พิษโควิด-19 มันแรง ยอดขายรถยนต์ในไทยเดือน มี.ค. 63 ร่วงกว่า 40%

ตลาดรถยนต์ในประเทศ | 5 พ.ค 2563
แชร์ 0

โตโยต้านำทีมแถลงยอดขายรถยนต์ประจำเดือนมีนาคม ยอดร่วงกว่าปีก่อนน่าใจหาย ผลพวงมากจากเศรษฐกิจ และโควิด-19 พร้อมเร่งปรับแนวทางส่งเสริมโปรโมชันกู้ศรัทธากระตุ้นยอดขาย

>> มือสองลดราคา ช่วง COVID-19
>> พบกับ 5 อันดับ SUV มือสองน่าซื้อ 2020

ยอดขายรถยนต์ในไทยเดือน มี.ค. 63

ยอดขายรถยนต์ในไทยเดือน มี.ค. 63

นายสุรศักดิ์ สุทองวัน รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด นำทีมเผยยอดขายรถยนต์ประจำเดือนมีนาคม 2563 ทุกค่าย ทุกรุ่น จากยอดขายทั้งหมด 60,105 คัน ลดลง 41.7% โดยประกอบไปด้วย รถยนต์นั่ง 20,698 คัน ยอดลดลง 48.3% รถเพื่อการพาณิชย์ 39,407 คัน ยอดลดลง 37.6%  รถกระบะขนาด 1 ตัน 30,296 คัน ลดลง 41.8% ซึ่งถือว่ารถยนต์ทุกประเภทนั้นมียอดที่ดิ่งลงอย่างเห็นได้ชัด

นายสุรศักดิ์ สุทองวัน รองกรรมการผู้จัดการใหญ่โตโยต้า

นายสุรศักดิ์ สุทองวัน รองกรรมการผู้จัดการใหญ่โตโยต้า

 

ยอดการจัดจำหน่ายในเดือนมีนาคมนั้น มีปริมาณการขายลดลงเหลือ  60,105 คัน หรือคิดเป็น 41.7% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยตลาดรถยนต์นั่งมีอัตราการเติบโตลดลง 48.3% และรถเพื่อการพาณิชย์มีอัตราการเติบโตลดลง 37.6% ในส่วนของตลาดรถยนต์ยอดสะสม 3 เดือน มีปริมาณการขาย 200,064 คัน  ลดลง 24.1% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา

ผลกระทบโควิด-19 และเศรษฐกิจที่ไม่ดีทำให้ยอดขายร่วง

ผลกระทบโควิด-19 และเศรษฐกิจที่ไม่ดีทำให้ยอดขายร่วง

 

โดยตลาดรถยนต์นั่งมีอัตราการเติบโตลดลง 23.6% ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์มีอัตราการเติบโตลดลง 24.4% เป็นผลกระทบมาจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้การผลิตต้องหยุดชะงัก ผนวกกับสภาวะเศรษฐกิจที่ไม่ดี ผู้บริโภคสูญเสียความเชื่อมั่น ทำให้เกิดอุปสงค์ต่ำ ทั้งที่อุปทานสูง ความไม่สมดุลทำให้ ยอดขายต้องตกอยู่ในขั้นวิกฤต ทำให้หลากหลายค่ายรถชั้นนำ ต้องหากิจกรรมส่งเสริมการขายให้กับลูกค้าผ่านช่องทางออนไลน์กันมากขึ้น เพื่อแก้วิกฤติในครั้งนี้

ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ ประจำเดือนมีนาคม 2563

1. ตลาดรถยนต์โดยรวม

จากปริมาณการขาย 60,105 คัน ลดลง 41.7%

อันดับที่ ค่ายรถ ยอดขาย เปอร์เซ็นต์ลดลง เปอร์เซ็นต์ส่วนแบ่งตลาด
1 โตโยต้า 17,332 คัน  48.9% 28.8%
2 อีซูซุ 13,629 คัน 21.8% 22.7%
3 ฮอนด้า 7,506 คัน 31.9% 12.5%

2. ตลาดรถยนต์นั่ง

จากปริมาณการขาย 20,698 คัน ลดลง 48.3% 

อันดับที่ ค่ายรถ ยอดขาย เปอร์เซ็นต์ลดลง เปอร์เซ็นต์ส่วนแบ่งตลาด
1 ฮอนด้า 6,070 คัน  25.5% 29.3%
2 โตโยต้า 5,406 คัน 55.6% 26.1%
3 มาสด้า 2,161 คัน 56.5% 10.4%

3. ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์

จากปริมาณการขาย 39,407 คัน ลดลง 37.6%

อันดับที่ ค่ายรถ ยอดขาย เปอร์เซ็นต์ลดลง เปอร์เซ็นต์ส่วนแบ่งตลาด
1 อีซูซุ 13,629 คัน 21.8% 34.6%
2 โตโยต้า 11,926 คัน 45.2% 30.3%
3 มิตซูบิชิ 2,930 คัน 47.5% 7.4%

4. ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV)

จากปริมาณการขาย 30,296 คัน ลดลง 41.8% แยกเป็น (ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง 3,081 คัน)

