ยอดขายรถกรกฎาคม 2563 เริ่มดีขึ้น รวม 59,335 คัน รถเก๋งฮอนด้าครองตลาด

ตลาดรถยนต์ในประเทศ | 24 ส.ค 2563
แชร์ 0

โตโยต้า รายงานยอดขายรถยนต์เดือนกรกฎาคม 2563 มียอดการขายรวมทั้งสิ้น 59,335 คัน ลดลง 26.8% ประกอบด้วย รถยนต์นั่ง 18,500 คัน ลดลง 43.6% รถเพื่อการพาณิชย์ 40,835 คัน ลดลง 15.4%

ตลาดรถยนต์เดือนกรกฎาคมมีปริมาณการขาย 59,335 คัน ลดลง 26.8% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยตลาดรถยนต์นั่งมีอัตราการเติบโตลดลง 43.6% และตลาดรถเพื่อการพาณิชย์มีอัตราการเติบโตลดลง 15.4% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมา จะเห็นได้ว่าสถานการณ์การขายของเดือนกรกฎาคม มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นจากเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา สืบเนื่องจากการที่รัฐบาลมีการผ่อนปรนมาตรการระยะที่ 5 ซึ่งทำให้ธุรกิจสามารถกลับมาดำเนินการได้ ประกอบกับการที่รัฐบาลออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจากสถานการณ์ COVID-19 รวมถึงมาตรการช่วยเหลือการท่องเที่ยวในประเทศ "เราเที่ยวด้วยกัน" เพื่อช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจก่อให้เกิดการใช้จ่าย ซึ่งส่งผลในเชิงบวกให้กับตลาดรถยนต์ 

ส่วนตลาดรถยนต์สะสม 7 เดือน มีปริมาณการขาย 387,939 คัน  ลดลง 35.9% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยตลาดรถยนต์นั่งมีอัตราการเติบโตลดลง 42.2% ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์มีอัตราการเติบโตลดลง 31.7% เป็นผลกระทบมาจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ไม่เพียงแต่ตลาดรถยนต์ไทย แต่ส่งผลต่อเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศและทั่วโลกติดต่อกันอย่างต่อเนื่อง 

สำหรับเดือนกรกฎาคมนี้ จากการที่ภาครัฐฯ ได้ดำเนินการผ่อนคลายให้ธุรกิจสามารถกลับมาดำเนินการได้ ภายใต้มาตรการที่กำหนด และการควบคุมสถานการณ์เป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น รวมถึงการเริ่มมีการจัดงานส่งเสริมการขายรถยนต์ ได้แก่ งาน Bangkok International Motor Show 2020 และงาน Bangkok International Grand Motor Sale 2020 ตั้งแต่ช่วงปลายเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาจนถึงเดือนสิงหาคม สร้างความเชื่อมั่นให้ประชาชนและผู้บริโภค ส่งผลให้ตลาดรถยนต์ในเดือนสิงหาคมมีทิศทางที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง  

ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ เดือนกรกฎาคม 2563

1.  ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 59,335 คัน ลดลง 26.8% 

อันดับที่ 1 โตโยต้า 17,553 คัน ลดลง 31.9% ส่วนแบ่งตลาด 29.6%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 15,477 คัน เพิ่มขึ้น 11.9% ส่วนแบ่งตลาด 26.1%
อันดับที่ 3 ฮอนด้า 6,034 คัน ลดลง 45.3% ส่วนแบ่งตลาด  10.2%

2. ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 18,500 คัน ลดลง 43.6%                  

อันดับที่ 1 ฮอนด้า 5,217 คัน ลดลง 39.6% ส่วนแบ่งตลาด 28.2%
อันดับที่ 2 โตโยต้า 5,042 คัน ลดลง 43.5% ส่วนแบ่งตลาด 27.3%
อันดับที่ 3 นิสสัน 2,136 คัน ลดลง 19.4% ส่วนแบ่งตลาด 11.5%

3. ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 40,835 คัน ลดลง 15.4%

อันดับที่ 1 อีซูซุ 15,477 คัน เพิ่มขึ้น 11.9% ส่วนแบ่งตลาด 37.9%
อันดับที่ 2 โตโยต้า 12,511 คัน ลดลง 25.7% ส่วนแบ่งตลาด 30.6%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 3,100 คัน ลดลง 21.7% ส่วนแบ่งตลาด  7.6%

4. ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน*  (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV)  ปริมาณการขาย 32,707 คัน ลดลง 15.9%

อันดับที่ 1 อีซูซุ 14,317 คัน เพิ่มขึ้น 15.1% ส่วนแบ่งตลาด 43.8%
อันดับที่ 2 โตโยต้า 10,423 คัน ลดลง 30.3% ส่วนแบ่งตลาด 31.9%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 3,100 คัน ลดลง 21.7% ส่วนแบ่งตลาด 9.5%

ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง (ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน) 2,987 คัน

โตโยต้า 944 คัน
มิตซูบิชิ 859 คัน
อีซูซุ 517 คัน
ฟอร์ด 425 คัน
นิสสัน 235 คัน
เชฟโรเลต 7 คัน

5. ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 29,720 คัน ลดลง 13.5%

อันดับที่ 1 อีซูซุ 13,800 คัน เพิ่มขึ้น 17.7% ส่วนแบ่งตลาด 46.4%
อันดับที่ 2 โตโยต้า 9,479 คัน ลดลง 25.7% ส่วนแบ่งตลาด 31.9%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 2,241 คัน ลดลง 28.1% ส่วนแบ่งตลาด 7.5%

อ่าน ยอดขายถยนต์ครึ่งปีแรก 2563 ได้ 3.2 แสนคัน ปรับเป้าใหม่จบปีตลาดรวมอยู่ที่ 660,000 คัน
ติดตาม ข่าวรถยนต์ใหม่ ได้ที่นี่
ติดตาม รีวิวรถยนต์ใหม่ ได้ที่นี่
ติดตาม ราคารถยนต์ใหม่ ได้ที่นี่

ningkung