รถยนต์ไฟฟ้าในไทย มีอนาคตมั้ย ซื้อใช้แล้วคุ้มหรือเปล่า มาดู 7 เหตุผล ที่น่าใช้ในเมืองไทย

ตลาดรถยนต์ในประเทศ | 13 มิ.ย 2562
แชร์ 10

รถยนต์ไฟฟ้า เริ่มมีบทบาทเข้ามาประเทศไทยมากขึ้นเรื่อย ตามกระแสวงการยานยนต์โลก ส่วนบ้านเรานั้น ตอนนี้อนาคตรถพลังสะอาดนี้จะเป็นยังไง คุ้มค่าที่จะซื้อหรือไม่ มาดูสถานการณ์ล่าสุดของตลาดรถยนต์ไฟฟ้าบ้านเรากัน

รถยนต์ไฟฟ้าในไทย มีอนาคตมั้ย ซื้อใช้แล้วคุ้มหรือเปล่า อัพเดตสถานการณ์รถรักโลกในเมืองไทย

รถยนต์ไฟฟ้าในไทย มีอนาคตมั้ย ซื้อใช้แล้วคุ้มหรือเปล่า อัพเดตสถานการณ์รถรักโลกในเมืองไทย

รถยนต์ไฟฟ้า เริ่มมีบทบาทเข้ามาประเทศไทยมากขึ้นเรื่อย เพราะประเทศไทยเป็นแหล่งผลิตรถยักษ์ใหญ่ลำดับที่ 6 ของโลก ก็เลยต้องตามกระแสวงการยานยนต์โลก ที่ในต่างประเทศหันมาซื้อใช้กันหลายแสนคันเข้าไปแล้วในบางประเทศ ส่วนบ้านเรานั้น ตอนนี้อนาคตรถพลังสะอาดนี้จะเป็นอย่างไร คุ้มค่าที่จะซื้อตอนนี้หรือไม่ มาดูสรุปข่าวการเติบโตและพัฒนาวงการรถยนต์ไฟฟ้าในบ้านเรา อัพเดตล่าสุดในตอนนี้กันครับ

>> กฟน.โชว์นวัตกรรม EV พร้อมรุกตลาดติดตั้งเครื่องชาร์จยานยนต์ไฟฟ้า​

​>> รถยนต์ไฟฟ้าเริ่มแรง ไทยตั้งเป้าปี 63 มียอดผลิต EV ทะลุ 5 หมื่นคัน​

ตลาดรถยนต์ไฟฟ้าบ้านเราคึกคักขึ้นเรื่อยๆ

ตลาดรถยนต์ไฟฟ้าบ้านเราคึกคักขึ้นเรื่อยๆ

1. รถยนต์อะไรก็ใช้ไฟฟ้าได้ในราคา 500,000 บาท

การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) มีแนวคิดให้คนไทยสามารถเข้าถึงรถยนต์ไฟฟ้าได้ในราคาที่เหมาะสม จึงได้เริ่ม โครงการวิจัยพัฒนาชุดประกอบรถไฟฟ้าดัดแปลง ซึ่งโครงการวิจัยนี้อยู่ในระยะที่ 2 ที่ใช้มอเตอร์ที่เข้าถึงง่าย มีราคาถูกลง และระบบเกียร์ยังเป็นระบบเดิม ที่ทำให้คนขับแทบจะไม่รู้สึกถึงความแตกต่าง ผลการทดสอบความเร็วบนท้องถนน ทำความเร็วประมาณ 130 กม./ชม. ใช้กำลังไฟฟ้าสูงถึง 86 กิโลวัตต์ และหากลดความเร็วลงเหลือประมาณ 70 กม./ชม. จะใช้กำลังไฟฟ้าเพียง 10 กิโลวัตต์ ซึ่งจะขับได้อีก 2 ชม.เป็นระยะทาง 140 กม. ขณะนี้ได้ทดสอบทำกับรถ 2 รุ่นคือ Nissan Almera กับ Toyota Altis หลังจากนี้จะทำชุดคิทขึ้นมา 4 ชุด แล้วจะหาผู้ประกอบการเข้ามาแล้วถ่ายทอดองค์ความรู้ แล้วให้เขาทดลองเปลี่ยนรถยนต์เก่าให้กลายเป็นรถไฟฟ้า แล้วดูว่ามีข้อจำกัดอะไร จะพัฒนาอะไรเพิ่มเติมอีกหรือไม่ คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2563 โดยค่าตัวชุดคิทมอเตอร์ไฟฟ้าและระบบอื่นๆราคา 200,000 บาท คู่กับแบตเตอร์รี่ราคา 300,000 บาท