  • โตโยต้า 962 คัน
  • มิตซูบิชิ 773  คัน
  • อีซูซุ 640  คัน
  • ฟอร์ด 419  คัน
  • เชฟโรเลต 228 คัน
  • นิสสัน 59 คัน
อันดับที่ ค่ายรถ ยอดขาย เปอร์เซ็นต์ลดลง เปอร์เซ็นต์ส่วนแบ่งตลาด
1 อีซูซุ 12,634 คัน 21.9% 41.7%
2 โตโยต้า 10,349 คัน 46.3% 34.2%
3 มิตซูบิชิ 2,930 คัน 47.5% 9.7%

5. ตลาดรถกระบะ Pure Pick up

จากปริมาณการขาย 27,215 คัน ลดลง 39.5%

อันดับที่ ค่ายรถ ยอดขาย เปอร์เซ็นต์ลดลง เปอร์เซ็นต์ส่วนแบ่งตลาด
1 อีซูซุ 11,994 คัน 19.7% 44.1%
2 โตโยต้า 9,387 คัน 41.6% 34.5%
3 มิตซูบิชิ 2,157 คันน 46.8% 7.9%

สถิติการจำหน่ายรถยนต์ ตั้งแต่เดือนมกราคม-มีนาคม 2563

1. ตลาดรถยนต์รวม

จากปริมาณการขาย 200,064 คัน ลดลง 24.1%

อันดับที่ ค่ายรถ ยอดขาย เปอร์เซ็นต์ลดลง เปอร์เซ็นต์ส่วนแบ่งตลาด
1 โตโยต้า 56,161 คัน 34.9% 28.1%
2 อีซูซุ 42,398 คัน 5.6% 21.2%
3 ฮอนด้า 28,678 คัน 4.4% 14.3%

2. ตลาดรถยนต์นั่ง

จากปริมาณการขาย 78,385 คัน ลดลง 23.6%

อันดับที่ ค่ายรถ ยอดขาย เปอร์เซ็นต์ลดลง เปอร์เซ็นต์ส่วนแบ่งตลาด
1 ฮอนด้า 23,959 คัน 6.4% 30.6%
2 โตโยต้า 18,661 คัน 39.6% 23.8%
3 นิสสัน 8,691คัน 20.5% 11.1%

3. ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์

จากปริมาณการขาย 121,679 คัน ลดลง 24.4%

อันดับที่ ค่ายรถ ยอดขาย เปอร์เซ็นต์ลดลง เปอร์เซ็นต์ส่วนแบ่งตลาด
1 อีซูซุ 42,398 คัน 5.6% 34.8%
2 โตโยต้า 37,500 คัน 32.2% 30.8%
3 มิตซูบิชิ 9,835 คัน 29.4% 8.1%

4. ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV)

จากปริมาณการขาย 96,963 คัน ลดลง 26.9% (แบ่งเป็นปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง 9,840 คัน)

  • โตโยต้า 3,320 คัน
  • มิตซูบิชิ 2,626 คัน
  • อีซูซุ 1,763 คัน
  • ฟอร์ด 1,298 คัน
  • เชฟโรเลต 544 คัน
  • นิสสัน 289 คัน
อันดับที่ ค่ายรถ ยอดขาย เปอร์เซ็นต์ลดลง เปอร์เซ็นต์ส่วนแบ่งตลาด
1 อีซูซุ 39,620 คัน 4.8% 40.9%
2 โตโยต้า 32,733 คัน 33.7% 33.8%
3 มิตซูบิชิ 9,835 คัน 29.4% 10.1%

5. ตลาดรถกระบะ Pure Pick up

จากปริมาณการขาย 87,123 คัน ลดลง 24.3%

อันดับที่ ค่ายรถ ยอดขาย เปอร์เซ็นต์ลดลง เปอร์เซ็นต์ส่วนแบ่งตลาด
1 อีซูซุ 37,857 คัน 2.5% 43.5%
2 โตโยต้า 29,413 คัน 29.4% 33.8%
3 มิตซูบิชิ 7,209 คัน 29.1% 8.3%

อีซูซุปิดโรงงานหนีโควิด-19
อีซูซุปิดโรงงานหนีโควิด-19

วิกฤตตลาดรถยนต์ในครั้งนี้ดูเหมือนจะแสนสาหัสเสียดายไหนจะสภาวะเศรษฐกิจที่ไม่ดี ไหนจะมาเจอกับไวรัสโควิด-19 อีก ถือว่าปี 2563 นี้คงจะเป็นปีที่หนักสำหรับตลาดรถยนต์เมืองไทยเสียแล้ว มาดูกันว่ากลยุทธ์ส่งเสริมการขายออนไลน์ในครั้งจะเรียกความเชื่อมั่นของลูกค้ากลับมาได้หรือไม่ และยอดขายจะตกลงอย่างนี้ หรือจะดีขึ้นต้องติดตามต่อในเดือนเมษายน 2563 นี้ว่าผลการประกอบการจะออกมาเช่นไร หากอยากติดตามข่าวสารวงการรถยนต์ดี ๆ มาที่นี่ ตลาดรถยนต์ออนไลน์ CHOBROD.COM

ติดตาม ข่าวรถยนต์ใหม่ ได้ที่นี่
ติดตามเรื่อง รีวิวรถยนต์ใหม่ ได้ที่นี่
ติดตามเรื่อง ราคารถยนต์ใหม่ๆได้ที่นี่

ANNOiNA
Avatar

ANNOiNA

บรรณาธิการ
ทุกอย่างมีเหตุและผลของมันเสมอ