส่วนแบ่งตลาด 22.0%
อันดับที่ 3 มาสด้า 3,475 คัน ลดลง 3.1% ส่วนแบ่งตลาด  9.1%

3. ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 65,959 คัน เพิ่มขึ้น 16.7% 

อันดับที่ 1 โตโยต้า 24,386 คัน เพิ่มขึ้น 25.7% ส่วนแบ่งตลาด 37.0%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 22,917 คัน เพิ่มขึ้น 45.3% ส่วนแบ่งตลาด 34.7%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 4,595 คัน เท่าเดิม ส่วนแบ่งตลาด  7.0%

4. ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน*  (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV) ปริมาณการขาย 51,516 คัน เพิ่มขึ้น 14.4%

อันดับที่ 1 โตโยต้า 21,566 คัน เพิ่มขึ้น 46.9% ส่วนแบ่งตลาด 41.9% 
อันดับที่ 2 อีซูซุ 20,123 คัน เพิ่มขึ้น 17.5% ส่วนแบ่งตลาด 39.1%
อันดับที่ 3 ฟอร์ด 4,595 คัน เท่าเดิม ส่วนแบ่งตลาด 8.9%

ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน: 7,512 คัน

  1. อีซูซุ 2,806 คัน
  2. โตโยต้า 2,709 คัน
  3. มิตซูบิชิ 1,118 คัน
  4. ฟอร์ด 856 คัน
  5. นิสสัน 23 คัน 

5. ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 44,004 คัน เพิ่มขึ้น 11.1%

อันดับที่ 1 อีซูซุ 18,760 คัน เพิ่มขึ้น 34.9% ส่วนแบ่งตลาด 42.6%
อันดับที่ 2 โตโยต้า 17,414 คัน เพิ่มขึ้น 16.4% ส่วนแบ่งตลาด 39.6%
อันดับที่ 3 ฟอร์ด 3,739 คัน ลดลง 3.9% ส่วนแบ่งตลาด 8.5%

สรุปตลาดรถยนต์ปี 2563

สถิติการจำหน่ายรถยนต์ เดือนมกราคม - ธันวาคม 2563

1. ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 792,146 คัน ลดลง 21.4%

อันดับที่ 1 โตโยต้า 244,316 คัน ลดลง 26.5% ส่วนแบ่งตลาด 30.8%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 181,194 คัน เพิ่มขึ้น 7.7% ส่วนแบ่งตลาด 22.9%
อันดับที่ 3 ฮอนด้า 93,041 คัน ลดลง 26.1% ส่วนแบ่งตลาด 11.7%

2. ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 274,789 คัน ลดลง 31.0%       

อันดับที่ 1 ฮอนด้า 77,419 คัน ลดลง 19.5% ส่วนแบ่งตลาด 28.2%
อันดับที่ 2 โตโยต้า 68,152 คัน ลดลง 42.1% ส่วนแบ่งตลาด 24.8%
อันดับที่ 3 นิสสัน 27,120 คัน ลดลง 24.3% ส่วนแบ่งตลาด 9.9%

3. ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 517,357 คัน ลดลง 15.1%

อันดับที่ 1 อีซูซุ 181,194 คัน เพิ่มขึ้น 7.7% ส่วนแบ่งตลาด 35.0%
อันดับที่ 2 โตโยต้า 176,164 คัน ลดลง 17.9% ส่วนแบ่งตลาด 34.1%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 35,046 คัน ลดลง 29.0% ส่วนแบ่งตลาด 6.8%

4. ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน* (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV) ปริมาณการขาย 409,463 คัน ลดลง 16.8%

อันดับที่ 1 อีซูซุ 168,467 คัน เพิ่มขึ้น 10.0% ส่วนแบ่งตลาด 41.1%
อันดับที่ 2 โตโยต้า 149,635 คัน ลดลง 21.9% ส่วนแบ่งตลาด 36.5%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 35,046 คัน ลดลง 29.0% ส่วนแบ่งตลาด 8.6%

ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน : 44,576 คัน

  1. โตโยต้า 19,742 คัน
  2. มิตซูบิชิ 9,342 คัน
  3. อีซูซุ 8,139 คัน
  4. ฟอร์ด 5,343 คัน
  5. นิสสัน 1,338 คัน
  6. เชฟโรเลต 672 คัน

5. ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 364,887 คัน ลดลง 15.5%

อันดับที่ 1 อีซูซุ 160,328 คัน เพิ่มขึ้น 11.6% ส่วนแบ่งตลาด 43.9%
อันดับที่ 2 โตโยต้า 129,893 คัน ลดลง 21.5% ส่วนแบ่งตลาด 35.6%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 25,704 คัน ลดลง 28.2% ส่วนแบ่งตลาด 7.0%

 ตรวจเช็ก ราคารถยนต์มือสอง หาที่ถูกใจได้ง่าย มีให้เลือกเพียบ

ningkung