รัฐบาลส่งเสริมรถดัดแปลงเป็นไฟฟ้า ในราคา 500,000 บาทรวมแบตเตอร์รี่

รัฐบาลส่งเสริมรถดัดแปลงเป็นไฟฟ้า ในราคา 500,000 บาทรวมแบตเตอร์รี่

2.ไทยจะผลิตรถยนต์ไฟฟ้าได้มากกว่า 5 หมื่นคัน ในปี 2563

สถาบันยานยนต์คาดว่าประเทศไทยจะผลิตรถยนต์ไฟฟ้าได้มากกว่า 50,000 คันในปี 2563 โดยดูจากสถิติเดิมของปี 2561 ที่มียอดผลิต 25,200 คัน และเมื่อย้อนกลับไปอีกนับจากปี 2560 ที่เริ่มต้นผลิตที่ 8,900 คัน จะพบว่าในแต่ละปี มียอดการผลิตก้าวกระโดดมาก โดยนับรวมทั้งรถยนต์ไฟฟ้าล้วน และรถยนต์ไฮบริด แสดงว่าเป้าหมายปีหน้าก็จะโตขึ้นเป็นเท่าตัวได้ไม่ยาก

BOI อนุมัติการส่งเสริมให้บริษัทมาผลิตรถยนต์ไฟฟ้ามากขึ้น

BOI อนุมัติการส่งเสริมให้บริษัทมาผลิตรถยนต์ไฟฟ้ามากขึ้น

3.ค่ายรถหันมาผลิตพลังไฟฟ้าในไทยเพิ่มขึ้น

ในปัจจุบันนี้มีบริษัทรถยนต์ ที่ได้รับอนุมัติการส่งเสริมจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ให้ทำการผลิตรถไฮบริด (Hybrid) จำนวน 4 ราย ตามด้วยการอนุมัติบริษัทผลิตรถปลั๊กอินไฮบริด (Plug-in Hybrid, PHEV) จำนวน 4 ราย และอนุมัติรถไฟฟ้าพลังงานแบตเตอรี่ ( Battery Electric Vehicle, BEV ) จำนวน 1 ราย รวมทั้งสิ้น 9 ราย ในอนาคตยังจะมีค่ายรถยนต์ที่รอการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุน เพื่อผลิตรถยนต์ไฟฟ้าพลังงานแบตเตอรี่ (Battery Electric Vehicle, BEV) อีกจำนวน 7 ราย นอกจากนี้ยังมีบริษัทผู้ผลิตแบตเตอรี่สำหรับรถยนต์ไฟฟ้า ที่ได้รับการส่งเสริมในไทยแล้ว 5 ราย เพื่อรองรับการเติบโตในวงการ

จุดชาร์จหลายร้อยแห่ง พร้อมแอปบอกพิกัด หาง่ายขึ้นเยอะ

จุดชาร์จหลายร้อยแห่ง พร้อมแอปบอกพิกัด หาง่ายขึ้นเยอะ

4.จุดชาร์จไฟแพร่หลาย และสะดวกขึ้น

ในปี 2561 ได้มีการติดตั้งสถานีอัดประจุไฟฟ้าสำหรับยานยนต์ไฟฟ้าเป็นที่เรียบร้อยแล้วกว่า 400 แห่ง โดยทาง กฟน. ได้จัดทำแอป MEA EV เพื่อใช้ค้นหาสถานีชาร์จไฟ และบอกสถานะการจับจองได้อย่างเรียลไทม์ หรือใครสนใจจะติดตั้งสถานีชาร์จไฟที่บ้านตัวเอง ก็มีบริการออกแบบและติดตั้งให้ด้วยงบ 11,000 บาทเท่านั้น เรียกว่าเพิ่มสะดวกขึ้นกว่าเดิมทันตาเห็นทีเดียว

ใครๆก็หันมาสนใจเทคโนโลยีรถไฟฟ้ากัน

5.มีศูนย์ทดสอบแบตเตอรี่ยานยนต์ไฟฟ้าแห่งแรกในอาเซียน

ประเทศไทยเตรียมจะตั้งศูนย์ทดสอบแบตเตอรี่ยานยนต์ไฟฟ้าเป็นแห่งแรกของอาเซียน โดยตั้งอยู่ภายในบริเวณพื้นที่เดียวกับ ศูนย์ทดสอบยานยนต์และยางล้อแห่งชาติ (ATTRIC) ที่อำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่งทำการทดสอบสมรรถนะของแบตเตอรี่ ทดสอบความปลอดภัยของแบตเตอรี่ และมีห้องทดสอบนิรภัยที่สามารถรองรับการลุกไหม้ หรือการระเบิดของแบตเตอรี่จากการทดสอบได้อีกด้วย ซึ่งคาดว่าศูนย์ทดสอบฯ นี้ จะเปิดให้บริการในปี พ.ศ. 2563

รถยนต์ Fomm ขายไทยแล้วในราคาพิเศษ 599,000 บาท

6.รถยนต์ไฟฟ้าป้ายแดงเข้ามาขายเพิ่มขึ้น

ในปัจจุบันนี้ มีรถยนต์ไฟฟ้าล้วนเข้ามาขายเพิ่มความคึกคักให้ตลาดรถยนต์ไทยมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น Tesla Model X ที่ถูกผู้นำเข้าอิสระมาขายในราคา 6 ล้านกว่าบาท ตามด้วยรถยนต์ร่วมทุนระหว่างไทย-ญี่ปุ่นอย่าง Fomm ที่มีราคาโปรโมชั่นพิเศษเพียง 599,000 บาทเท่านั้น หรือจะเป็นรถยนต์คนไทยยี่ห้อ Mine SPA 1 ที่พัฒนาจนพร้อมส่งมอบเร็วๆนี้ในราคา 1 ล้านต้นๆ ส่วนรถนำเข้าจากต่างประเทศก็มี Nissan Leaf, Hyundai Ioniq,  MG eZS, Hyundai Kona, Kia Soul EV นอกจากนี้อีกสารพัดรถยนต์หรูพลังปลั๊กอินไฮบริดมาให้เลือกมากมาย

 

อนาคตรถยนต์ไฟฟ้า จะแพร่หลายไปทุกกลุ่มแน่นอน​

7.สรุปแล้ว ปีหน้าแพร่หลายกว่านี้แน่นอน

รถยนต์ไฟฟ้า เป็นอนาคตของยานยนต์ในโลกนี้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่ด้วยความที่เป็นเทคโนโลยีใหม่ จึงยังไม่สามารถเข้าถึงบุคคลทั่วไปได้มากนัก รถยนต์ไฟฟ้าล้วนก็ยังจะเป็นรถคันที่สองของบ้านคนรวยต่อไป ส่วนบุคคลชนชั้นกลางระดับเราๆ ก็ทำได้แค่ซื้อรถไฮบริดใช้เท่านั้น ส่วนการแปลงรถทั่วไปเป็นรถยนต์ไฟฟ้า ยังติดปัญหาที่ต้องใช้เงินสดหลายแสน เพราะยังไม่มีสินเชื่อใดปล่อยกู้ให้นำเงินไปแปลงเป็นรถยนต์พลังสะอาดนี้ ส่วนในปีหน้า 2562 จะยิ่งคึกคักมากไปอีก ด้วยการมีรถปลั๊กอินไฮบริดมาแทนที่รุ่นเครื่องยนต์ปกติมากขึ้นเรื่อยๆ ถ้าการเติบโตเพิ่มแบบนี้เรื่อยไปภายในไม่กี่ปี เราคงได้ใช้รถพลังงานสะอาดในราคาเอื้อมถึงง่ายในอนาคต แล้วอย่าลืมมาอัพเดทข่าวสารวงการรถยนต์กันได้ที่เว็บไซต์ chobrod กันอีกในตอนต่อไปนะครับ

Mr.Argus